การดูดไขมัน คือ
การดูดไขมันเป็นการดูแลด้านความงามที่ช่วยขจัดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
ศัลยแพทย์พลาสติกหรือแพทย์ผิวหนังมักจะทำการดูดไขมันหน้าท้อง สะโพก ต้นขา ก้น หลัง แขน และใต้คางหรือใบหน้าเพื่อปรับปรุงรูปร่าง การดูดไขมันสามารถทำร่วมกับการทำศัลยกรรมพลาสติกอื่น ๆ เช่นการดึงหน้า การลดขนาดหน้าอก และการดึงหน้าท้อง
ใครสามารถดูดไขมันได้บ้าง
ความเป็นจริงคือการดูดไขมันไม่สามารถกำจัดเซลลูไลท์ได้ และการดูดไขมันเป็นขั้นตอนการผ่าตัดและมีความเสี่ยงในการดำเนินการ ผู้ที่จะทำการดูดไขมันต้องมีสุขภาพที่ดีก่อน หรืออย่างน้อยควรจะ:
- น้ำหนักเกินไปประมาณ 30% ของน้ำหนักตัวที่ต้องการ
- ผิวยังเต่งตึง ยืดหยุ่น
- ไม่สูบบุหรี่
แพทย์ไม่แนะนำขั้นตอนนี้ กรณีที่มีปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด หรือมีโรคหัวใจ เบาหวาน หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
การเตรียมการก่อนดูดไขมัน
เริ่มจากการปรึกษากับศัลยแพทย์ เกี่ยวกับเป้าหมาย ทางเลือก ความเสี่ยง สิ่งที่จะได้รับ และค่าใช้จ่าย ถามข้อสงสัยทั้งหมดที่มี เพื่อพิจารณาว่าดูดไขมันดีไหม
เมื่อตัดสินใจดูดไขมัน ศัลยแพทย์จะแนะนำวิธีเตรียมตัวสำหรับการดูดไขมัน ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดด้านอาหาร และแอลกอฮอล์
บอกศัลยแพทย์เกี่ยวกับอาการแพ้ และยาที่มี รวมทั้งอาหารเสริม และสมุนไพร แพทย์จะแนะนำให้หยุดทานยาบางชนิด เช่น ยาสลายลิ่มเลือด และยาแก้ปวดบางชนิดก่อนการผ่าตัดหลายสัปดาห์
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับหลังดูดไขมัน
การดูดไขมันทั้งตัวสามารถทำได้ที่คลีนิคหรือสถานพยาบาล ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถานที่นั้นมีใบรับรองถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีการรับรองด้านมาตรฐานระดับมืออาชีพ ความปลอดภัย และผลลัพธ์ของการทำศัลยกรรมที่ดีหรือไม่
เมื่อกลับบ้านตามวันที่แพทย์กำหนด ไม่ควรขับรถด้วยตนเอง ก่อนการดูดไขมัน แพทย์อาจทำเครื่องหมายบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่จะดำเนินการ แพทย์อาจถ่ายรูปเพื่อใช้เปรียบเทียบภาพก่อนและหลังการดำเนินการด้วย
จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการให้ยาสลบ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะไม่ตื่นในระหว่างดำเนินการ หรืออาจใช้ยาชา “เฉพาะที่” เพื่อให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆ
ประเภทของการดูดไขมัน
วิธีดูดไขมันมีหลากหลายวิธี แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการใช้ท่อบาง ๆ ที่เรียกว่า Cannula เพื่อเชื่อมกับระบบสุญญากาศที่ใช้ดูดไขมันออกจากร่างกาย
การดูดไขมัน Tumescent เป็นเทคนิคที่พบบ่อยที่สุด ศัลยแพทย์จะฉีดสารละลายที่ปราศจากเชื้อเข้าไปในบริเวณที่ต้องการกำจัดไขมัน มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำเกลือ พร้อมด้วยลิโดเคน และอะดรีนาลีน สารละลายนี้ทำให้ดูดไขมันได้ง่ายขึ้น โดยสูญเสียเลือดและเจ็บปวดน้อยลง
การดูดไขมันด้วยอัลตราซาวนด์หรือ UAL ใช้พลังงานคลื่นเสียงเข้าไปใต้ผิวหนัง เพื่อทำลายผนังเซลล์ของไขมัน ทำให้ไขมันถูกกำจัดออกมาในรูปของของเหลว
การดูดไขมันด้วยเลเซอร์หรือ SmartLipo ใช้เลเซอร์เป็นพลังงานระเบิดไขมันให้กลายเป็นของเหลว
เวลาในการฟื้นฟูร่างกาย
ผู้รับบริการอาจไม่ต้องพักที่โรงพยาบาล แต่ก็ขึ้นกับประเภทของการผ่าตัดด้วย แต่ก็อาจมีรอยช้ำ บวม และเจ็บไม่กี่สัปดาห์
ศัลยแพทย์อาจแนะนำให้สวมชุดรัดและกระชับเป็นเวลา 1 ถึง 2 เดือนหลังการผ่าตัดเพื่อควบคุมอาการบวม
อาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ คนส่วนมากจะสามารถกลับไปทำงานได้ภายในไม่กี่วัน และกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ร่างกายของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
คำถามที่ควรปรึกษาศัลยแพทย์เกี่ยวกับการฟื้นตัวของร่างกาย ได้แก่:
- ยาที่ต้องใช้
- สวมผ้าพันแผลหรือไม่?
- การเย็บไหม และเวลาที่ต้องตัดไหม?
- เมื่อใดจะออกกำลังกายได้อีก?
- จำเป็นต้องมาพบแพทย์อีกครั้งเมื่อใด?
ดูดไขมันอันตรายไหม
การทำศัลยกรรมเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงอยู่บ้าง จึงควรพิจารณาใช้บริการกับศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญและผ่านเกณฑ์การรับรองอย่างถูกต้อง
ความเสี่ยงจากการดูดไขมันที่ควรพิจารณา ได้แก่:
- ภาวะเลือดออก
- ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ
- ช็อก (เกิดจากการเสียของเหลวมากเกินไปในระหว่างที่ผ่าตัด)
- การสะสมของของเหลว (ช่องว่างของของเหลวที่ก่อตัวขึ้นใต้ผิวหนัง)
- การติดเชื้อ (strep, staph)
- ภาวะไขมันอุดตัน (เมื่อไขมันชิ้นเล็ก ๆ แตกตัวและขัดขวางการไหลเวียนของเลือด)
- แผลไหม้ที่เกิดจากเครื่องมือ
- สลายไขมันไม่เท่ากัน
- ปฏิกิริยาต่อลิโดเคน
- ความรู้สึกทางผิวหนังผิดปกติ รู้สึกชา
- เกิดอันตรายต่อเส้นประสาท หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ปอด และอวัยวะในช่องท้อง
ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก ลิ่มเลือดอุดตันอาจเป็นอันตรายได้ หากเคลื่อนไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก