โรคชันนะตุหรือโรคเชื้อราบนหนังศรีษะคือการติดเชื้อของเกลื้อนที่ผิวหนังและหนังศรีษะ
โรคชันนะตุ (Tinea Capitis) คือเชื้อราที่ทำให้เกิดผื่นเป็นรูปวงแหวนสีแดงสดเมื่อปรากฏบนลำตัว แขนขา หรือใบหน้า
บริเวณที่มักเป็นชันนะตุได้แก่ :
- มือ
- ขาหนีบ
- เท้า
- หัวแม่เท้า
- ลำตัว
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงสาเหตุของการเกิดโรคชันะตุ อาการ การรักษาและความแตกต่างของโรคชันนะตุแต่ละชนิด
สาเหตุของการเป็นชันนะตุ
ข้อมูลจากสถาบันควบคุมและป้องกันโรค (CDC) พบว่ามีเชื้อราถึง 40 ชนิด ที่ทำให้สามารถเกิดกลากเกลื้อนบนผิวหนังได้
ซึ่งเราสามารถติดเชื้อราที่หัวได้ด้วยการสัมผัสกับคนหรือสัตว์ที่มีการติดเชื้อ หรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกที่มีเชื้อรา
เชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสิ่งแวดล้อมที่อุ่นและชื้น เราจึงสามารถพบกลากได้บ่อยในบริเวณง่ามนิ้วเท้า ขาหนีบและข้อพับ
การอาศัยอยู่ในอาการอุ่นและชื้นเป็นการเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับเชื้อราผิวหนังได้ง่ายมากขึ้น
อาการของโรคชันนะตุ
เชื้อราบนหนังศรีษะ หรือชันนะตุ เริ่มต้นจะเป็นตุ่มสีแดงเล็กๆและมีตุ่มหนองบนหนังศรีษะ รวมไปถึงรังแคด้วย ตุ่มเหล่านี้จะมีจำนวนมากขึ้น และแพร่กระจายไปยังพื้นที่ที่กว้างขึ้น
ผู้ที่เป็นเชื้อราบนหนังศรีษะ อาจะพบอาการมีรังแค คัน เป็นหนองและอาจมีอาการผมร่วงร่วมด้วย
วิธีการรักษากลากเกลื้อนบนหัว
โดยส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาด้วยการจ่ายยาฆ่าเชื้อ อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นเชื้อราบนหนังศรีษะจะต้องทานยาฆ่าเชื้อตามที่แพทย์สั่งเป็นระยะเวลา 1-3 เดือน
ถ้าเป็นเกลื้อนบริเวณที่ไม่ได้สัมผัลกับผิวหนัง เช่น ใต้เล็บหรือเล็บเท้า อาจจะต้องใช้ยาต้านเชื้อราแบบรับประทานในการรักษา
วิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดโรคชันนะตุขึ้นซ้ำ สามารถปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้ :
- รักษาผิวแห้งอยู่เสมอเนื่องกลากเกลื้อนหรือเชื้อราที่หนังศีรษะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่ควรรักษาผิวหนังแห้งอยู่เสมอในระหว่างที่ทำการรักษา ควรเช็ดตัวให้แห้งทันทีหลังจากอาบน้ำและสวมเสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่นจนเกินไป
- ควรซักเครื่องนอนอยู่เป็นประจำเนื่องจากกลากเกลื้อนสามารถติดไปกับบริเวณที่ผ้าได้ หากสัมผัสโดนบริเวณที่เกิดเชื้อราขึ้น โดยการซักผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนบ่อยๆ สามารถช่วยลดระยะเวลาในการรักษาได้
- เปลี่ยนหรือฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทำผม เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่บนอุปกรณ์ทำผมได้นาน ดังนั้นเราควรฆ่าเชื้อและเปลี่ยนหวีหรืออุปกรณ์ที่ใช้ทำผมอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำ
เชื้อราบนหนังศรีษะในผู้ใหญ่และเด็ก
ทุกๆคนสามารถเป็นโรคชันนะตุได้ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
สำหรับผู้ใหญ่ที่มีภาวะระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้สูง
เชื้อราบนหนังศรีษะและอาการอื่นๆที่คล้ายกัน
อาการของโรคอื่นๆที่คล้ายกับโรคชันนะตุกลากมีดังนี้ต่อไปนี้
โรคเซ็บเดิร์ม
สำหรับโรคเซ็บเดิร์มหมายถึงอาการที่ผิวหนังเป็นผื่นแดงและผิวหนังเป็นขุยที่ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเช่นผิวหนังบริเวณหนังศรีษะและใบหน้ารวมถึงแผ่นหลังส่วนบน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเรียกว่าอาการที่เกิดขึ้นนี้ว่าขี้รังแค
เนื่องจากต่อมไขมันที่อยู่ภายใต้ผิวหนังมีการหลังสารที่เรียกว่า ซีบัม ออกมา เพื่อช่วยทำให้เกิดความชุ่มชื้นบนผิวหนังและเส้นผม
ดังนั้นโรคเซ็บเดิร์มจึงทำให้ผิวหนังมีคราบสีขาวหรือสีเหลืองเกิดขึ้น ในบางครั้งอาจจะมีอาการอักเสบที่ทำให้มีตุ่มที่หัวเป็นสีแดงและสีชมพู
โรคเซ็บเดิร์มสามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย แม้แต่ทารกสามารถก็สามารถเป็นโรคหนังศีรษะอักเสบที่เรียกว่า ภาวะต่อไขมันอักเสบ (cradle cap) ได้เช่นกัน
จากข้อมูลของ National Eczema Association โรคผิวหนังเซ็บเดิร์มนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
โรคสะเก็ดเงิน
เป็นโรคที่แตกต่างจากโรคเชื้อราบนหนังศรีษะทั่วไป โดย โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดเซลล์ผิวหนังเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน เซลล์ผิวหนังจะเติบโตเร็วกว่าการผลัดเซลล์ผิว ดังนั้นผิวหนังส่วนเกินจึงสะสมอยู่บนผิวหนังจนเกิดเป็นผื่นและเป็นขุย
โรคสะเก็ดเงินอาจส่งผลกระทบต่อบริเวณอื่นๆของผิวหนัง โดยส่วนมากมักเกิดขึ้นที่บริเวณดังต่อไปนี้ได้แก่
- หนังศรีษะ
- ข้อศอก
- หัวเข่า
- หลังส่วนล่าง
โรคสะเก็ดเงินบนหนังศรีษะมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคเชื้อราบนหนังศรีษะ โดยโรคนี้ทำให้เกิดรอยแดงและเป็นขุยบนหนังศรีษะรวมถึงทำให้เกิดอาการผมร่วงได้
ผื่นสะเก็ดเงินบนหนังศรีษะทำให้มีอาการคัน ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการเกาในบริเวณที่เกิดผื่นสะเก็ดเงิน
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK536909/
- https://www.msdmanuals.com/professional/dermatologic-disorders/fungal-skin-infections/tinea-capitis-scalp-ringworm
- https://www.medicinenet.com/image-collection/tinea_capitis_picture/picture.htm
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก