เมื่อทารกอายุได้ 5 เดือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของทั้งคุณและทารกของคุณ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญคาดว่าในช่วงเดือนที่ 4-6 เป็นช่วงที่สำคัญมากของทารก ทั้งทางด้านร่างกาย พัฒนาการ และสติปัญญา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากเดือนที่ 5 เป็นต้นไป
สิ่งที่ต้องรู้
ตอนเช้าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะใช้เวลากับทารก
- ลงไปเล่นที่พื้นบ้าง
- เปิดเพลง
- ให้ทารกได้พักผ่อน
การใช้เวลากับทารกในช่วงเช้านั้นเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เพราะจะเป็นช่วงที่พวกเขาตื่นตัว และมีความสุข การเล่นของเล่น หรือการพูดคุยกับทารกในตอนเช้าก่อนที่จะไปทำกิจวัติประจำวันจึงเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเริ่มต้นวันใหม่
ทารกของคุณจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว ซึ่งคุณก็ควรที่จะเรียนรู้ไปกับพวกเขาด้วย การเล่นสนุกไปกับพวกเขาด้วย
เด็ก 5 เดือนเปรียบเสมือนฟองน้ำ ที่ดูดซับข้อมูลทุกอย่างจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวพวกเขา การเรียนรู้ภาษาจะเริ่มขึ้นในเดือนนี้ เพราะฉะนั้น นอกจากจะพูดคุย และอ่านหนังสือให้ลูกฟังเเล้วก็ควรจะเปิดเพลงด้วย แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเพียงแค่เพลงของทารกเท่านั้น
เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ทารกต้องการเวลาพักผ่อน หลังจากผ่านการเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ มาทั้งวัน จึงควรปล่อยให้พวกเขาได้พักผ่อนในที่ ๆ เงียบสงบเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี
ทารกของคุณกำลังเติบโต
เมื่อทารกอายุได้ 5 เดือน ทารกจะมีน้ำหนักเป็น 2 เท่าจากตอนแรกเกิด หรือสำหรับทารกบางคนอาจมากกว่านั้น ซึ่งแตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน แต่ในค่ามาตราฐาน ทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 1 กิโลกรัม และสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เซนติเมตร
ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงปีแรก แต่บางครั้งก็ในช่วง 5-6 เดือน แล้วก็จะลดลง ตัวอย่างเช่น ทารกอาจมีน้ำหนักเพิ่มเป็น 2 เท่าภายใน 4-5 เดือน แต่จะเพิ่มเป็น 3 เท่าเมื่อครบ 1 ปีแล้ว
พัฒนาการที่สำคัญต่าง ๆ
ทารก 5 เดือนอาจกำลังเริ่มที่จะเข้าสู่การพัฒนาการเหล่านี้ หรือพัฒนาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นไปแล้ว พัฒนาการทารกแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป หากทารกของคุณคลอกก่อนกำหนด ช่วงเวลาอาจเเตกต่างไป การพัฒนาที่สำคัญของลูก 5 เดือนมีดังนี้
ร่างกาย
- กลิ้งจากหน้าไปหลังได้
- สามารถนั่งโดยที่มีตัวช่วยได้ หรือสามารถดันตัวเองขึ้นนั่งได้
- เปลี่ยนท่าทางด้วยตัวเอง
- ขาเริ่มรับน้ำหนักได้
- ถือของเล่นได้
- จับหัว และหน้าอกของตัวเอง
- พยายามเอื้อมหยิบของที่เห็น
- มองตามของสิ่งของได้
- เริ่มกัดมือตัวเอง
สมอง
- ทารกจะเริ่มเรียนรู้การกระทำต่าง ๆ เช่น การทำอาการตกจากเก้าอี้ หรือ การเตะขา ทารกอาจชอบการกระทำเหล่านั้น และทำมันซ้ำ ๆ เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 4-6 เดือน ทารกจะรู้ว่าสิ่งของต่าง ๆ ที่พวกเขาไม่เห็น ไม่ได้หายไปตลอดไป ซึ่งหมายความว่า ทารกอาจร้องไห้หากไม่เห็นคุณ
- ทารกจะมีสายตาที่ดีขึ้น และจะรู้สึกสนุกไปกับการมองรูปร่าง รูปทรง รวมไปถึงสีต่าง ๆ
- เด็ก ๆ จะยิ้มให้คนอื่น และจดจำใบหน้าที่คุ้นเคยได้
- ชอบเล่น
- มีการแสดงออกทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หรือขมวดคิ้ว
- ทารกจะพยายามเลียนแบบภาษาพูด
- ร้องไห้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป เช่น ร้องไห้เพราะหิว เบื่อ โกรธ หรือง่วง
- ตอบสนองต่อความรักโดยการยิ้ม
เมื่อไหร่ที่ต้องเป็นกังวล
ถึงแม้ว่าทารกแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน แต่หากทารกมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์:
- ตาเหล่
- น้ำหนักขึ้นน้อยกว่า 50% ของน้ำหนักแรกเกิด
- ไม่สามารถตั้งหัวขึ้นได้
- ไม่สามารถลุกนั่งโดยมีความช่วยเหลือได้
- ไม่สามารถเอามือหรือสิ่งของเข้าปากได้
- ไม่ตอบสนองหรือไม่สนใจใบหน้าของคุณ
- มีตุ่มนูน
- ไม่ดูสิ่งของ หรือคนที่ขยับ
- ไม่ยิ้ม
ชีวิตใน 1 วัน
วันของทารกวัย 5 เดือนของคุณจะเริ่มขึ้นแต่เช้า ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาเข้านอนตอนไหน และหลับไปนานเท่าไหร่ ตัวอย่างของชีวิต 1 วันเป็นดังนี้:
- 7 โมงเช้า—ตื่นนอน กินข้าวเช้า และเล่น
- 9 โมงเช้า—ของว่าง และงีบหลับ
- กลางวัน—อาหารกลางวัน ตื่นตัว เเละเล่น
- บ่าย 2—งีบหลีบครึ่งชั่วโมง
- บ่าย 4 —เล่น และกินของว่าง งีบหลับสั้น ๆ
- 6 โมงเย็น—ให้นม
- ทุ่ม – สองทุ่ม—เข้านอน
หลังจาก 5 เดือนทารกบางคนนอนหลับในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 8-9 ชั่วโมงต่อคืน นั่นหมายความว่า หากลูกของคุณเข้านอนเวลาหนึ่งทุ่ม พวกเขาก็จะตื่นนอนประมาณตี 4
การนอนหลับ
ในเดือนที่ 5 ค่าเฉลี่ยการนอนหลับของทารกจะอยู่ที่ประมาณ 11.5–14 ทุก 24 ชั่วโมง ซึ่งจำนวนชั่วโมงนี้ จะรวมไปถึงการงีบหลับ 30 นาที ถึงสองชั่วโมงระหว่างวันด้วย ในเดือนที่ 5-6 ทารกหลายคนจะหลับตลอดทั้งคืน ซึ่งนั่นหมายถึง 8-9 ชั่วโมงต่อคืน
เมื่อทารกของคุณเริ่มนอนหลับนานขึ้นในตอนกลางคืน และเริ่มที่จะกลับตัวได้แล้ว คุณอาจเป็นกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของพวกเขาในช่วงกลางคืน เด็กวัยนี้จะสามารถกลิ้งตัวจากท้องไปข้างหลังได้ แต่ยังไม่สามารถทำจากหลังไปที่ท้องได้ เพราะฉะนั้น จึงควรให้ลูกนอนโดยวางให้หลังแนบกับที่นอน
สุขภาพและความปลอดภัย
ทารกควรจะได้รับการตรวจร่างกายเมื่ออายุครบ 4 เดือน แต่หากไม่ได้รับการตรวจ ก็สามารถพาไปตรวจในเดือนนี้ได้ เป็นการตรวจร่างกายที่สำคัญสำหรับระบบภูมิคุ้มกันของทารก
หากคุณไปตรวจตามนัด ทารกของคุณไม่จำเป็นต้องเข้าตรวจอีกจนกว่าจะถึง 6 เดือน นอกเสียจากว่าลูกจะป่วย หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
หากทารกป่วย และมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส คุณควรรีบพาพวกเขาไปพบแพทย์ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงอาการอื่น ๆ ที่เด็กมีร่วมกับการมีไข้ เช่น งอแง หายใจลำบาก การอยากอาหารเปลี่ยนไป พฤติกรรมเปลี่ยน
นอกจากจะวัดไข้แล้ว คุณควรทราบว่าอะไรที่จะสามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้ลุกน้อยมีไข้ได้ บางครั้ง การมีไข้ของทารกเป็นสัญญาณของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่สิ่งที่สามารถทำได้คือ การอาบน้ำอุ่นให้พวกเขา หรือการทำห้ไข้ลดลงด้วยวิธีตามธรรมชาติ
หากแพทย์อนุญาตให้ทานยาได้ คุณสามารถให้ยาลดไข้ (ไทลินอล)ทารกได้ตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ ซึ่งขึ้นอยู่กับน้ำหนักของทารก ทารกไม่สามารถรับประทานไอบูโพรเฟ่นได้ จนกว่าพวกเขาจะมีอายุ 6 เดือน และทารกไม่สามารถรับประทานแอสไพรินได้ เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรม
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก