ตาของเรานั้นผลิตเมือก ที่เรียกว่า น้ำตา ซึ่งทำให้เกิด ขี้ตา ในภายหลัง ขี้ตาเยอะ (A lot of Eye Crust) คือการที่มีปริมาณขี้ตาเยอะมากกว่าปกติและทำให้เกิดอาการตาแฉะ
เมือกที่แห้งอยู่ในตา สามารถทำให้เกิดสารสีเข้ม ซึ่งบางคนเรียกว่า การมีคราบจากการนอนหลับอยู่ในดวงตา
เมือกช่วยปกป้องดวงตาจากสิ่งสกปรกขนาดเล็ก ๆ สารเคมีที่มีอันตราย และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ขี้ตาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา แต่การเปลี่ยนแปลงของการขับขี้ออกจากตานั้นสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพสำหรับบางคนได้
ขี้ตาคืออะไร
ขี้ตาเกิดจากเมือกที่ถูกผลิตขึ้นในตาของเรา
ระหว่างวัน เมื่อเรากระพริบตา ตาของเราจะหลั่งขี้ตาที่ถูกผลิตออกมา แต่ด้วยปริมาณที่น้อย ทำให้คนส่วนมากไม่ได้สังเกต
ในเวลากลางคืน เมื่อเราไม่ได้กระพริบตา ขี้ตาจึงสะสมมากขึ้น ปิดเปลือกตา ติดขนตา และอยู่ในท่อน้ำตา
สาเหตุขี้ตาเยอะ
ขี้ตาเยอะเกิดจากอะไร เราทุกคนผลิตเมือกในตาขึ้นมาทำให้เกิดน้ำตา ซึ่งเป็นเรื่องปกติของตาที่มีสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง หรือ สุขภาพของตา อาจทำให้ตาของเราผลิตเมือกมากเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ขี้ตานั้นติดอยู่ที่ตา
สาเหตุที่ทำให้มีเมือกในตามากเกินไป มีดังนี้:
-
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับดวงตา: เช่น เครื่องสำอาง หรือ คอนแท็คเลนส์ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้ตาสร้างเมือกขึ้นมามากกว่าปกติ ทำให้มีขี้ตาทั้งวัน
-
สิ่งสกปรกที่อยู่ใกล้ดวงตา: เมื่อดวงตาสะสมสิ่งสกปรกรอบ ๆ ดวงตา เช่น หลับโดยไม่เช็ดมาสคาร่าออก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ตาจะสร้างเมือกขึ้นมามากกว่าปกติซึ่งจะทำให้ติดอยู่ในตาและที่ขนตาได้ ทำให้ตาแดง มีขี้ตา
-
อากาศเปลี่ยน: บางคนขับเมือกออกมามากกว่าปกติในบางช่วงเวลาของปี เช่น ในฤดูหนาว
ขี้ตาที่มีสุขภาพดีจะมีสีใสหรือเหลืองอ่อน ๆ มันอาจจะแข็ง สีเข้ม หรือ บาง หลังจากการหลับ แต่ไม่ควรที่จะสังเกตเห็นได้ในตอนกลางวัน
หากขี้ตานั้น หนา มีสีเขียว เหลืองเข้ม หรือ มีอาการเจ็บ แดงที่ดวงตา นั่นเป็นสัญญาณของอาการติดเชื้อ ซึ่งควรพบแพทย์ทันที
ประเภทของขี้ตา
นอกเหนือจากเมือกที่มีสุขภาพดีแล้ว การขับขี้ตาออกจากดวงตานั้นยังมีอีกหลายแบบ การติดเชื้อและปัญหาสุขภาพตาบางอย่างอาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือเจ็บตาได้
ขี้ตาแบบต่าง ๆ มีดังนี้:
-
โรคตาแดง: โรคตาแดงทำให้ตากลายเป็นสีแดงและระคายเคือง ขี้ตาอาจกลายเป็นสี เขียว ขาว หรือเหลือง บางคนอาจรู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ในตา สาเหตุสามารถเกิดได้จาก การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือการแพ้ต่าง ๆ
-
เยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการติดเชื้ออื่น ๆ : การติดเชื้อบางอย่างเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การติดเชื้อเหล่านี้สามารถทำให้ตาเป็นสีชมพู บวม และปวด และอาจทำให้มีไข้ร่วมด้วย
-
ตากุ้งยิง: ตากุ้งยิงนั้นเกิดจากการอุดตันของต่อมที่เปลือกตา ปกติแล้วจะทำให้เกิดอาการบวมหรือมีก้อน ซึ่งจะทำใหเจ็บและคัน แต่สามารถหายไปเองได้ด้วยการประคบอุ่น
-
ตาบาดเจ็บ: การบาดเจ็บที่ตา เช่น เป็นรอยที่กระจกตา สามารถทำให้ตาบวมและคันได้ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกว่ามีอะไรอยู่ในตา หากอาการบาดเจ็บนั้นติดเชื้อ จะทำให้ขี้ตาหนาขึ้น
-
ท่อน้ำตาอุดตัน: สามารถทำให้เกิดเมือกที่เหนียว หนา และอาจทำให้เจ็บปวดได้
-
สิ่งใส่เข้าไปในตา: คอนเเท็คเลนส์ที่ใส่เข้าไปอาจแห้งและไปติดอยู่ที่เปลือกตาด้านบน ขนตาหรือวัตถุเล็ก ๆ อื่น ๆ สามารถทำให้ระคายเคืองได้ ทำให้ตามีน้ำเยอะและชุ่ม ไวต่อแสง และสร้างเมือกมากขึ้น
ขี้ตาในทารก
ตาของทารกผลิตเมือกเช่นกันและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ตาที่ผลิตเมือกคล้ายกับผู้ใหญ่นั้นจะเป็นเมือกที่สุขภาพดี อย่างไรก็ตาม ทรากเกิดใหม่บางคนยังมีท่อน้ำตาที่เจริญไม่เต็มที่ ซึ่งทำให้ท่อน้ำตาอุดตัน ทารกที่มีท่อน้ำตาอุดตันอาจมีเมือกสีเขียวหรือเหลืองทั้งวันไม่เฉพาะแค่ที่ตอนตื่นนอน อาการนี้สามารถดูแลได้ที่บ้านด้วยการประคบอุ่น
หากตามีอาการ ชุ่ม แดง หรือ บวม ตาของทารกอาจติดเชื้อและจำเป็นต้องพบแพทย์
เด็กที่มีอาการท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิดอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปิดท่อน้ำตา
การกำจัดขี้ตา
ขี้ตาส่วนมากบ่งบอกว่าตาของเรามีสุขภาพดีและช่วยขจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากตา
การรักษาความสะอาด ซึ่งรวมไปถึงการเช็ดเครื่องสำอางก่อนนอนด้วยการเช็ดทำความสะอาดในขณะที่ปิดเปลือกตาด้วยผ้าสะอาดสามารถช่วยลดขี้ตาได้
ผู้ที่มีปัญหาตาแห้ง สามารถใช้ยาหยอดตาได้ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าออนไลน์และร้านขายยาทั่วไปหลังจากที่ปรึกษากับเเพทย์แล้ว
สำหรับผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ที่ต้องการให้ขี้ตาลดลงควรถอดคอนแท็กเลนส์ก่อนนอน ซึ่งคอนแท็กเลนส์ควรได้รับการแนะนำจากจักษุแพทย์และควรทำความสะอาดให้ดี
บางคนมีขี้ตามากหลังจากการนอนหลับ การประคบอุ่น 3-5 นาทีสามารถช่วยให้เมือกหลุดออกได้
หากขี้ตามีมากเกินไปจนทำให้เปลือกตาติดกันในตอนเช้า ควรปรึกษาจักษุแพทย์เกี่ยวกับการติดเชื้อ
นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก