โรคลมชักชนิดเหม่อ (Absence seizures) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคลมชักชนิดเหม่อ (Absence seizures) : อาการ สาเหตุ การรักษา

30.03
3193
0

โรคลมชักชนิดเหม่อ (Absence seizures) คือลมชักที่ทำให้หมดสติชั่วขณะ ในระหว่างการชักนั้นอาจดูเหมือนกำลังฝันกลางวันอยู่

โรคลมชักชนิดเหม่อ เรียกอีกชื่อคือ petit mal seizure เป็นโรคลมบ้าหมูชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติของการนำกระแสไฟฟ้าในสมองในช่วงเวลาสั้นๆ

พบมากที่สุดในเด็กอายุ 4–14 ปี แต่อาจพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน

บทความนี้จะกล่าวถึง โรคลมชักชนิดเหม่อ วิธีสังเกตอาการ และวิธีการรักษา

โรคลมชักชนิดเหม่อคืออะไร

อาการชักหมายถึงช่วงที่มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าผิดปกติในสมอง อาการชักมีหลายประเภท ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแบ่งประเภทตามจุดกำเนิดในสมอง และจากอาการของผู้ป่วย

โรคลมชักชนิดเหม่อ ถือเป็นการชักแบบทั่วๆ ซึ่งหมายความว่ามีผลต่อสมองทั้งสองข้าง ตรงกันข้ามกับอาการชักแบบเฉพาะที่ (focal seizures) ซึ่งส่งผลต่อสมองเพียงส่วนเดียว

โรคลมชักชนิดเหม่อ ทำให้การรับรู้หายไปชั่วขณะ อาจพบว่าผู้ป่วยมีอาการเหม่อลอย และมีการกะพริบตาอย่างรวดเร็ว อาการจะเริ่มขึ้นและสิ้นสุดลงในเวลาอันรวดเร็ว

โรคลมชักชนิดเหม่อ มีสองประเภทย่อย คือการชักแบบปกติทั่วไป (Typical ) และ การชักแบบไม่ปกติ ( Atypical )

อาการชักแบบปกติทั่วไป จะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที ส่วน อาการชักไม่ปกติ จะเริ่มมีอาการช้าลงและอาจนานถึง 20 วินาทีหรือนานกว่านั้น

อาการชักอาจเป็นส่วนหนึ่งของโรคประจำตัวที่มีมาตั้งแต่วัยเด็ก เช่นโรคลมชักแบบเหม่อในวันเด็ก( Juvenile absence epilepsy ) การได้รับการวินิจฉัยโรคลมชักมักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยมีอาการชักสองครั้งขึ้นไป

อาการของโรคลมชักชนิดเหม่อ

โรคลมชักชนิดเหม่อ ทำให้การรับรู้หมดไปชั่วขณะ ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยอาจจะไม่พูด, เคลื่อนไหว หรือตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ ผู้ป่วยอาจดูเหมือนฝันกลางวันหรือสับสนอยู่

ลมชักชนิดนี้ทำให้ผู้ป่วยดูเหมือนจ้องมองไปในอากาศอันว่างเปล่า ในบางครั้งเปลือกตาอาจกระพริบขึ้นลง หรืออาจกลอกตามองขึ้นบน

การชักขึ้นอยู่กับว่าเป็นการชักแบบปกติทั่วไป หรือแบบไม่ปกติ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 10 หรือ 20 วินาที บางคนแทบไม่สังเกตเห็นเพราะเกิดขึ้นในเวลาสั้นมาก

อาการชักแบบไม่ปกติ จะเริ่มมีอาการนานขึ้นและอาจทำให้เกิดอาการเพิ่มเติมได้ อาการอาจเกิดขึ้นกระทันหัน เช่น

  • กระพริบตา

  • ขยับปาก

  • กัดริมฝีปากตัวเอง

  • ถูนิ้วตัวเองไปมา

อาการชักมักจะไม่ทำให้เกิดการพลัดตกหกล้ม

โรคลมชักชนิดเหม่อ หลังจากมีอาการชักแล้ว ผู้ป่วยมักจะฟื้นตัวทันที อย่างไรก็ตามในบางครั้งอาจมีอาการชักหลายครั้งติดต่อกันอีกได้

สาเหตุและตัวกระตุ้น

การเปลี่ยนแปลงการทำงานที่ผิดปกติในสมองทำให้เกิดอาการชัก โรคลมชักชนิดเหม่อ มักเกิดขึ้นในเด็กอายุ 4–14 ปี อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในสมอง

ในบางกรณี ภาวะการหายใจเร็วเกิน (Hyperventilation) อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคลมชักชนิดเหม่อได้ , Hyperventilating คือการหายใจเข้าและออกอย่างรวดเร็ว มักทำให้เกิดอาการชักแบบไม่ปกติ

อาการชักแบบไม่ปกติมักเป็นผลจากการหายใจเร็วเกินไป

การรักษาโรคลมชักชนิดเหม่อ

อาการชักไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอไป อย่างไรก็ตามหากอาการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจมีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้

แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อรักษาอาการชักไม่บ่อย ยาที่ใช้ในการรักษาอาการชัก ได้แก่ :

  • Ethosuximide

  • Lamotrigine

  • Valproic acid

  • Divalproex

โรคลมชักชนิดเหม่อ จะค่อยๆหายเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไปโรคลมชักชนิดเหม่อ หรือสาเหตุอื่นๆของการชัก ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก มักจะหายไปเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

ยามีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการชัก และปัจจัยอื่นๆที่สามารถช่วยได้ ได้แก่ :

  • นอนหลับให้เพียงพอ

  • จัดการความเครียด

  • รับประทานอาหารที่ดีและสมดุลต่อสุขภาพ

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

ภาวะแทรกซ้อน

อาการชักส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นไม่กี่วินาทีก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัว ในผู้ป่วยเด็กบางคนจะมีอาการชักมากถึง 50–100 ครั้งในหนึ่งวัน

แม้ว่าอาการชักจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพใดๆ แต่ในระยะยาวการชักบ่อยๆอาจรบกวนชีวิตประจำวันได้

โรคลมชักชนิดเหม่อ ทำให้หมดสติไปชั่วขณะ ถ้ามีอาการชักหลายครั้งในแต่ละวันอาจสร้างความสับสนและทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนในโรงเรียนหรืออาจเกิดปัญหาเมื่อต้องเข้าสังคมกับเพื่อนๆ

เมื่อเวลาผ่านไปปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลต่อผลการเรียนหรือพัฒนาการทางสังคมได้

Absence seizures

การวินิจฉัย

อาจใช้เวลาสักระยะเพื่อสังเกตว่าผู้ป่วยเกิดอาการชัก ผู้ป่วยเด็กบางคนอาจไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังชักและพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงอาจมองว่าเด็กกำลังฝันกลางวันอยู่ จนอาจไม่ได้ใส่ใจ

การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุมเกี่ยวกับอาการ จะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการวินิจฉัยได้ถูกต้องมากขึ้น พ่อแม่ ครู และผู้ดูแล ควรอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน ระหว่างและหลัง ที่สงสัยว่ามีการชัก

แพทย์อาจใช้การทดสอบการตรวจวัดคลื่นสมอง (Electroencephalogram) เพื่อตรวจหารูปแบบที่ผิดปกติในการทำงานของสมอง นอกจากนี้ยังอาจใช้การทดสอบอื่น เพื่อตรวจหาสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ และเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ได้แก่ :

  • การตรวจเลือด

  • การตรวจค่าตับและไต

  • การสแกนภาพสมอง เช่น การสแกน MRI

  • การเจาะน้ำไขสันหลัง

แนวโน้ม

แนวโน้มของโรคลมชักชนิดเหม่อ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรง ในกรณีส่วนใหญ่เด็กจะหยุดชักเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

ในกรณีอื่นๆเด็กอาจต้องใช้ยาในระยะยาวเพื่อรักษาหรือป้องกันอาการชัก การรักษาอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยป้องกันอาการชักและลดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

โรคลมชักชนิดเหม่อ ต้องรีบไปพบแพทย์เสมอ อย่างไรก็ตามอาจเป็นเรื่องยากที่จะตรวจพบ เพราะอาจดูเหมือนว่าเป็นการฝันกลางวันมากกว่า

ข้อสังเกตของโรคลมชักชนิดเหม่อ ที่แตกต่างจากการฝันกลางวัน ได้แก่ :

  • อาการเกิดขึ้นกะทันหัน

  • สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเคลื่อนไหวหรือระหว่างทำกิจกรรมอื่นๆ

  • ไม่สามารถควบคุมได้

  • อาการเกิดใน10–20 วินาที

สรุป

โรคลมชักชนิดเหม่อ ทำให้หมดสติไปชั่วขณะ ในระหว่างที่มีอาการ อาจดูเหมือนกำลังฝันกลางวัน อาการมักจะคงอยู่ประมาณ 10–20 วินาที  ก่อนที่ผู้ป่วยจะตัวรู้สึกตัวทันทีทันใด

โรคลมชักชนิดเหม่อ มักเกิดขึ้นในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งต่อวัน  ซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวัน

ในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ช่วยป้องกันโรคลมชักชนิดเหม่อ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *