โรคแอกทินิก เคอราโทซิส (Actinic Keratosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคแอกทินิก เคอราโทซิส (Actinic Keratosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

23.03
6448
0

โรคแอกทินิกเคอราโทซิส หรือกระแดด (Actinic Keratosis) คือมะเร็งระยะเริ่มแรกของผิวหนัง โดยมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเล็ตในระยะเวลานาน หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่ง คือ Solar Keratosis

โรคแอกทินิก เคอราโทซิส (Actinic Keratosis) หรือกระแดด พบเห็นได้ในหลายส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับแสงแดดโดยตรงอยู่เป็นประจำ

ระยะก่อนมะเร็ง คือ ภาวะที่หากไม่ทำการรักษาก็กำลังจะเข้าสู่การเป็นมะเร็ง ดังนั้น แอกทินิคเคอราโทซิส จึงเป็นโรคที่ควรจะติดตามเฝ้าระวังและควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม

กระแดดคืออะไร

กระแดด คือ แผลหรือรอยโรคที่มีลักษณะหยาบ ขรุขระ ตะปุ่มตะป่ำปรากฏขึ้นบนผิวหนัง ส่วนใหญ่จะพบบริเวณหนังศีรษะ หลังมือ ใบหน้า หู หลังแขน คอ และไหล่

ขนาดของกระแดดจะแตกต่างกันไป โดยมีตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลางเล็ก ๆ จนถึงหนึ่งนิ้วหรือมากกว่านั้น ในทำนองเดียวกันก็จะมีสีแตกต่างกันด้วย โดยมีตั้งแต่สีอ่อนไปจนถึงสีเข้ม และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดรอยที่เกิดขึ้น

กระแดด จะใช้เวลานานกลายปีกว่าจะเกิดภาวะดังกล่าวนี้ ผู้ที่มีอาการส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 40 ปีหรือมากกว่านั้น และรอยโรคที่เกิดขึ้นก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามเวลาที่เปลี่ยนไป

โดยทั่วไปแล้วอาการของโรคนี้จะไม่มีอะไรมากไปกว่าการเกิดสะเก็ดหรือเป็นขุยที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น ส่วนใหญ่จะไม่แสดงสัญญาณหรืออาการอื่นใดอีก คนที่เป็นโรคนี้จะต้องเจอกับสภาวะที่โรคนี้จะเป็นๆ หายๆ ไปตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาหรืออยู่ในความดูแลของแพทย์แล้วก็ตาม

การเป็นกระแดด  จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งผิวหนัง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา กระแดดอาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งผิวหนังชนิด squamous cell carcinoma ได้

อาการของกระแดด

การรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระแดด หรือไม่ จะทำให้สามารถทำการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

กระแดด จะมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่จะมีบางอาการที่ดูคล้ายๆ กัน เช่น

  • เป็นสะเก็ดแดง

  • มีรอยนูน

  • รอยนูนมีลักษณะเป็นขุย

  • สัมผัสสากมือ (เหมือนกระดาษทราย)

สาเหตุของกระแดด

ปกติจะเรียกโรคแอกทินิก เคอราโทซิส ว่า Solar Keratosis ซึ่งจากชื่อนี้จะเป็นการอธิบายถึงสาเหตุของรอยโรคที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับแสงมากเกินไปหรือผิวหนังได้รับความเสียหายจากแสงอัลตราไวโอเลต (UV)

กระแดดจะมีลักษณะแตกต่างจากการถูกแดดเผา ซึ่งแดดเผาเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับแสงยูวีเป็นเวลานาน แต่แอกทินิกเคอราโทซิส ต้องใช้เวลาในการสัมผัสกับแสงแดดเป็นประจำนานหลายปีเพื่อให้เกิดรอยโรคนี้ขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระแดด

เมื่อเวลาผ่านไป ทุกคนมีโอกาสจะกระแดดได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คนมีแนวโน้มที่ทำให้ผิวตกกระเพิ่มขึ้น มีดังนี้

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปมี

  • เป็นผู้ที่มีประวัติการถูกแดดเผาหรือการโดนแสงแดดมากๆ

  • อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแดดจัด

  • ชอบทำผิวเป็นสีแทนโดยใช้เตียงทำผิวสีแทน

  • เคยมีประวัติเป็นโรคแอกทินิกเคอราโทซิสมาก่อน

  • มีผมหรือตาสีอ่อน

  • มีนิสัยชอบอาบแดด

การรักษากระแดด

แม้ว่าในบางครั้งแอกทินิกเคอราโทซิสจะสามารถรักษาหายได้เองตามธรรมชาติ แต่ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ เนื่องจากภาวะดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นภาวะก่อนการเกิดมะเร็งผิวหนัง

สำหรับการรักษาโรคนี้ มีทางเลือกในการรักษาที่แตกต่างกันไป เช่น

  • ใช้ยา

  • การทำศัลยกรรม

  • การบำบัดด้วยแสง โดยใช้แสงและยาและเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

การรักษาโดยการใช้ยา

หนึ่งในวิธีรักษาที่มีความก้าวหน้าและถูกนำมาใช้ในรักษาโรคแอกทินิกเคอราโทซิสอย่างกว้างขวาง คือการรักษาโดยการใช้ยา ซึ่งจะเป็นยาในรูปของครีมหรือเจลต่างๆ เช่น

  • ไดโคลฟีแนคเจล (diclofenac gel)

  • ครีมอิมิควิโมด  (imiquimod cream)

  • ครีมฟลูออโรยูราซิล (fluorouracil cream)

  • เจล ingenol mebutate ( ingenol mebutate gel)

ครีมหรือเจลเหล่านี้สามารถใช้ทาที่ผิวหนังบริเวณที่มีอาการได้โดยตรง ซึ่งบางครั้งอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ครีมหรือเจลเหล่านี้ เช่น ในบางคนอาจพบผื่นแดง หรือมีอาการบวมในบริเวณที่ใช้ครีมหรือเจลเหล่านี้

Actinic Keratosis

การรักษาโดยการทำศัลยกรรม

ในกรณีที่อาการที่เกิดขึ้นมีเพียงรอยหรือจุดเล็กๆ แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการนำเอารอยโรคนั้นออกด้วยการทำการผ่าตัดเล็ก หรือการทำศัลยกรรมแทน โดยทั่วไปแล้วมีทางเลือกในการรักษาด้วยการผ่าตัด  2 วิธี คือ การผ่าตัดเพื่อขูดเอารอยโรคนั้นออกไป และการผ่าตัดโดยจี้ด้วยความเย็น

วิธีการที่เรียกว่าการขูดจะทำโดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Curette เพื่อขูดเซลล์ผิวที่เสียหายออก ในบางกรณีหลังจากการขูดจบสิ้นลงจะมีการผ่าตัดด้วยไฟฟ้าต่อทันที การผ่าตัดด้วยไฟฟ้าจะทำโดยแพทย์ซึ่งจะใช้เครื่องมือรูปปากกาเพื่อทำลายและตัดเนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบออกไปด้วยกระแสไฟฟ้า

ขั้นตอนทั้ง 2 วิธีนี้ ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งบางคนจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ได้แก่ มีรอยแผลเป็น สีของรอยโรคเปลี่ยนไป และมีการติดเชื้อ เป็นต้น

การแช่แข็งเรียกว่า cryotherapy ช่วยขจัดรอยโรคโดยการแช่แข็งด้วยไนโตรเจนเหลว ทำโดยแพทย์จะใช้ไนโตรเจนเหลวกับผิวหนัง ความเย็นจัดจะทำให้บริเวณที่เป็นรอยโรคพองขึ้นและลอกออกไป ในขณะที่ผิวหนังสมานตัว รอยโรคจะหลุดออก ทำให้เกิดผิวหนังใหม่ที่ไม่เสียหายขึ้นมาแทนที่

การผ่าตัดโดยวิธี Cryotherapy เป็นวิธีที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการรักษาโรคแอกทินิกเคอราโทซิส  เนื่องจาก สามารถทำได้ในห้องที่แพทย์ตรวจโรคได้เลย และใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที  แต่อาจจะมีผลข้างเคียงได้ เช่น

  • พื้นสัมผัสของผิวอาจจะมีลักษณะเปลี่ยนไป

  • อาจเกิดแผลพุพอง

  • อาจจะมีการติดเชื้อ

  • เกิดรอยแผลเป็น

  • มีการเปลี่ยนสีของผิวหนังบริเวณที่ทำการรักษา

การบำบัดด้วยแสง

การบำบัดด้วยแสงทำโดยการใช้สารเคมีในบริเวณผิวหนังที่มีอาการ จากนั้นแพทย์จะฉายแสงที่ประดิษฐ์ขึ้นไปยังสารเคมี ซึ่งจะทำลายเซลล์ที่เสียหาย และกำจัดแอคตินิกเคอราโทซิสออกไป

ผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นในกรณีนี้คือ อาจมีรอยแดง บวมและแสบร้อนในระหว่างขั้นตอนการรักษา

ผู้ป่วยและแพทย์อาจต้องร่วมกันตัดสินใจในการเลือกวิธีการรักษา หรือเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ในบางกรณีผู้ป่วยอาจได้จะต้องทำการรักษาต่อเนื่องตลอดไป หากรอยโรคกลับมาเกิดซ้ำอีก

สรุป

โรคแอกทินิก เคอราโทซิส หรือกระแดด เป็นภาวะที่บอกว่าผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและมีความเสียหายเกิดขึ้นกับผิวหนัง อันเนื่องจากมาจากผิวหนังสัมผัสกับรังสีอุลตราไวโอเล็ต ซึ่งภาวะนี้ทำให้ผู้ป่วที่เป็นโรคแอคทินิกเคอราโทซิส มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง

ผู้ที่รู้ตัวว่า ตนเองเป็นโรคแอตทินิกเคอราโทซิสแต่เนิ่นๆ จะทำให้มีโอกาสดีที่จะไรับการรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง

เมื่อทำการรักษาแล้ว ผู้ป่วยควรต้องไปพบกับแพทย์ผิวหนังทุกๆปี เพื่อติดตามผลการรักษาและตรวจหาสัญญาณของการกลับมาอุบัติซ้ำของโรค รวมถึงตรวจหาสัญญาณที่จะเกิดเป็นมะเร็งผิวหนังด้วย

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *