อาการเครียดเเบบเฉียบพลัน (Acute Stress) คืออาการทางสุขภาพจิตที่สามรถเกิดขึ้นได้หลังจากเหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำทางจิตใจ
ซึ่งอาการเครียดเฉียบพลันนี้สามารถทำให้เกิดอาการทางจิตใจและไม่มีการรักษาโดยเฉพาะนอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดสภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง
อาการเครียดเฉียบพลันคืออะไร
อาการเครียดเฉียบพลันเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยอาการด้านจิตใจ มีคำแนะนำคู่มือโดยสถาบันจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาเรื่องการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางด้านจิตใจในปี 1994
แม้ว่าสภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง (PTSD) และอาการเครียดเเบบเฉียบพลัน (ASD) จะมีอาการคล้ายกันแต่มีการวินิจฉัยโรคที่แตกต่างกัน
ผู้ที่มีอาการเครียดเฉียบพลันมักเคยมีประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างเฉียบพลันหลังที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่สร้างบาดแผลกับจิตใจอย่างรุนเเรงซึ่งแตกต่างจากสภาวะป่วยทางจิตใจ (PTSD) อาการเครียดเฉียบพลัน (ASD) เป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวและโดยปกติแล้วมักเกิดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ถึง 30 วันหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนกับจิตใจ
หากผู้ที่มีอาการเครียดเฉียบพลันเป็นเวลายาวนานมากกว่าหนึ่งเดือน โดยปกติแพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคจิตเภทที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง (PTSD)
สาเหตุของอาการเครียด
ผู้ที่เป็นโรคเครียดแบบเฉียบพลัน (ASD) อาการนี้อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ทำให้กระทบกระเทือนกับจิตใจหนึ่งเหตุการณ์หรือมากกว่าหนึ่งเหตุการณ์ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สร้างบาดแผลให้กับจิตใจและสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพร่างกาย อารมณ์หรือจิตใจได้
เหตุการณ์ที่สร้างบาดแผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจได้แก่
- การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
- การตายเเละการบาดเจ็บที่สาหัส
- ภัยทางธรรมชาติ
- อุบัติเหตุ
- ถูกล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืนหรือการทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว
- การได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายเเรง
- มีภาวะสมองบาดเจ็บ
อาการเครียด
ผู้ที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการเครียดแบบเฉียบพลัน (ASD) ที่คล้ายกับโรคจิตเภทที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง (PTSD) และโรคเครียดประเภทอื่นๆ
อาการเครียดเฉียบพลันมี 5 ประเภทดังต่อไปนี้
- อาการย้อนเห็นภาพเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำๆหมายถึงผู้ป่วยที่ไม่สามารถหยุดคิดเกี่ยวกับเหตุการที่กระทบกระเทือนกับจิตใจได้แก่เหตุการณ์ในอดีตที่ย้อนกลับคืนมา ความทรงจำ หรือความฝัน
- มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงในเชิงลบหมายถึงผู้ที่มีอารมณ์เชิงลบได้แก่ความเศร้าและอารมณ์ไม่ดี
- ภาวะที่ความทรงจําและความรู้ตัวผิดปกติได้แก่การพยายามเปลี่ยนแปลงโลกความเป็นจริง ไม่ค่อยสนใจเหตุการณ์รอบข้างและไม่สามารถจดจำหรือพยายามลืมเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจ
- มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเมื่อเจอสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกบเหตุการณ์นั้น หมายถึงผู้ที่มีอาการหลีกเลี่ยงทางความคิด หลีกเลี่ยงที่จะแสดงความรู้สึกหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่สร้างบาดแผลหรือความบอบช้ำให้กับจิตใจ
- อาการตื่นตัวเปลี่ยนไปมากหลังประสบเหตุการณ์นั้นได้แก่อาการนอนไม่หลับและมีปัญหาด้านการนอนหลับอื่นๆ ไม่มีสมาธิจดจ่อและมีอาการรำคาญรวมไปถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวซึ่งแสดงออกได้ทั้งทางการพูดและการกระทำ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่รู้สึกตึงเครียดตลอดเวลาและถูกทำให้ตกใจได้ง่าย
ผู้ที่มีความเครียดเฉียบพลันมีพัฒนาไปเป็นโรคทางจิตเวชที่ก่อให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจอย่างเช่นโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าได้
อาการของโรควิตกกังวลได้แก่
- รู้สึกผิดกับการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- มีความกังวลมากเกินไป
- ไม่มีสมาธิจดจ่อ
- มีอาการอ่อนล้าไม่มีเเรง
- มีความกระวนกระวายในจิตใจ
- คิดมาก
อาการของโรคซึมเศร้าได้แก่
มีความรู้สึกดังต่อไปนี้เกิดขึ้นนานเเละถาวรได้แก่
- อาการสิ้นหวัง มีความเศร้าหรือไร้ความรู้สึก
- ร่างกายอ่อนล้าไม่มีเเรง
- ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล
- ไม่มีความสนใจในการทำกิจกรรมหรือไม่มีอะไรที่ทำให้พึงพอใจ
- เกิดการเปลี่ยนแปลงของความอยากอาหารหรือน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง
- มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเอง
การรักษาโรคเครียด
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานใกล้ชิดกับบุคคลที่มีอาการเครียดควรพัฒนาแผนการรักษาที่ใช้รักษาอาการเฉพาะบุคคล โดยการรักษาโรคเครียดเฉียบพลัน (ASD) มุ่งเน้นไปที่การลดอาการต่างๆที่เกิดขึ้นและพัฒนากลไกความสามารถในการเผชิญหน้ากับปัญหารวมไปถึงป้องกันการเกิดสภาวะป่วยทางจิตที่รุนเเรง (PTSD)
ทางเลือกในการรักษาอาการเครียดแบบเฉียบพลัน (ASD) ได้แก่
- การบำบัดพฤติกรรมเเละความคิด (CBT) แพทย์มักจะแนะนำวิธีการรักษาแบบบำบัดพฤติกรรมเเละความคิดเป็นการรักษาลำดับแรกในการรักษาอาการเครียดในผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ได้แก่การทำงานและฝึกฝนกับผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคเกี่ยวกับจิตใจเพื่อฝึกการรับมือกับการเผชิญปัญหารูปแบบต่างๆ
- การรักษาด้วยการฝึกสมาธิหรือสติหมายถึงการบำบัดโดยใช้การเจริญสติเป็นหลักโดยการสอนให้รู้จักจัดการกับภาวะความเครียดเเละความกังวลใจ ได้แก่การนั่งสมาธิและการฝึกลมหายใจ
- การใช้ยารักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักให้ยาต้านโรคซึมเศร้าหรือยาป้องกันอาการชักเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยทางจิตใจของผู้ป่วย
การป้องกันโรคเครียด
การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจอาจสามารถทำได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามยังมีวิธีที่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเครียดสะสมได้
วิธีดังกล่าวได้แก่
- การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือจิตแพทย์ตามลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
- หากำลังใจจากครอบครัวและเพื่อน
- เข้ารับการรักษาเพื่อรักษาอาการผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้น
- ทำงานร่วมกับนักบำบัดพฤติกรรมเพื่อฝึกฝนกลยุทธ์การรับมือกับปัญหาต่างๆ
- เข้ารับการฝึกฝนเเละเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
https://www.healthline.com/health/acute-stress-disorder
https://www.ptsd.va.gov/professional/treat/essentials/acute_stress_disorder.asp
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก