โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) : อาการ สาเหตุ การรักษา

18.02
4035
0

โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) หรือ ที่รู้จักกันใน การใช้สุราในทางที่ผิด คือโรคที่ผู้ป่วยมีความอยากหรือร่างกายต้องการดื่มแอลกอฮอล์ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าการดื่มแอลกอฮอลส่งผลกระทบด้านลบต่อการใช้ชีวิตก็ตาม

ในอดีตผู้ที่มีอาการของโรคพิษสุราเรื้อรังถูกเรียกว่า คนติดเหล้า อย่างไรก็ตามการเรียกในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นการช่วยอะไรและเป็นการใช้คำพูดด้านลบ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงเรียกโรคนี้ว่า การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิดแทน

จากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลกพบว่า มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3.3 ล้านคนทั่วโลก

โดยผู้ที่มีปัญหานี้ไม่รู้ว่าต้องเลิกดื่มเหล้าเมื่อไหร่หรือต้องเลิกดื่มอย่างไร ดังนั้นพวกเขาจึงใช้เวลามากมายไปกับการคิดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่สามารถควบคุมปริมาณที่ตัวเองดื่มเข้าไปได้ ถึงแม้ว่ามันจะทำให้เกิดปัญหากับที่บ้านและที่ทำงานหรือมีปัญหาด้านการเงินก็ตาม

คำว่าการใช้แอลกอฮอล์แบบผิดปกติสามารถใช้ได้กับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป รวมถึงการดื่มที่ไม่เหมาะสม แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอลเสมอไป

การดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอประมาณนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อจิตใจและร่างกาย อย่างไรก็ตาม หากผู้ใดเพลินเพลินกับการดื่มหรือดื่มเป็นประจำในปริมาณที่เกินกว่าคำแนะนำ อาจก่อให้เกิดการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิดได้

อาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง

โดยส่วนมากแล้วผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตัวเองกำลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลมากเกินไปอยู่

สัญญาณเตือนและอาการต่าง ๆ ของการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิดมีดังนี้:

  • ดื่มคนเดียวหรือชอบแอบดื่มเอง

  • ไม่สามารถควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปได้

  • หมดสติและส่วนใหญ่จะจำไม่ได้

  • รู้สึกหงุดหงิดโมโหเมื่อมีคนมาว่ากล่าวกับกิจวัตรเหล่านี้ เช่น ดื่มก่อน ระหว่าง และหลังอาหาร หรือ หลังการทำงาน

  • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบมาก่อน

  • รู้สึกมีแรงกระตุ้นที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลมากผิดปกติ

  • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อเวลาที่ต้องดื่มมาถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มีแอลกอฮอล์ให้ดื่ม

  • เก็บเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่ ๆ ไม่ควรเก็บ

  • ดื่มอย่างรวดเร็วเพื่อให้รู้สึกดี

  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์หรือปัญหาอื่นๆ เช่น การเงินหรือการทำงาน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลมากเกินไป

  • ต้องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทำให้รู้สึกว่าดื่มแล้ว

  • มีอาการคลื่นไส้ เหงื่อออก หรือตัวสั่นเมื่อไม่ได้ดื่ม

บางคนอาจมีสัญญาณและอาการเหล่านี้แต่ไม่ได้ติดแอลกอฮอล์เสมอไป

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีปัญหาตามมา เมื่อการดื่มนั้นกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกว่ากิจกรรมอื่น ๆ และการปัญหาการติดแอลกอฮอล์ต้องใช้เวลาหลายปีในการรักษา

ปัญหาที่มาจากการติดแอลกอฮอล์มีมากมาย ซึ่งได้แก่การส่งผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจรวมถึงการเข้าสังคมได้

สาเหตุของโรคพิษสุราเรื้อรัง

โรคติดสุรา หรือการติดแอลกอฮอล์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการดื่มมาหลายปีหรือหลายสิบปี นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ อาจการติดสุราเกิดขึ้นได้ภายในเวลาแค่ไม่กี่เดือน

เมื่อเวลาผ่านไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจำไปรบกวนสมดุลของ:

  • สารกาบาในสมอง

  • กลูตาเมต

สารกาบาทำหน้าที่ควบคุมการยับยั่งชั่งใจในการทำสิ่งต่าง ๆ และกลูตาเมตมีหน้าที่ในการกระตุ้นระบบประสาท

หลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้สารโดปามีนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความพึงพอใจและต้องการดื่มในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นไปอีก

เมื่อดื่มไปนานๆการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากไปจะเข้าเปลี่ยนปริมาณสารเคมีต่าง ๆ ในสมอง ทำให้ร่างกายต้องการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้รู้สึกดีและหลีกเลี่ยงความรู้สึกแย่ที่เกิดขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างดังต่อไปนี้อาจเชื่อมโยงกับการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากไป

  • ยีน: สารพันธุกรรมบางอย่างอาจส่งผลให้บางคนติดแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มทดแทนอย่างอื่น ซึ่งอาจเป็นกันในครอบครัว

  • อายุที่เริ่มดื่ม: มีการศึกษาหนึ่งพบว่า ผู้ที่เริ่มดื่มแอลกอฮอล์ก่อนอายุ 15 ปี เป็นผู้ที่มีโอกาสมีปัญหากับการดื่มแอลกอฮอล์เมื่ออายุเพิ่มขึ้น

  • การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮลง่าย: มีความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าถึงแอลกอฮอล์ได้ง่ายและการเสียชีวิตจากการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น หาซื้อได้ง่ายและมีราคาถูก จากการศึกษาหนึ่งพบว่า ตัวเลขการเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์ลดลงเมื่อภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แพงขึ้น ซึ่งวิธีการนี้ใช้เพื่อลดความเสี่ยงของการดื่มแอลกอฮอลได้ผลถึง 2-4 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการป้องกันอื่น ๆ เช่น การรณรงค์เรื่องโรคพิษสุราเรื้อรังผ่านสื่อต่าง ๆ

  • ความเครียด: ฮอร์โมนความเครียดบางอย่างทำให้เกิดการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด หากความเครียดหรือความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น คนผู้นั้นอาจดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเป็นการแก้ปัญหา

  • คนรอบตัวดื่ม: ผู้ที่มีเพื่อนที่ดื่มเป็นประจำหรือดื่มมากเกินไปมีโอกาสที่จะดื่มมากเกินไปด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ต่าง ๆ ตามมาได้

  • การรับรู้คุณค่าในตัวเองต่ำ: ผู้ที่ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเองต่ำมีโอกาสที่จะดื่มมากเกินไป

  • โรคซึมเศร้า: ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอาจต้องการหรือไม่ได้มีเจตนาที่จะดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการรักษาตัวเอง ในทางกลับกันการดื่มแอลกอฮอล์มากไปอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้ามากว่าการลดการเกิดอาการของโรคซึมเศร้า

    Alcoholism

การรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง

ขั้นตอนแรกของการรักษาอาการติดเหล้า คือ การรับรู้ว่าตนเองมีอาการติดแอลกอฮอล์

ขั้นตอนต่อไปคือ การได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งมีตั้งแต่ การสร้างกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล ไปจนถึงการให้บริการจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดผู้ที่มีปัญหาการใช้สุราผิดปกติ

วิธีการดังต่อไปนี้คือการรักษาสำหรับผู้ที่ใช้สุราในทางที่ผิด:

  • การเลิกสุราด้วยตัวเอง: บางคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์มากผิดปกติ สามารถหาทางที่จะรักษาเองโดยที่ไม่พึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ โดยสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ และหนังสือที่สามารถซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์

  • การเข้ารับคำปรึกษา: ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์สามารถปรึกษากับที่ปรึกษาที่มีใบรับรองเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ จากนั้นที่ปรึกษาจะวางแผนการรับมือ ซึ่งพฤติกรรมบำบัดได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาการติดแอกอฮอล์

  • การแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่: อาจเป็นปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับ ความเครียด การตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง ความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากเป็นการเพิ่มโอกาสในการดื่มแอลกอฮอล์ผิดปกติมากขึ้นและทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ และโรคหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้ควรได้รับการรักษาเช่นกัน

  • การเข้าโปรแกรมบำบัดที่บ้าน: การรักษานี้ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่การบำบัดกลุ่มหรือเดี่ยว กลุ่มสนับสนุน การฝึก การมีส่วนร่วมของครอบครัว กิจกรรมบำบัด และวิธีการพำนักอยู่เพื่อรักษา สำหรับบางรายการอยู่ห่างจากแอลกอฮอล์ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน โปรแกรมบำบัดนี้ผู้ป่วยจะทำความเข้าใจโทษของการดื่มสุรา

  • ยาต้านอาการติดแอลกอฮอล์อย่างรุนแรง: ยาเลิกเหล้า หรือ ยาไดซัลฟิแรม ทำให้เกิดอาการตอบสนองรุนแรงเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ เช่น คลื่นไส้  ท้องเสีย อาเจียน และปวดหัว เนื่องจากมีสรรพคุณช่วยยับยั้งการดูดซึมแอลกอฮอล แต่ยาชนิดนี้ไม่ได้ช่วยควบคุมการดื่มหรือแก้ปัญหาได้ในระยะยาว

  • ยาระงับอาการอยากดื่มสุรา ได้แก่ ยานาลเทร็กโซนเป็นยาที่ช่วยลดอาการอยากดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยา Acamprosate ช่วยระงับความต้องการดื่มแอลกอฮอล์ได้เช่นกัน

  • การขับพิษ: ยาต่าง ๆ สามารถช่วยป้องกันอาการหลังเลิกแอลกอฮอล์ได้ โดยปกติแล้ว การรักษาจะกินเวลาประมาณ 4-7 วัน ยา Chlordiazepoxide และ  ยา benzodiazepine ถูกใช้บ่อยในการขับพิษ

  • ความสามารถในการบังคับใจตัวเอง: บางคนที่ประสบความสำเร็จในการหยุดดื่มสุราสามารถทำในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น แต่ยังคงกลับไปดื่มอีกได้อีกครั้ง หรือยังคงดื่มสุราอยู่หลังจากการรักษา การเข้ารับคำปรึกษา การรักษาด้วยยา การเข้าร่วมกลุ่ม รับรู้โทษของการติดเหล้า และกำลังใจจากครอบครัวสามารถช่วยให้ผู้ป่วยไม่กลับไปดื่มอีกเมื่อเวลาผ่านไป

  • กลุ่มช่วยเหลือเพื่อเลิกดื่มสุรา : กลุ่มดังกล่าวคือกลุ่มของผู้หญิงและผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้แอลกอฮอล์ ซึ่งไม่ใช่กลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือและให้กำลังใจกันและกัน และช่วยให้เข้าใจถึงผลเสียของการดื่มสุรา โดยในกลุ่มมีคนหลากหลายเชื้อชาติ แต่ไม่ใช่กลุ่มทางการเมือง เป็นกลุ่มที่มีอยู่ทุกที่ ไม่จำกัดอายุและการศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มที่เปิดให้คนที่ต้องการเลิกแอลกอฮอล์เข้าร่วมเท่านั้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *