ปวดข้อเท้า (Ankle Pain) คือ อาการปวดที่บริเวณข้อเท้า อาจจะเกิดจากข้อเท้าเคล็ด หรือข้อเท้าพลิก โดยข้อเท้าเท้าพลิกจะเกิดขึ้นเมื่อเอ็นที่รองรับข้อเท้ายึด หรือเอ็นฉีกขาด โดยเอ็นนั้นจะทำหน้าที่ช่วยเชื่อมกระดูกกับกระดูกอ่อนเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณข้อ แต่ว่าอาการของข้อเท้าเคล็ดเกิดจากส่วนของกล้ามเนื้อเอ็นถูกดึง หรือยืดขยายอย่างแรงมากกว่าปกติ และอาจทำให้ขยับข้อเท้าหรือเดินได้ยาก
สาเหตุของการปวดข้อเท้า
การหกล้ม และบิดของข้อเท้า เป็นสาเหตุหลักของอาการข้อเท้าพลิก
การบาดเจ็บที่เกิดจากเอ็นยึด หรือเกิดกระทบกระเทือนบริเวณข้อเท้า นั้นสามารถทำให้ข้อเท้าพลิกได้ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
การหกล้ม: การหกล้มสามารถทำให้เกิดการบิดของข้อเท้า และเอ็นได้ โดยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคกระดูกพรุนมีความเสี่ยงที่จะหกล้ม รวมถึงอาการเคล็ดขัดยอกจากการหกล้มระหว่างการเล่นกีฬาก็อาจทำให้เกิดข้อเท้าพลิก
ข้อเท้าได้รับการกระแทก: หากเกิดการกระแทกที่ข้อเท้าอย่างกะทันหัน อาจทำให้เอ็นยึด หรือได้รับบาดเจ็บได้
ชีวิตประจำวัน: ความประมาทระหว่างวันสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน และการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนความแข็งแรงลดลง หากเกิดการหกล้มเนื้อเยื่อที่อ่อนแอนี้ฉีกขาด และได้รับบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น
การใช้งานข้อเท้ามากเกินไป: การใช้ข้อเท้ามากเกินไป เช่น การเล่นกีฬาที่มีการแข่งขันสูง มีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บที่เอ็นหรือกล้ามเนื้อ โดยความเสียหายของเอ็นทำให้เกิดข้อเท้าพลิกได้
เกิดอาการข้อเท้าพลิก : อาการข้อเท้าพลิกที่ไม่ได้รับกรรักษาอย่างถูกต้องสามารถเกิดซ้ำได้ และอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการหกล้ม
อาการปวดข้อเท้า
อาการปวด และอาการอื่น ๆ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรง อาการเคล็ดขัดยอก และความเสียหายที่เอ็นได้รับ โดยแพทย์จะกำหนดระดับความรุนแรงระดับที่ 1-3 ให้กับอาการข้อเท้าเคล็ด ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- อาการเคล็ดขัดยอกระดับ 1 อาการไม่รุนแรง และเกิดขึ้นเมื่อเอ็นข้อเท้ายึดหรือฉีกขาด ทำให้เกิดอาการปวด และบวมเล็กน้อย
- อาการเคล็ดขัดยอกระดับ 2 อาการอยู่ในระดับปานกลาง เอ็นฉีกขาดบางส่วน ทำให้เกิดอาการปวดและบวมในระดับปานกลาง จะสังเกตได้ว่าข้อเท้าหลวมกว่าปกติ
- อาการเคล็ดขัดยอกระดับ 3 อาการรุนแร เอ็นฉีกขาด ทำให้เกิดอาการปวด และบวมอย่างมาก ขยับข้อเท้าได้ยาก และสังเกตเห็นได้ว่าข้อเท้าผิดปกติ
อาการอื่นๆ ของปวดข้อเท้ามีดังนี้
- ปวดอย่างฉับพลัน
- รอบ ๆ ข้อเท้าบวมหรือช้ำ
- ขยับข้อเท้าลำบาก
- ข้อต่อผิดปกติอาจทำให้เดินได้ยาก หรือข้อเท้าหลุด
- มีเสียงดังเกิดขึ้น (อาการเคล็ดขัดยอกระดับ 3)
หากมีอาการข้อเท้าพลิกอย่างรุนแรงจะทำให้รู้สึกเหมือนกระดูกหัก ทั้งนี้ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือกระดูกอย่างรุนแรงหลังจากได้รับบาดเจ็บ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาทันที
อาการปวดข้อเท้า หรืออาการข้อเท้าพลิกในเด็ก
เด็กเล็กนั้นจะมีการเจริญเติบโตของกระดูกที่อ่อนแอกว่าเอ็น ดังนั้นเด็กจะมีความเสี่ยงต่อการกระดูกหักได้มากกว่าผู้ใหญ่
สำหรับอาการข้อเท้าพลิกในเด็ก มีดังนี้
- งอแง
- ข้อเท้าบวมหรือแดง
- ปวดข้อเท้า
- เดินแปลกไปจากปกติ
- ร้องไห้อย่างต่อเนื่อง
โดยอาการนั้นคล้ายกับอาการกระดูกหัก ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันทีหลังจากได้รับบาดเจ็บ
อาการปวดข้อเท้าที่ควรไปพบแพทย์
ควรไปพบแพทย์หากมีอาการปวดข้อเท้า หรือข้อเท้าพลิก หรือข้อเท้าบาดเจ็บอื่น ๆ โดยทั่วไปแล้ว อาการข้อเท้าพลิกสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาพยาบาล
อย่างไรก็ตามอาการนี้ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เนื่องจากจะคล้ายคลึงกับการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ เช่น กระดูกหัก เป็นต้น
ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้
- อาการข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าได้รับบาดเจ็บอื่นๆ
- ข้อเท้าเจ็บปวดรุนแรงหรือทนไม่ได้
- เดินลำบากหลังจากข้อเท้าพลิกผ่านไป 2-3 วัน
- ปวดต่อเนื่องหลายสัปดาห์
- ได้รับบาดเจ็บซ้ำ
- มีบาดแผลภายนอกที่ข้อเท้า
- การรักษาด้วยตัวเองไม่ช่วยให้ดีขึ้น
การเยียวยาอาการปวดข้อเท้าด้วยตนเอง
เริ่มต้นด้วยการรักษาข้อเท้าด้วยการควบคุมอาการบวม เพื่อลดอาการปวด สามารถออกกำลังกาย และยืดข้อเท้าเบาๆ เพื่อช่วยให้ข้อเท้าพลิกหายได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
อาการเคล็ดขัดยอกเล็กน้อยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล การรักษาหรือบรรเทาด้วยตัวเองสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
R.I.C.E : พักผ่อนให้เพียงพอ ประคบเย็น พันกระชับ และยกขาให้สูง สามารถลดอาการบวมและปวดได้ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ทั้งนี้การประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาที การใช้ผ้าพันกระชับ และการยกข้อเท้าสูงเหนือหัวใจจะทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกสามารถลดอาการบาดเจ็บได้
ยาตามร้านขายยาทั่วไป: ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน สามารถบรรเทาอาการปวดและลดอาการบวมได้
ไม้ค้ำยัน: การค้ำยันสามารถลดความเจ็บปวดระหว่างการเคลื่อนที่ได้
ในกรณีที่อาการรุนแรงหรือการเยียวยาที่บ้านไม่ได้ผลแพทย์อาจแนะนำการรักษาเพิ่มเติม ได้แก่ :
การใส่เฝือก (Immobilization): การใช้เฝือกสามารถป้องกันไม่ให้ข้อเท้าเคลื่อนไหว ช่วยลดการขยับของข้อต่อ และลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บซ้ำ
กายภาพบำบัด: กายภาพบำบัดสามารถช่วยรักษาเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ และเนื้อเยื่ออ่อนรอบ ๆ ที่อาจได้รับบาดเจ็บ การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายสามารถช่วยได้ รวมถึงการกายภาพบำบัด
การออกกำลังกาย: แพทย์จะแนะนำการออกกำลังกายที่บ้านหรือการยืดกล้ามเนื้อ เช่น การงอข้อเท้า การยกปลายเท้าหรือการยกส้นเท้า หลังจากหายดีแล้ว
การผ่าตัด: ส่วนใหญ่อาการปวดข้อเท้าไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด แต่หากเกิดความเสียหายกับเอ็นมากกว่า 1 เส้นอาจต้องผ่าตัดรวมทั้งในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง และผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยข้ออักเสบ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็น
สรุปภาพรวมอาการปวดข้อเท้า
อาการปวดข้อเท้า หรือเท้าพลิกเ็นเรื่องปกติแลไม่รุนแรงแม้ว่าอาจจะทำให้เจ็บปวดได้ สิ่งสำคัญคือการรักษาอย่างเข้มงวด และการพักการใช้งานข้อเท้า
หากมีอาการปวดข้อเท้าควรรับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นเพียงอาการปวดข้อเท้าธรรมดา ไม่ใช่โรคร้ายแรงอย่างอื่น เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
แหล่งที่มาของบทความนี้
- https://www.healthline.com/health/ankle-pain
- https://www.webmd.com/pain-management/ss/slideshow-ankle-problems-pain
- https://www.nhs.uk/conditions/foot-pain/ankle-pain/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก