โรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อไส้ติ่งบวมขึ้น มีการติดเชื้อและมีหนองเกิดขึ้น ไส้ติ่งเป็นถุงขนาดเล็กอยู่ที่ด้านขวาของท้องซึ่งอยู่ติดกับลำไส้ใหญ่
ไส้ติ่งมีหน้าที่ที่ไม่ชัดเจน บางครั้งไส้ติ่งอาจจะเป็นบริเวณที่เหมาะสำหรับการเป็นโฮสต์ของเชื้อแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหารเเละต่อสู้กับการติดเชื้อ
นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้
บางครั้งอาการไส้ติ่งอักเสบอาจเกิดจากการติดเชื้อของกระเพาะอาหารที่เคลื่อนตัวไปยังไส้ติ่งหรือมีของเเข็งอยู่ในอุจจาระที่เข้าไปติดในไส้ติ่งเเละทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น
โรตไส้ติ่งอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยปกติส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงวัยรุ่นไปจนถึงผู้ใหญ่ที่มีช่วงอายุ 30 ปีซึ่งเกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป
สัญญาณและอาการไส้ติ่งอักเสบ
อาการที่เป็นสัญญาณเเรกของโรคไส้ติ่งอักเสบคือมีอาการเจ็บปวดที่บริเวณทั่วท้องบ่อยๆ
เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในไส้ติ่งจะสามารถระบุตำแหน่งที่มีอาการปวดท้องได้ที่บริเวณท้องล่างด้านขวาเรียกว่าบริเวณ McBurney’s point
โดยปกติมักมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้แก่
- มีอาการปวดท้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเเละรุนเเรงขึ้น
- มีอาการเจ็บปวดเมื่อไอหรือจาม
- มีอาการคลื่นไส้
- มีอาการอาเจียน
- เกิดอาการท้องเสีย
- ไม่สามารถผายลมได้
- มีไข้
- มีอาการท้องผูก
- ไม่มีความอยากอาหาร
ผู้ใดก็ตามที่เคยมีอาการปวดท้องรุนเเรงขึ้นเรื่อยๆควรไปพบเเพทย์ให้เร็วที่สุด สำหรับอาการอื่นๆที่อาจคล้ายกับโรคนี้ได้แก่การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะซึ่งโรคนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน
การผ่าตัดไส้ติ่ง
ถ้าหากการติดเชื้อไม่รุนเเรงแพทย์สามารถรักษายาปฏิชีวนะรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบได้แต่กรณีดังกล่าวนี้พบได้น้อยมาก
ในกรณีส่วนใหญ่ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำไส้ติ่งที่เกิดการอักเสบออกผ่านการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือสอดลงไปในรูเล็กๆ ที่เจาะไว้บนผิวหนังหรือการผ่าตัดศัลยกรรมช่องท้องด้วยวิธีการส่องกล้อง
การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง
การผ่าตัดเพื่อนำไส้ติ่งออกเรียกว่าการผ่าตัดไส้ติ่ง
การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องและเจาะรูเล็กๆบนผิวหนังหรือผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กมีขั้นตอนการผ่าตัดดังต่อไปนี้
- ศัลยแพทย์จะทำการสอดหลอดที่มีขนาดเล็กมากหรือกล้องผ่าตัดขนาดเล็กเข้าไปในช่องท้องผ่านเครื่องมือที่เป็นท่อพลาสติกขนาดเล็กที่เรียกว่า cannula
- ศัลยแพทย์สามารถตรวจสอบภายในช่องท้องได้ผ่าการส่องกล้องที่แสดงภาพออกทางจอแสดงผล
- เครื่องมือขนาดเล็กนี้ทำงานตามการเคลื่อนไหวของมือเเพทย์และไส้ติ่งและจากนั้นไส้ติ่งจะถูกผ่าตัดออกด้วยกล้องผ่าตัดนี้
วิธีการผ่าตัดประเภทนี้เป็นการผ่าตัดที่มีเเผลขนาดเล็กและทำให้สูญเสียเลือดน้อยดังนั้นผลลัพธ์จากการผ่าตัดประเภทนี้จึงส่งผลดีช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด นอกจากนี้การผ่าตัดแบบส่องกล้องยังทำให้เกิดแผลที่มีขนาดเล็กมาก
การผ่าตัดแบบเปิด
ในการผ่าตัดไส้ติ่งบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดขนาดใหญ่เพื่อทำความสะอาดภายในช่องท้องให้สะอาด
การผ่าตัดเเบบเปิดทำเมื่อ
- ไส้ติ่งเเตกออกเเละการติดเชื้อเกิดการแพร่กระจาย
- ไส้ติ่งทำให้เกิดฝี
- ผู้ป่วยมีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร
- ผู้ป่วยเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 3 เดือน
- ผู้ป่วยเป็นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องหลายครั้งมาก่อน
หลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือด
การชะลอการผ่าตัด
ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการไส้ติ่งอักเสบผ่านมาอย่างน้อย 5 วัน แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อทำให้ไส้ติ่งหดเล็กลงและทำความสะอาดบริเวณรอบๆที่เกิดการติดเชื้อและแพทย์จะทำการผ่าตัดนำไส้ติ่งออกภายหลัง
ถ้าหากมีฝีเกิดขึ้นแพทย์จะทำการระบายน้ำออกจากฝีก่อนเเล้วค่อยทำการผ่าตัดภายหลัง
การใช้ยาปฏิชีวนะ
นักวิทยาศาสตร์บางรายเชื่อว่าการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบชนิดเฉียบพลัน
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆไม่เห็นด้วยกับการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ มีงานวิจัยของ Lancet ได้โต้เเย้งว่าการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบเป็นวิธีรักษาที่ใช้ได้ผลมากที่สุด
การป้องกันไส้ติ่ง
ในประเทศที่พบประชากรเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบน้อยมักเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ทานอาหารที่มีไฟเบอร์ปริมาณมาก
การทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงช่วยลดโอกาสเกิดไส้ติ่งอักเสบด้วยการทำให้อุจจาระอ่อนลงจนไม่มีโอกาสที่อุจจาระจะเข้าไปติดค้างในไส้ติ่งได้
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้เกิดจากโรคไส้ติ่งอักเสบ
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
ถ้าหากไส้ติ่งแตกออกและมีการติดเชื้อเกิดขึ้นภายในช่องท้อง ผู้ป่วยอาจมีอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ซึ่งอาการนี้เป็นการติดเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อบุช่องท้อง โดยเยื่อบุช่องท้องเป็นผนังของช่องท้องที่ทำหน้าที่ป้องกันและคลุมอวัยวะภายในช่องท้อง
เยื่อบุช่องท้องอักเสบสามารถทำให้ลำไส้ใหญ่ไม่ทำงานได้และทำให้เกิดการขับถ่ายอุดตันจากนั้นผู้ป่วยจะเกิดอาการมีไข้ที่รุนเเรงจนทำให้หมดสติได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
การเกิดฝี
ถ้าหากการติดเชื้อมีหนองไหลซึมออกจากไส้ติ่งและผสมผสานกับของเหลวในลำไส้เล็กจะทำให้มีฝีเกิดขึ้น บางครั้งสามารถรักษาฝีด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะแต่โดยส่วนใหญ่แพทย์มักทำการระบายของเหลวออกด้วยหลอดพลาสติกที่ใช้สอดเข้าไปในช่องท้อง
ภาวะเเทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคไส้ติ่งอักเสบเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้เร็วที่สุด
บทสรุปเกี่ยวกับโรคไส้ติ่งอักเสบ
- อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบได้แก่มีอาการเจ็บปวดที่ไส้ติ่งมากขึ้นเรื่อยๆและมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
- การผ่าตัดนำไส้ติ่งที่อักเสบออกเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด
- ในแต่ละปีมีประชากรมากกว่าหนึ่งใน 4 ของประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่ง
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/appendicitis/symptoms-causes/syc-20369543
- https://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-appendicitis#1
- https://www.nhs.uk/conditions/appendicitis/
- https://www.medicinenet.com/appendicitis/article.htm
- https://kidshealth.org/en/parents/appendicitis.html
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก