โรคท้องมาน (Ascites) : คืออาการที่มีของเหลวคั่งในช่องท้อง
ของเหลวคั่งในช่องท้องทำให้เกิดอาการบวม ซึ่งเกิดได้ในระยะเวลาสองถึงสามสัปดาห์ แต่ก็สามารถเกิดอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่วันได้เช่นกัน
โรคท้องมานสร้างความไม่สบายตัวมาก ทำให้คลื่นไส้ เหนื่อย หายใจไม่ออก และรู้สึกแน่นอึดอัดท้อง
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดคือ โรคตับ สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง หรือ หัวใจล้มเหลว
บทความนี้ กล่าวถึงสาเหตุของท้องมาน อาการ และหนทางรักษา
อาการท้องมานคืออะไร
ท้องมานเกิดเมื่อมีของเหลวคั่งในช่องท้อง อยู่ระหว่างเยื่อบุช่องท้องซึ่งมีสองชั้นและห่อหุ้มอวัยวะภายในไว้ โดยปกติแล้วบริเวณนี้มีของเหลวเล็กน้อย ทำให้ท้องบวม และมีอาการท้องโตผิดปกติ
สาเหตุของท้องมาน
โรคที่เป็นอยู่เดิมอาจเป็นสาเหตุทีทำให้เกิดท้องมาน เช่น วัณโรค โรคไต โรคตับอ่อนอักเสบ ภาวะขาดไทรอยด์ แต่สาเหตุหลักที่พบคือ หัวใจล้มเหลว ตับแข็ง มะเร็ง
อาการท้องมานอาจเกิดขึ้นหากมะเร็งลุกลามไปที่
- เยื่อบุช่องท้อง
- ตับ
- ระบบน้ำเหลือง
- รังไข่
- หน้าอก
- ลำไส้
- กระเพาะ
- ตับอ่อน
- ปอด
- มดลูก
อาการท้องมาน
ท้องมานจะมีอาการปวดมากและผู้ป่วยจะรู้สึกดังนี้
- คลื่นไส้
- รู้สึกหิวน้อยกว่าปกติ ไม่อยากอาหาร
- เหนื่อยง่าย
- หายใจลำบาก
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่และ ท้องผูก
- ของเหลวที่คั่งทำให้เกิดความกดดัน ที่อวัยวะภายในอื่นๆ และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว อาจมีอาการบวม ปวดท้องและปวดหลัง ทำให้นั่งและเคลื่อนไหวลำบาก
การรักษาและการดูแล
หากตับแข็งทำให้เกิดอาการท้องมาน ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นหากลดอากหารเค็ม และใช้ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะได้บ่อยขึ้น และป้องกันอาการน้ำคั่ง
ยาขับปัสสาวะอาจไม่ได้ผลเมื่อใช้กับอาการท้องมานบางประเภท
ในกรณีรุนแรง การเปลี่ยนถ่ายตับอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ส่วนการรักษาอื่นๆ เช่น
เจาะท้อง
หากมีอาการดื้อยาหรือของเหลวคั่งมาก ต้องรักษาโดยการเจาะท้อง ในการเจาะท้องแพทย์จะสอดเข็มเข้าไปในช่องท้องและของเหลวจะไหลออกมาได้
เป้าหมายของการเจาะท้องคือทำให้ความดันในช่องท้องลดลง เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น ในบางกรณีของเหลวในช่องท้องผู้ป่วยอาจมีมากถึง 5 หรือ 10 ลิตร
ท่อระบาย
หากอาการท้องมานเกิดจากมะเร็ง แพทย์อาจต่อท่อเพื่อระบายของเหลวจากช่องท้องเข้าสู่กระแสเลือด
แพทย์จะสอดเข็มไปในเส้นเลือดดำที่คอและให้สายอยู่ที่ผนังหน้าอก สายนี้เชื่อมจากช่องท้องเข้าไปในเส้นเลือดดำที่คอ ของเหลวจะไหลตามท่อไปสู่กระแสเลือด
เคมีบำบัด
เคมีบำบัดช่วยควบคุมหรือทำให้ก้อนมะเร็งเล็กลง สามารถทำเคมีบำบัดโดยผ่านท่อที่วางไว้ในช่องท้อง ช่วยให้ของเหลวคั่งน้อยลงได้ในบางครั้ง แต่ไม่มีหลักฐานว่าการรักษาวิธีนี้ได้ผลดี
ข้อควรรู้
- ท้องมานเป็นอาการของโรคแฝงอื่นๆ
- การบวมในช่องท้อง และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เป็นอาการที่พบได้บ่อยในท้องมาน
- การพยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับโรคที่แฝงอยู่นั้น
- ตรวจสอบอาการได้โดย การวัดเส้นรอบวงท้องและ สังเกตจากน้ำหนัก
สรุป
การพยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นอยู่เดิม แม้สามารถควบคุมและลดอาการได้ แต่ต้องรักษาที่สาเหตุเพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดี
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล สำหรับผู้ที่มีอาการท้องมานที่เกิดจากตับแข็งซึ่งดื้อยาขับปัสสาวะ
การเจาะท้องและสอดท่อโดยที่ไม่มีการเปลี่ยนถ่ายตับอาจช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นแต่ไม่ได้ช่วยให้อายุยืนยาวขึ้นในระยะยาว
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/ascites
- https://www.webmd.com/digestive-disorders/ascites-medref
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/14792-ascites
- https://medlineplus.gov/ency/article/000286.htm
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก