สายตาเอียง (Astigmatism) คือคำที่ใช้เรียกรูปร่างที่ผิดปกติของพื้นผิวบริเวณกระจกตา
ความโค้งผิดรูปของกระจกตานี้หมายถึงการที่มีแสงมาตกกระทบที่ตา แล้วแสงไม่ตกกระทบลงจุดรวมแสงที่จอประสาทตา เป็นผลทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
กระจกตาที่ไม่มีภาวะของสายตาเอียงจะมีรูปร่างกลมสมบรูณ์แบบเหมือนพื้นผิวของลูกตา
ในกรณีกระจกตาที่มีภาวะสายตาเอียงร่วมด้วย พื้นผิวของตาจะมีลักษณะเหมือนกับลูกฟุตบอล
แสงจะไปตกกระทบทั้ง 2 ส่วนในด้านหลังของลูกตาเป็นผลทำให้มองเห็นภาพเบลอ
ภาวะสายตาเอียงก็อาจจะมีสาเหตุมาจากความโค้งผิดรูปของเลนส์ตาซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของกระจกตา
อาการสายตาเอียง
อาการและอาการแสดงที่พบได้บ่อยของภาวะสายตาเอียง มีดังนี้ :
- มองเห็นภาพเบลอหรือภาพบิดเบี้ยวในทุกระยะที่มองเห็น
- มีอาการปวดหัว
- ต้องหรี่ตาอย่างมากเพื่อให้มองเห็นชัดขึ้น
- ปวดตาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องใช้สายตาจ้องเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การอ่านจากกระดาษหนังสือหรือจอคอมพิวเตอร์
- มีปัญหาในการขับรถตอนกลางคืน
ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ก็อาจจะไม่มีภาวะของสายตาเอียงก็ได้ แต่ทางที่ดีก็ควรจะไปวัดค่าสายตาเพื่อตรวจสอบ
สาเหตุภาวะสายตาเอียง
ภาวะสายตาเอียงเกิดจากความโค้งที่ผิดรูปของกระจกตาหรือเลนส์ตา หรืออาจเกิดความผิดปกติในทั้งสองส่วนก็ได้
กระจกตาเป็นชั้นโปร่งใสที่คลุมบริเวณด้านตาของลูกตา โดยมีหน้าที่หักเหและปรับโฟกัสแสงไปยังบริเวณด้านหลังของลูกตาในขณะเดียวกันยังป้องกันไม่ให้ดวงตาเกิดการติดเชื้อและเกิดความผิดปกติได้
สายตาเอียงเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาพร่ามัวได้
กระจกตาที่มีความโค้งตามปกติสามารถเบี่ยงและหักเหแสงที่เข้ามาสู่ดวงตาได้ตามปกติ
ในผู้ที่มีสายตาเอียง กระจกตามักจะเป็นรูปไข่ซึ่งมีเส้นโค้งที่ไม่เท่ากันแทนที่จะเป็นรูปร่างกลม ในบางครั้งจึงเรียกภาวะนี้ว่าสายตาเอียงที่เกิดจากกระจกตาโค้งไม่เท่ากัน
เนื่องจากเส้นโค้ง ที่ไม่เท่ากันนี้จึงทำให้แสงตกกระทบทั้ง 2 จุดบนจอประสาทตาแทนที่จะเป็นแค่จุดเดียว สิ่งนี้จึงเป็นสาเหตุทำให้มองเห็นภาพพร่ามัวและในบางครั้งหากมีอาการรุนแรงอาจจะเห็นเป็นภาพซ้อนได้
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเหตุใดบางคนเกิดมาพร้อมกับกระจกตาที่มีความโค้งผิดรูปซึ่งอาจจะมีส่วนมาจากพันธุกรรมก็ได้
ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีภาวะสายตาเอียงเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับทารกที่คลอดภายในกำหนด
การผ่าตัดบางประเภทหรือการบาดเจ็บที่ดวงตาก็เป็นสาเหตุทำให้กระจกตาเกิดแผลซึ่งอาจทำให้สายตาเอียงได้
โรคกระจกตาย้วยเป็นความผิดปกติจากความเสื่อมสภาพของลูกตาซึ่งเกิดจากการที่กระจกตาค่อยๆบางลงและเปลี่ยนแปลงเป็นรูปกรวยมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าสายตาแบบไม่เป็นระเบียบ
การรักษาสายตาเอียง
หากมีภาวะสายตาเอียงที่ไม่รุนแรงมาก แพทย์มักจะไม่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีใดๆ
การแก้ไขสายตาให้เป็นปกติโดยการผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ก็อาจจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย
การแก้ไขเลนส์สายตาในผู้ที่สายตาเอียง
การแก้ไขเสนส์สายตาโดยการเบี่ยงเบนแสงที่เข้ามาเพื่อชดเชยความผิดปกติที่เกิดจากการหักเหแสง ในกรณีนี้จะทำให้ภาพที่ได้ตกในตำแหน่งที่ถูกต้องบนจอประสาทตา
การใช้แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาว รวมไปถึงกำลังของสายตาที่เป็น sphere power เพื่อแก้ไขการมองเห็นในกลับมาเป็นปกติ
เลนส์สายตาสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง ควรเป็นดังนี้ :
- ใช้เลนส์ค่าสายตาเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาว
- ใช้เลนส์ cylinder เพื่อแก้ไขปัญหาสายตาเอียง
- องศาเอียงของเลนส์เอียงใช้อธิบายตำแหน่งของการแก้ไขโดยใช้เลนส์ cylinder
การใช้แว่นสายตาอาจจะเหมาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์ควรหมั่นรักษาความสะอาดของเลนส์เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อบริเวณดวงตา
การรักษาโดยใส่เลนส์จัดตา หรือ การรักษาโดยการหักเหของกระจกตา
การใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งซึ่งมีคุณสมบัติทำให้กระจกตาของผู้ใส่มีการเปลี่ยนรูปภายในเวลาชั่วข้ามคืน โดยจะไม่ได้เป็นการแก้ไขการมองเห็นแบบถาวร แต่จะทำให้การมองเห็นดีขึ้นตลอดวันหลังจากที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษนี้
นอกจากนี้ก็ยังมีแว่นตาหลากหลายแบบให้เลือก
การผ่าตัดสายตาเอียง
การผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ที่มีสายตาเอียงแต่ก็อาจจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้
ในผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียงบางรายสามารถรักษาโดยการผ่าตัดตาด้วยเลเซอร์ที่หรือรู้จักกันทั่วไปเรียกว่าการทำเลสิค
การทำเลสิค : จักษุแพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า keratome (เครื่องฝานกระจกตา) โดยทำให้โคนฝากระจกตา (hinge) ที่มีรูปร่างกลมให้บางลง
จักษุแพทย์จะทำการยกแผ่นกระจกตาที่ทำการแยกชั้นออกมาแล้วนั้นขึ้นเผยให้เห็นเนื้อกระจกตาจากนั้นจะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ในการปรับแต่งผิวกระจกตา
การทำเลสิคจะเจ็บน้อยกว่าการทำหัตถการด้วยวิธีอื่นๆซึ่งผู้ป่วยจะสามารถกลับมามองเห็นได้ตามปกติภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ทำเลสิคเสร็จ
การรักษาด้วยเลเซอร์อื่นๆ มีดังนี้ :
การรักษาสายตาสั้นด้วยการใช้แสงเลเซอร์ (PRK): การรักษาด้วยวิธีนี้จะเอาชั้นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมบริเวณกระจกตาบางส่วนออก จากนั้นจะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ในการปรับแต่งผิวกระจกตาซึ่งจะมีส่วนของเนื้อเยื่อบางส่วนที่ถูกกำจัดออกไปด้วย
เมื่อกระจกเกิดการสมานแผลแล้วมักจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งทรงกลมมากขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดในระดับปานกลางหรือรุนแรงมากยิ่งขึ้น
การทำเลสิค : จักษุแพทย์จะใช้แสงเลเซอร์ทำให้ชั้นของกระจกตาบางลงเพื่อทำการปรับแต่งพื้นผิวกระจกตา เนื้อเยื่อบริเวณกระจกตาที่ถูกทำให้บางลงก็จะถูกแทนที่
การทำให้ชั้นของกระจกตาที่บางมากเกินไปก็ทำให้เกิดผลที่ตามมาได้ โดยการทำเลสิคจะทำให้ดวงตาบาดเจ็บหรือเสียหายน้อยเมื่อเทียบกับการทำ PRK ในบางครั้งจักษุแพทย์จะไม่เลือกทำเลสิคในผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง แต่อย่างไรก็ตามการทำ PRK ก็มักจะทำให้เจ็บปวดมากกว่าการรักษาโดยการทำเลสิค
ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดโดยใช้เลเซอร์
การผ่าตัดตาโดยใช้เลเซอร์ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี
- ผู้ที่มีภาวะการมองเห็นที่ยังคงเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่างเช่น ในผู้สูงอายุจะมีการมองเห็นที่คงที่ได้ต้องใช้เวลาอย่างหนึ่งปีหลังจากผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย การผ่าตัดอาจจะให้เกิดผลความผิดปกติที่ดวงตาแย่ลงได้จากภาวะของโรคเบาหวาน
- ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรเนื่องจากภาวะของฮอร์โมนที่ไม่คงที่อาจทำให้ผลการรักษาไม่มีประสิทธิภาพ
- ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง หรือโรคเอดส์ เนื่องจากอาจจะมีปัญหาในการฟื้นตัวหลังจากผ่าตัด
- ผู้ที่มีปัญหาอื่นๆ เกี่ยวดวงตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ซึ่งจะต้องทำการรักษาก่อนที่จะทำการผ่าตัด
- ผู้ที่กำลังใช้ยาบางชนิด เช่น ยา Accutane หรือยารับประทาน prednisone
บทสรุปเกี่ยวกับภาวะสายตาเอียง
นี่คือประเด็นสำคัญบางประการเกี่ยวกับสายตาเอียง ในส่วนของข้อมูลเพิ่มเติมจะอยู่ในบทความหลัก
- สายตาเอียงเป็นภาวะของสายตาผิดปกติชนิดหนึ่ง
- เป็นภาวะที่พบได้บ่อย
- สาเหตุเกิดจากความโค้งของกระจกตาหรือเลนส์ตาที่ผิดปกติ
- การผ่าตัดด้วยเลเซอร์สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาสายตาเอียงได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/astigmatism
- https://www.webmd.com/eye-health/astigmatism-eyes
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/astigmatism/symptoms-causes/syc-20353835
- https://www.nei.nih.gov/learn-about-eye-health/eye-conditions-and-diseases/astigmatism
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก