อาการออทิสซึ่มหรือโรคออทิสติกทำให้ผู้ (Autism) ป่วยแสดงพฤติกรรมการกระทำซ้ำๆและส่วนใหญ่มักมีปัญหากับการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
อาการ (Autism) คืออะไร
โรคออทิสติก (ASD) เป็นคำจำกัดโดยกว้างของโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการและระบบประสาท
โรคออทิสติก (ASD) ที่เกิดขึ้นมีหลายประเภทโดยอาการส่วนใหญ่ของโรคนี้ที่ปรากฎได้แก่ความบกพร่องในการเข้าสังคมและการทำพฤติกรรมซ้ำไปซ้ำมา
เด็กออทิสติกบางคนอาจมีอาการของโรคเเสดงให้เห็นตั้งแต่เกิด ในขณะที่คนอื่นอาจมีการพัฒนาของโรคและแสดงให้เห็นชัดเจนขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น โรคออทิสซึ่มมีความเชื่อมโยงกับอาการทางการแพทย์เช่นอาการลมชักและโรคทางพันธุกรรม ข้อมูลจากสถาบันความผิดปกติของพัฒนาการระบบประสาทและโรคหลอดเลือดในสมอง (NINDS) แห่งชาติประเมินว่า 20-30% ของผู้ป่วยโรคออทิสติกมีอาการลมชักร่วมด้วยในวัยเด็ก
ลักษณะและอาการ
โรคออทิสติก (ASD) ส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมในสังคมและเกิดความบกพร่องในการสื่อสาร ผู้ป่วยโรคออทิสติกมักมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
- มีการพูดในลักษณะที่ผิดปกติเช่นการพูดเสียงเหมือนหุ่นยนต์
- หลีกเลี่ยงการสบตาผู้คน
- พูดเสียงอ้อแอ้หรือส่งเสียงร้องเหมือนเด็กแรกเกิด
- ไม่ตอบสนองเมื่อมีคนเรียกชื่อ
- มีพัฒนาด้านทักษะการพูดช้า
- ควบคุมการพูดคุยกับคนอื่นได้ลำบาก
- พูดประโยคที่ซ้ำไปซ้ำมาบ่อยๆ
- เข้าใจความรู้สึกของตนเองได้ยากเเละไม่สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
รวมถึงมีความบกพร่องทางการสื่อสาร ผู้ป่วยที่เป็นโรคออทิสติกมักแสดงพฤติกรรมการกระทำที่ซ้ำไปมาหรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่ปกติ
พฤติกรรมที่ผิดปกติได้แก่
- มีความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไปและชอบซื้อของสะสมไว้เช่นรถ รถไฟ หรือตารางเวลา เครื่องบิน
- หมกมุ่นกับการครอบครองสิ่งของเช่นของเล่นหรืออุปกรณ์ในบ้าน
- มีการเคลื่อนไหวร่างกายแบบซ้ำๆเช่นการโยกตัวด้านข้างๆไปมา
- มีการจัดระเบียบสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ผู้ป่วยโรคออทิสติกมักมีมีความบกพร่องด้านความสมดุลและการเคลื่อนไหว
สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุของโรคออทิสติกได้แต่มีการวิจัยและการศึกษาเพื่อเรียนรู้ว่าโรคนี้พัฒนาขึ้นได้อย่างไร
นักวิจัยหลายท่านได้ระบุว่ามียีนหลายตัวที่มีลักษณะเชื่อมโยงกับโรคออทิสติก (ASD) บางครั้งยีนส์เหล่านี้เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติหรือในบางกรณีเป็นการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่ได้รับมาจากพันธุกรรม ในการวิจัยเกี่ยวกับฝาแฝดพบว่าโรคออทิสติกมีความสัมพันธ์ระหว่างฝาแฝดมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าฝาแฝดคนใดคนหนึ่งเป็นโรคออทิสซึ่ม คู่แฝดมีโอกาสเป็นโรคนี้ประมาณ 36-95 % ข้อมูลจากสถาบันความผิดปกติของพัฒนาการระบบประสาทและโรคหลอดเลือดในสมอง (NINDS)
ผู้ป่วยโรคออทิสติกมักประสบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของบริเวณส่วนที่สำคัญในสมองที่ส่งผลต่อการพูดและพฤติกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิสติกด้วยเช่นกันเเต่แพทย์ยังไม่ได้ยืนยันความเชื่อมโยงนี้
การรักษา
ปัจจุับนยังไม่มีรูปแบบการรักษาโรคออทิสติกโดยเฉพาะเนื่องจากผู้ป่วยเเต่ละคนมีอาการที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน
การรักษามีไว้สำหรับการจัดการกับปัญหาสุขภาพที่มันเกิดร่วมกับโรคออทิสซึ่มอาการเหล่านี้ได้แก่อาการลมชัก ซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) และความผิดปกติด้านการนอน
การรักษาทางเลือก
การรักษาทางเลือกที่มีประโยชน์ได้แก่
การวิเคราะห์เเละการปรับพฤติกรรม (ABA) การรักษานี้ครูผู้สอนจะเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเฉพาะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยออทิสติกเป็นอันดับแรก
นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากสิ่งแวดล้องของผู้ป่วยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและวิธีการเรียนรู้ของผู้ป่วยออทิสติก การวิเคราะห์เเละการปรับพฤติกรรม (ABA) มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมแสดงออกของพฤติกรรมที่น่าพึงพอใจและลดอันตรายหรือความโดดเดียวด้วยวิธีการส่งเสริมเชิงบวก
การวิเคราะห์เเละการปรับพฤติกรรม (ABA) สามารถช่วยพัฒนาการสื่อสาร ความจำ ความสามารถในการจดจ่อและผลสัมฤทธ์ทางการเรียนรู้ได้ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ป่วยปัจจุบันและสอนพฤติกรรมใหม่ทีละขั้นตอน ครูผู้สอนสามารถสอนพฤติกรรมเหล่านี้ให้ผู้ป่วยออทิสติกและคนรอบข้างพวกเขาได้เพื่อเป็นการสนับสนุนและเรียนรู้ไปด้วยกัน
การฝึกเด็กพิเศษที่มีอาการออทิสซึ่ม (Early Start Denver Model: ESDM) การรักษาด้วยการบำบัดพฤติกรรมประเภทนี้เกิดขึ้นในช่วงของการเล่นและเป็นการช่วยรักษาเด็กพิเศษช่วงอายุ 1 ถึง 4 ขวบ
นักจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมหรือนักกายภาพบำบัดวิชาชีพใช้วิธีการทำกิจกรรมร่วมกันและการเล่นมาช่วยรักษาเด็กออทิสติกเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกด้วยความสนุกสนาน พ่อเเม่เเละผู้ดูแลสามารถนำวิธีนี้ไปปฏิบัติต่อเนื่องที่บ้านได้
การฝึกเด็กพิเศษที่มีอาการออทิสซึ่มช่วยส่งเสริมทักษะการสื่อสารเเละความสามารถในการจดจำได้
เทคนิคกระตุ้นพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กพิเศษหรือเรียกที่รู้จักกันในชื่อ Floortime วิธีการนี้คือการมีส่วนร่วมของพ่อเเม่ในการเล่นเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การรักษาด้วยการวิเคราะห์เเละการปรับพฤติกรรม (ABA) สามารถนำวิธีกระตุ้นพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม (Floortime) ไปใช้สนับสนุนการรักษาได้ด้วยเช่นกัน โดยพ่อเเม่ปล่อยให้ลูกเป็นผู้นำเกมส์ทำให้ความกล้าหาญของเด็กพัฒนาขึ้น
การบำบัดรักษาเด็กออทิสติกอายุน้อยด้วยโปรแกรม TEACCH โปรแกรมการรักษานี้ช่วยผสมผสานความต้องการของเด็กออทิสติกเข้ากับสภาพแวดล้อมในห้องเรียน โดยเน้นที่การเรียนรู้จากการมองเห็นและการช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาด้านการสื่อสาร การมีสมาธิจดจ่อ
การศึกษาพิเศษและนักสังคมสงเคราะห์รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ที่ให้การรักษารูปแบบอื่นๆเช่นนักจิตวิทยาและผู้บำบัดการพูดสามารถนำเทคนิคและวิธีการรักษาไปใช้ช่วยเด็กออทิสติกได้ด้วยเช่นกัน
การบำบัดพฤติกรรมทางวาจา (VBT) วิธีนี้ช่วยให้เด็กออทิสติกสามารถเชื่อมโยงความหมายของคำเเละภาษาเข้าด้วยกันได้ ผู้ฝึกสอนจะไม่มุ่งเน้นที่ความหมายของคำแต่จะมุ่งเน้นที่เหตุผลของการใช้คำพูดนั้นๆที่สื่อสารออกมา
ยารักษา
การจัดยาให้กับเด็กออทิสติกหรือผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสติกแพทย์มักจะสั่งยาป้องกันอาการลมชัก อาการซึมเศร้าหรืออาการนอนหลับยากให้
การรักษาด้วยยาอาจใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผลกับผู้ป่วยออทิสติกทุกคนควรพิจารณาตามแต่ละกรณี
คลิกที่นี่สำหรับรับความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์ที่สามารถช่วยเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/facts.html
- https://www.nimh.nih.gov/health/topics/autism-spectrum-disorders-asd/index.shtml
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/autism-spectrum-disorder/symptoms-causes/syc-20352928
- https://www.healthline.com/health/autism
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก