แผลกดทับ (Bedsores) เกิดกับคนที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเช่นผู้ที่เป็นอัมพาต ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ
แผลกดทับ bed sore แผลกดทับ คือ การได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออันเกิดจากแรงกดทับที่ผิวหนังเป็นเวลานาน
อาการของแผลกดทับ
แผลกดทับสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เนื่องจากเป็นอาการของโรคอัมพาต เจ็บป่วยหรือเป็นผู้สูงอายุ
ผู้ป่วยที่ใช้รถเข็นสำหรับผู้ป่วยเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นแผลกดทับได้ง่ายกว่าคนอื่นๆทั่วไป โดยแผลกดทับสามารถเกิดขึ้นได้ที่บริเวณดังต่อไปนี้
- สะโพกและกระดูกก้นกบ
- กระดูกสันหลัง
- หัวไหล่
- ด้านหลังของแขนหรือขาทั้งสองข้าง
ผู้ป่วยติดเตียงเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นแผลกดทับได้มากที่สุดโดยมักเกิดแผลกดทับบริเวณที่เป็นกระดูกเช่นข้อเท้า ส้นเท้า หัวไหล่ กระดูกก้นกบ ข้อศอกและท้ายทอย
สาเหตุของการเกิดแผลกดทับ
ผู้ที่อยู่ในท่าเดิมนานๆและไม่สามารถเปลี่ยนท่าของตอนเองได้เองมีความเสี่ยงเป็นแผลกดทับสูง โดยแผลกดทับจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรักษาได้ยาก
แผลที่เกิดจากการกดทับสามารถผ่าตัดนำบริเวณที่เนื้อเยื่อเสียหายออกได้โดยไม่ต้องเติมเลือดระหว่างการผ่าตัดเพราะเนื้อเยื่อเหล่านี้เป็นเนื้อเยื่อที่ตายเเล้ว
แรงกดดันอย่างต่อเนื่องหมายถึง ถ้าหากเกิดแรงกดดันบนผิวด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกหรือผิวหนังและเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนังที่ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงตรงบริเวณอวัยวะส่วนนั้นไม่เพียงพอ
แรงเสียดทาน ผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีรูปร่างผอมบาง ผิวหนังอ่อนเเอและมีระบบหมุนเวียนเลือดไม่ดีเหมือนเคลื่อนไหวร่างกายอาจทำให้ผิวเสียหายได้ง่ายเเละมีความเสี่ยงเป็นแผลกดทับได้สูง
เนื้อเยื่อที่ถูกตัดออกไปหมายถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่ถูกนำออกไปซึ่งเนื้อเยื่อนี้ทำงานเกี่ยวกับการเครื่อนไหวของกระดูกจึงทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณนั้นกว่ามากขึ้นซึ่งสามารถทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นมากขึ้นหรือแตกได้
อาการนี้สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหรือนั่งติดเก้าอี้หรือผู้ป่วยอัมพาตที่ท่อนล่าง
เนื้อเยื่อที่ได้รับการบาดเจ็บสามารถเกิดการติดเชื้อได้ซึ่งการติดเชื้อนี้สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกายจนทำให้เกิดโรคร้ายเเรงได้
การรักษาแผลกดทับ
หากมีอาการเป็นแผลกดทับแบบเปิดแผลนี้สามารถหายไปเองได้ แม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษา ในทางกลับกันแผลกดทับนี้ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆเช่นกัน
แผลกดทับที่มีลักษณะรุนเเรงต่างกันมักได้รับการรักษาที่แตกต่างกันภายในไม่กี่สัปดาห์และการรักษาที่เหมาะสม แต่ถ้าเกิดแผลกดทับที่ร้ายเเรงมากอาจจะต้องใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด
ขั้นตอนการรักษาแผลกดทับมีดังต่อไปนี้
- ลดเเรงกดดันที่แผลด้วยการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือใช้แผ่นโฟมหรือหมอนเพื่อยกอวัยวะที่ถูกกดทับอยู่ให้มีช่องว่างเกิดขึ้นระหว่างพื้นผิว
- ทำความสะอาดแผลกดทับ แผลกดทับที่มีขนาดเล็กสามารถทำความสะอาดได้ด้วยน้ำหรือใช้สบู่อ่อนๆ
- แผลกดทับที่มีลักษณะเปิดทำเป็นต้องใช้น้ำเกลือล้างเเผลทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนผ้าพันแผล
- ควบคุมไม่ให้แผลกดทับเกิดมากขึ้น
- นำเนื้อเยื่อที่ตายออกหมายถึงแผลกดทับที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นอย่างดีจะทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆตายได้ ดังนั้นการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่ตายออกจึงมีความจำเป็น
- การใช้ผ้าพันเเผล วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยรักษาแผลได้อย่างถูกต้อง โดยการใช้ผ้าพันเเผลสามารถป้องกันการติดเชื้อและช่วยสมานแผลได้
- ทานยาปฏิชีวนะแบบทานหรือแบบครีม เพื่อช่วยรักษาอาการติดเชื้อ
สำหรับแผลกดทับในระยะเเรก ผู้คนส่วนใหญ่สามารถรักษาแผลกดทับนี้ได้ที่บ้านแต่ถ้าหากเป็นแผลกดทับชนิดรุนเเรงควรได้รับการทำแผลจากผู้เชี่ยวชาญ
การทำแผลด้วยวิธีสูญญากาศ
การทำแผลด้วยเครื่องช่วยทำแผลสูญญากาศทำได้ด้วยการติดเครื่องดูดเข้าไปที่แผลกดทับ โดยเครื่องดูดนี้จะดูดเอาของเหลวที่อยู่ในแผลกดทับออกมา ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ทำให้แผลหายเร็วขึ้นมากและเป็นการป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ดีอีกด้วย
โดยแผลกดทับจะหายไปภายในเวลา 6 สัปดาห์และมีวิธีการรักษาแบบนี้มีราคาถูกกว่าการผ่าตัดศัลย์กรรมครึ่งหนึ่ง
การผ่าตัด
แผลกดทับบางชนิดอาจเป็นแผลที่อยู่ในชั้นที่ร้ายเเรงดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
การผ่าตัดมีจุดประสงค์เพื่อทำความสะอาดแผล บบระเทาอาการเจ็บปวดหรือป้องกันการติดเชื้อด้วยการทำให้ของเหลวระบายออกมาเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในอนาคต
กล้ามเนื้อ ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆบนร่างกายของผู้ป่วยที่เคยมีแผลกดทับเกิดขึ้นเเละเกิดการติดเชื้อที่กระดูกจะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างอวัยวะบริเวณนั้นๆ
ระยะของแผลกดทับ
แรงกดดับที่ทำให้เกิดแผลกดทับเกิดขึ้นใน 4 ระยะ โดยมีการประเมินแผลกดทับดังนี้
- ผิวหนังมีรอยเเดงเกิดขึ้นเเละรู้สึกอุ่นเมื่อจับและอาจมีอาการคันเกิดขึ้น
- อาจมีความเจ็บปวด มีแผลเปิดออกหรือมีรอยแตกเกิดขึ้นที่แผลซึ่งรอบแผลจะไม่มีสี
- มีแผลที่มีลักษณะเหมือนปล่องภูเขาไฟเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดความเสียหายขึ้นกับเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
- เกิดความเสียหายรุนเเรงกับผิวเเละเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังซึ่งสามารถเกิดการติดเชื้อได้และสามารถมองเห็นกล้ามเนื้อ กระดูกและเอ็นภายในร่างกายได้
แผลกดทับที่เกิดการติดเชื้อต้องใช้เวลานานในการรักษาและการติดเชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้
บทสรุปเกี่ยวกับแผลกดทับ
- โดยปกติแผลกดทับเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
- อาการของแผลกดทับมักส่งผลต่อกระดูกภายในร่างกาย
- อาการเจ็บปวดเริ่มที่ระยะเเรก การตรวจพบแผลกดทับในระยะเเรกเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเเทรกซ้อน
- การเคลื่อนผู้ป่วยเพื่อไม่ให้อยู่ในท่าเดิมเป็นประจำเป็นหลักการป้องกันแผลกดทับได้ดี
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bed-sores/symptoms-causes/syc-20355893
- https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/bedsores
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/pressure-sores-4-stages#1
- https://www.nhs.uk/conditions/pressure-sores
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก