ดนตรีบำบัด คือ
นับตั้งแต่สมัยโบราณดนตรี มีพลังงานแห่งดนตรี ที่หลายคนสามารถรับรู้ได้ แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดอาชีพใหม่ขึ้นมาบนโลก เรียกว่าดนตรีบำบัด ซึ่งมีประโยชน์มากต่อสภาวะทางสุขภาพที่หลากหลาย ประเภท และวิธีการของดนตรีบำบัดจึงมีผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก
สามารถใช้รักษาผู้ป่วยร่วมกับการบำบัดแบบดั้งเดิม เพื่อเสริมจิตวิทยาเชิงบวก และแม้จะเป็นการรักษาด้วยตนเอง ดนตรีบำบัดก็มีประโยชน์อีกมากมาย
6 คุณประโยชน์ของดนตรีบำบัด
- ดนตรีบำบัดช่วยลดความวิตกกังวล และผลกระทบทางกายภาพที่เกิดจากความเครียด
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรค
- ช่วยจัดการโรคพาร์กินสัน และอัลไซเมอร์
- ดนตรีบำบัดช่วยลดภาวะซึมเศร้า และอาการอื่น ๆ ในผู้สูงอายุ
- ลดอาการผิดปกติทางจิต รวมทั้งโรคจิตเภท
- ดนตรีบำบัดช่วยเพิ่มการแสดงออก และการสื่อสาร
เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของดนตรีบำบัด คือ
เป้าหมายของดนตรีบำบัด คือ การตอบสนองเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามความต้องการของแต่ละบุคคล ซึ่งรวมถึง การปรับปรุงการทำงานของกลไกของร่างกาย การเข้าสังคม ภาวะอารมณ์ การทำงานร่วมกันของร่างกาย การแสดงออก และการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
เป้าหมายของดนตรีบำบัดคือ พัฒนาการของ:
- ทักษะในการสื่อสาร (การใช้เสียงพูด/วาจา และท่าทาง)
- ทักษะการเข้าสังคม (สบตา ภาษากาย การทำความรู้จัก และเห็นคุณค่าของตนเอง)
- ทักษะทางประสาทสัมผัส (ผ่านการสัมผัส การฟัง และการรับรู้)
- ทักษะทางกายภาพ (การควบคุม และการเคลื่อนไหวร่างกายแต่ละที่ และโดยรวม)
- ทักษะทางปัญญา (สมาธิและความสนใจ การเลียนแบบ และการจัดลำดับ)
- ทักษะทางอารมณ์
ดนตรีบำบัดมีผลอย่างไร
ดนตรีจะส่งผลต่อความสนใจ อารมณ์ การรับรู้ พฤติกรรม และการสื่อสารของผู้รับฟัง และสามารถช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย และความสุข นอกจากนี้ดนตรีมีผลต่อการรับรู้ การฝึกอบรมด้านดนตรีจะส่งเสริมทักษะของบุคคลในการถอดรหัสคุณสมบัติของเสียง เช่น การปรับความสูง และความถี่ของเสียง
ดนตรีมีผลกระทบต่อการทำงานทางโครงสร้างสมองที่หลากหลาย การฟังเพลงมีผลกระทบต่อการประมวลผลทางอารมณ์ (โครงสร้างลิมบิก และพาราลิมบิก) ทั้งในนักดนตรี และ ‘ผู้ที่ไม่ใช่นักดนตรี’
เนื่องจากดนตรีจะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย การฟังเพลง และการเล่นดนตรียังส่งผลกระทบของอารมณ์เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบภูมิคุ้มกัน ดนตรีบำบัดจึงสามารถรักษาอาการผิดปกติของระบบประสาทได้
ดนตรีบำบัดใช้ทำอะไรบ้าง
ดนตรีบำบัดถูกนำมาใช้ปรับปรุงรูปแบบการเคลื่อนไหว และการฟื้นฟูร่างกายโดยรวม ช่วยกระตุ้นให้ผู้รับบำบัดสามารถรับมือกับผลกระทบจากการรักษา ช่วยสนับสนุนภาวะทางอารมณ์ของผู้รับการบำบัด และครอบครัว ช่วยสนับสนุนการแสดงออกของความรู้สึก
นักดนตรีบำบัดจะสามารถทำงานร่วมกับผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่สมอง (AMI) ตัวอย่าง เช่น เพลงบําบัดช่วยให้ผู้ปวยที่ถูกกระสุนปืนเข้าที่สมอง สามารถพูดได้อีกครั้ง ดนตรีบำบัดสามารถลดผลกระทบของภาวะสมองเสื่อม ลดอาการหอบหืดทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ และช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เพลงบําบัดสามารถใช้ในเด็กที่มีความผิดปกติของออทิสติก พร้อมพัฒนาความสามารถในการสื่อสารไปด้วย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดปรับรูปแบบการนอนหลับ และเพิ่มน้ำหนักตัวได้ และ ดนตรีบำบัดยังสามารถช่วยผู้ป่วยโรคพาร์กินสันสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น
ดนตรีบําบัดความเครียด
เพลงบําบัดสามารถสร้างความผ่อนคลายได้ เนื่องจากดนตรีสามารถนำไปสู่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด เมื่อกล้ามเนื้อผ่อนคลาย และร่างกายรู้สึกสบาย จิตใจก็จะผ่อนคลายไปด้วย ดนตรีเป็นเรื่องสนุก และเรียบง่าย สามารถลดความตึงเครียด ครายความกังวล และความเครียดได้มาก
การฟังเพลงยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมคลายเครียดอื่น ๆ เช่น ช่วยสนับสนุนการฝึกโยคะ การสะกดจิตตนเอง หรือสร้างภาพในอนาคตได้ ดนตรีบําบัดความเครียดจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาความเครียดของกิจกรรมผ่อนคลายอื่น ๆ ได้
ดนตรีสามารถช่วยให้สมองมีสมาธิได้ (Scott, 2018) สิ่งนี้ส่งเสริมการผ่อนคลาย การฟังเพลงอาจเป็นวิธีที่ดีที่นำมาใช้ในการฝึกสมาธิได้
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก