ธาตุสังกะสี
สังกะสี หรือ Zinc คืออะไร ซิงค์ เป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกาย เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่สม่ำเสมอ ร่างกายจึงไม่ได้กักเก็บไว้ จึงต้องบริโภคเป็นประจำ โดยเป็นส่วนหนึ่งของอาหาร แหล่งอาหารที่พบบ่อยของสังกะสี ได้แก่ เนื้อแดง สัตว์ปีก และปลา การขาดธาตุสังกะสีอาจทำให้ร่างกายแกร็น ความสามารถในการลิ้มรสอาหารลดลง อัณฑะ และรังไข่ทำงานผิดปกติ
ประโยชน์ของสังกะสีใช้เพื่ออะไร
สังกะสีใช้สำหรับการรักษา และป้องกันการขาดธาตุสังกะสี และผลที่ตามมา รวมถึงการเจริญเติบโตที่แคระแกร็น และอาการท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก การหายของแผลช้า และโรค Wilson’s รวมทั้งยังมีประโยชน์อีกมากที่ยังต้องการหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม
สังกะสีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และการบำรุงรักษาร่างกายมนุษย์อย่างเหมาะสม มีความความสำคัญต่อหลายระบบ และปฏิกิริยาทางชีวภาพในร่างกาย และจำเป็นสำหรับการทำงานของภูมิคุ้มกัน การรักษาบาดแผล การแข็งตัวของเลือด การทำงานของต่อมไทรอยด์ และอื่นๆ อีกมากมาย เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่ว พืชตระกูลถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสีมีสังกะสีในระดับที่ค่อนข้างสูง
การขาดธาตุสังกะสีไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หาได้ยาก โดยอาการที่พบได้แก่ การเจริญเติบโตช้า ระดับอินซูลินต่ำ เบื่ออาหาร หงุดหงิด ผมร่วงทั่วไป ผิวหนังหยาบ และแห้ง แผลหายช้า การรับรส และกลิ่นไม่ดี ท้องร่วง และคลื่นไส้ การขาดธาตุสังกะสีในระดับปานกลางเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของลำไส้ซึ่งขัดขวางการดูดซึมอาหาร โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง และโรคที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมเรื้อรัง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การถอนพิษสุราเรื้อรัง
สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการรักษาการมองเห็น การขาดธาตุสังกะสีสามารถเปลี่ยนแปลงการมองเห็น และการขาดธาตุสังกะสีอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรตินา (จอประสาทตา)
สังกะสีอาจมีผลต่อไวรัส ดูเหมือนว่าจะบรรเทาอาการของไรโนไวรัส (ไข้หวัด) แต่ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม รวมทั้งระดับสังกะสีที่ต่ำสัมพันธ์กับภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย โรคเคียว เอชไอวี โรคซึมเศร้า และโรคเบาหวานประเภท 2 การรักษาระดับสังกะสีในร่างกายสามารถช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้
ปริมาณการใช้สังกะสี
สังกะสีมักถูกใช้เป็นอาหารเสริม เพื่อทดแทนภาวะการขาดธาตุสังกะสี ภาวะขาดธาตุสังกะสีอาจเกิดขึ้นในผู้ที่มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ภาวะที่ทำให้ลำไส้ดูดซึมอาหารได้ยาก โรคตับแข็งและโรคพิษสุราเรื้อรัง หลังการผ่าตัดใหญ่ และระหว่างการใช้การให้อาหารทางสายยางในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน การรับประทานสังกะสี หรือการให้ทางเส้นเลือด (โดย IV) ช่วยฟื้นฟูระดับสังกะสีในผู้ที่ขาดธาตุสังกะสี อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ทานอาหารเสริมสังกะสีเป็นประจำ ควรใช้ต่อเมื่อได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
ผลข้างเคียงของอาหารเสริมซิงค์
ปกติแล้วสังกะสีมีความปลอดภัยต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณไม่เกิน 40 มก. ต่อวัน ไม่แนะนำให้เสริมสังกะสีเป็นประจำโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะในบางคนสังกะสีอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง รสโลหะ ไตและกระเพาะอาหารเสียหาย และผลข้างเคียงอื่นๆ
การรับประทานที่มากเกินไปอาจลดปริมาณทองแดงที่ร่างกายดูดซึมได้ การดูดซึมทองแดงลดลงอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง การได้รับสังกะสีในปริมาณมากมักจะไม่ปลอดภัย ปริมาณที่สูงเกินปริมาณที่แนะนำอาจทำให้เกิดไข้ ไอ ปวดท้อง เหนื่อยล้า และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับธาตุเหล็กในร่างกาย การทาสังกะสีนั้นมีความปลอดภัย ยกเว้นในกรณีใช้สังกะสีกับผิวที่บอบบางอาจทำให้เกิดการไหม้ แสบ คัน และรู้สึกเสียวซ่าได้
ข้อควรระวังในการใช้แร่ธาตุสังกะสี
ทารก หรือเด็ก ก็สามารถรับประทานสังกะสีได้ ไม่ต่างกับวัยผู้ใหญ่ แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องได้รับการควบคุมปริมาณ และวิธีใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
สังกะสีค่อนข้างปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ และให้นมบุตร เมื่อใช้ในปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน (RDA) อย่างไรก็ตาม สังกะสีอาจเป็นไปได้ว่าไม่ปลอดภัย เมื่อใช้ในปริมาณที่สูงโดยสตรีที่ให้นมบุตร ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์โดยละเอียดก่อนการใช้สังกัสี
ขณะที่แพทย์ให้รับประทานสังกะสี ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้สังกะสีถูกดูดซึมได้น้อยลง
สำหรับผู้ป่วยโรคไต ธาตุสังกะสีในอาหารต่ำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต ผู้ที่ได้รับการฟอกไตจะมีความเสี่ยงต่อการขาดธาตุสังกะสี และอาจจำเป็นต้องเสริมสังกะสี
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคไตเรื้อรัง
ในผู้ที่รับประทานมังสวิรัติมัพบว่าร่างกายมีการดูดซึมสังกะสีที่ต่ำกว่าคนทั่วไป ดังนั้นอาหารประเภทนี้จึงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขาดแคลนสังกะสี แต่ร่างกายจะปรับตัวในระยะยาว จะดูดซับสังกะสีได้ดีขึ้นสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ
หากมีข้อสงสัย หรือความผิดปกติจากการใช้สังกะสี โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้สามารถใชัสังกะสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก