โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

01.02
2477
0

ผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) จะมีอารมณ์ขึ้นๆลงๆ พลังในการทำกิจกรรมต่างๆลดลง ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันยากลำบาก

เพราะภาวะนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมากน้อยต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน การรักษา ดูแลและช่วยเหลือที่เหมาะสมจะช่วยให้เขามีชีวิตที่สมบูรณ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้วคืออะไร

คือภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอารมณ์ บางครั้งอารมณ์ดีผิดปกติ สลับซึมเศร้าผิดปกติ กลับไปกลับมา มีการเปลี่ยนแปลงของการนอน อาจนอนไม่หลับหรือนอนมากไป ขาดสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ พลังที่จะทำกิจกรรมต่างๆลดลง และส่งผลกระทบอย่างมากต่อพฤติกรรม การงาน ความสัมพันธ์และ แง่มุมต่างๆของชีวิต

คนธรรมดามีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าเป็นโรคคือการมีอารมณ์รุนแรงกว่าปกติ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการทางจิตเช่น หลงผิด หลอน และหวาดกลัวผิดปกติ

ในขณะอารมณ์ดีผิดปกติ จะทำให้รู้สึกดีมาก ผู้นั้นจะเข้าสังคมได้ดี พูดมากและคิดฟุ้งซ่าน

แต่อารมณ์ดีมากๆนั้น ไม่ยั่งยืน ถึงจะอยู่นาน แต่ไม่สามรถทำสิ่งใดสำเร็จจริงจัง

อาการไบโพลาร์

อาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนช่วงอารมณ์เปลี่ยนแปลงอาจอยู่นานหลายเดือน หรือเป็นปี บางคนอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็วมาก หรือมีอารมณ์สุขและเศร้าในเวลาเดียวกัน

ผู้ที่ป่วยแบบสุขเศร้าเร็ว มักมีวงจรเกิดถึงสี่คร้ังในหนึ่งปี

อารมณ์มีสุขเกินไป

คือช่วงที่อารมณ์ดี จะมีอาการเช่น

  • การตัดสินใจผิดปกติ

  • รู้สึกมีพลังงานเหลือเฟือ

  • นอนน้อยแต่ไม่เพลีย

  • ขาดสมาธิหรือเบื่อง่าย

  • ไม่ไปทำงาน ไม่ไปโรงเรียน

  • ผลการทำงานหรือผลการเรียนตกต่ำ

  • รู้สึกเก่งมาก รู้สึกว่าทำอะไรก็สำเร็จ

  • ชอบสังคม ชอบเสนอตัว บางครั้งออกจะก้าวร้าว

  • ทำพฤติกรรมที่เสี่ยง

  • มีพลังทางเพศมากขึ้น

  • อารมณ์ดีเกินจริง

  • มีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก คิดว่าตนสำคัญ

  • พูดมาก พูดเร็ว

  • พูดไม่รู้เรื่อง พูดหลายเรื่องพร้อมกัน พูดเรื่อยเปื่อย

  • มีความคิดมากมายวนเวียนในหัว มีความคิดแปลกๆ

  • ไม่ยอมรับผิดหรือไม่รู้ว่าสิ่งใดผิด

บางคนที่เป็นโรคนี้ อาจใช้เงินมาก ใช้ยาเสพติดและทำกิจกรรมที่อันตรายและไม่เหมาะสม

อารมณ์เศร้า

  • ในช่วงที่เศร้าอาจมีอาการดังนี้
  • รู้สึกมืดมัว หดหู่ หมดหวัง
  • เศร้าลึก
  • นอนไม่หลับ หรือมีปัญหาการนอน
  • กังวลในเรื่องเล็กน้อย
  • ปวดหรือมีอาการทางกายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
  • รู้สึกผิดเสมอ เหมือนว่าอยู่ผิดที่ผิดทาง
  • กินมากไปหรือกินน้อยไป
  • น้ำหนักลดหรือเพิ่ม
  • รู้สึกเหนื่อย ล้า ไม่มีพลัง
  • ไม่สามารถมีความสุขหรือสนใจในสิ่งที่เคยสนใจ
  • ขาดความจดจ่อหรือลืมง่าย
  • อยู่ไม่สุข
  •  รู้สึกรำคาญเสียง กลิ่นหรืออื่นๆ ที่คนทั่วไปไม่รู้สึก
  • ไม่สามารถไปทำงานหรือเรียนได้ ทำให้ผลงานหรือผลการเรียนแย่ลง
Bipolar disorder

หากมีอาการมาก มักอยากและพยายามจะฆ่าตัวตาย

ป้องกันการฆ่าตัวตาย

ถ้ารู้สึกว่าผู้นั้นมีแนวโน้มที่จะทำร้ายตนเอง ฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น

  • ให้ถามตรงๆ “คิดจะฆ่าตัวตายหรือไม่”

  • ฟังโดยไม่พยายามตัดสิน

  • โทรขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน จาก 191

  • อยู่กับผู้นั้นจนกว่าผู้ช่วยเหลือจะมาถึง

  • เก็บ ยา อาวุธและสิ่งที่จะนำไปใช้ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นได้ได้

หากพบผู้ใดมีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายหรือมีปัญหาสุขภาพจิต ปรึกษาปัญหาได้ที่

1. สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

2. สะมาริตันส์โทร. 02-713-6793,12:00-22:00 น.

การรักษาไบโพลาร์

เพื่อการทำให้อารมณ์สงบและลดความร้ายแรงของอาการ เพื่อให้บุคคลนั้นดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษา ใช้การบำบัดต่างๆร่วมกันเช่น

  • นั่งสมาธิ

  • ให้คำปรึกษา

  • การปรับกิจกรรมทางกาย

  • การปรับวิถีชีวิต

  • แต่การวินิจฉัยโรคและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมอาจจะใช้เวลา เพราะแต่ละคนมีอาการและการตอบสนองต่อการรักษาต่างกัน

การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาจะช่วยให้อารมณ์คงที่และลดอาการอื่นๆ แพทย์มักให้ยาหลายชนิดเช่น

  • ยาที่ทำให้อารมณ์คงที่ เช่น ลิเธียม

  • ยาต้านอารมณ์ซึมเศร้า

  • ยารักษาโรคจิตรุ่นที่สอง

  • ยากันชักเพื่อลดอาการสุขมาก

  • ยาที่ช่วยลดความวิตกกังวล และทำให้นอนหลับ

  • แพทย์ต้องใช้เวลาในการปรับยาให้เหมาะสม ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงและอาจออกฤทธิ์กับผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากมีปัญหา ควรแจ้งแพทย์

  • ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าตนใช้ยาอะไรอยู่ก่อน เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยา

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ในการใช้ยาและการรักษา

  • ไม่เลิกยาเอง แม้ว่าอาการจะดีขึ้น จนกว่าแพทย์จะสั่ง

  • ยาทางจิตเวช ใช้เวลาหนึ่งถึงสองสัปดาห์ กว่าจะออกฤทธิ์เต็มที่

  • ถ้าผู้ป่วยหยุดการรักษา อาการจะเลวร้ายลง

การบำบัดจิดและให้การปรึกษา

การบำบัดจิตช่วยลดอาการของโรคและช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการโรคอารมณ์สองขั้วได้

ด้วยการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม และวิธีการอื่นๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะ

  • รู้ทันและจัดการกับอาการสำคัญเช่น ความเครียด

  • รู้ถึงอาการแรกเริ่มของแต่ละช่วงอารมณ์และจัดการได้อย่างเป็นขั้นตอน

  • บริหารจัดการปัจจัยที่ทำให้อารมณ์คงที่ได้นานที่สุด

  • ด้วยความร่วมมือของครอบครัว ครู เพื่อนร่วมงาน

ขั้นตอนเหล่านี้ช่วยให้ผู้ป่วยคงความสัมพันธ์ในทางที่ดีกับผู้อื่น ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กและวัยรุ่น แพทย์อาจจัดให้มีครอบครัวบำบัดด้วย

การรักษาในโรงพยาบาล

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น อาจต้องพักรักษาในโรงพยาบาล

หากการรักษาอื่นไม่ได้ผล แพทย์อาจใช้วิธีรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า

การปรับวิถีชีวิต

การปรับวิถีชีวิตช่วยให้สภาพอารมณ์คงที่ และสามารถจัดการกับอาการได้ เช่น

  • ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และหลากหลาย

  • เข้านอนให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยอาจใช้สมุนไพรร่วมด้วย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะสมุนไพรบางอย่างอาจมีผลต่อยาที่ใชัรักษา อาจทำให้อาการเลวลง

สาเหตุของไบโพลาร์

เกิดได้จากหลายสิ่งประกอบกัน

  1. จากพันธุกรรม ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ มีโอกาสจะเป็นได้

  2. ปัจจัยทางชีวภาพ. จากการวิจัยพบว่าความไม่สมดุลย์ของสารสื่อประสาทหรือฮอร์โมน มีผลต่อการเกิดโรค

  3. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่นความเครียด การสูญเสียที่สำคัญ หรือเหตุรุนแรงอื่นใด อาจทำให้เกิดภาวะอารมณ์สองขั้วได้

สรุปและพยากรณ์โรค

โรคอารมณ์สองขั้ว พบบ่อยและเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ร้ายแรง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ พลังในการดำเนินชีวิต ความตั้งใจ และอื่นๆ

ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของคน แต่การรักษาจะทำให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และใช้ชีวิตได้เต็มที่

การรักษาอาจไม่ได้ทำให้สภาพอารมณ์ดีขึ้นทั้งหมดทีเดียว แต่การที่พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้จัดการกับอาการได้ และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *