หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

14.05
2235
0

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) คือภาวะที่หัวใจของคนเราเต้นช้ากว่าค่าปกติ คืออัตราการเต้นของหัวใจที่น้อยกว่า 60 ครั้ง ต่อ 1 นาที

โดยปกติแล้ว อัตราการเต้นของหัวใจของเราคนเรานั้นจะไม่เร็วขึ้นอยู่กับอายุและเมื่อร่างกายพักผ่อน อย่างไรก็ตาม นักกีฬาอาจมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำ หากสงสัยเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจควรปรึกษาแพทย์ว่าภาวะหัวใจเต้นช้านั้นบ่งบอกถึงปัญหาใดหรือไม่ 

อัตราการเต้นของหัวใจนั้นเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เราทำ เมื่อร่างกายออกแรงมาก หัวใจจะฉูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจก็จะเพิ่มขึ้น ในผู้ใหญ่ส่วนมาก อัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำจะอยู่ที่ 60 ครั้งต่อนาที (bpm) อย่างไรก็ตาม นักกีฬาหรือผู้ที่หลับอยู่อาจมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที (bpm) 

อาการหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ

ภาวะหัวใจเต้นช้าสามารถทำให้เกิดอัตราการเต้นของหัวใจต่ำ ที่น้อยกว่า 60 ต่อนาที (bpm)

อาการเริ่มต้นของภาวะหัวใจเต้นชา คือ อัตราการเต้นของหัวใจที่ต่ำ ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการ 

ผู้ป่วยบางรายแสดงอาการ ในเคสที่แสดงอาการ ก็มักจะเป็นเคสที่รุนแรง 

อาการของภาวะหัวใจเต้นช้า มีดังนี้: 

  • รู้สึกหมดเรี่ยวแรง และ อ่อนล้า 
  • เป็นลม หรือ เวียนหัว 
  • สับสน 
  • หายใจสั้น ๆ 
  • หายใจลำบากเวลาออกกำลังกาย 

เมื่อโรคที่ร้ายแรงทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้า แล้วผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้น

ดังนี้:

สาเหตุหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ

ผู้ที่ออกกำลังกายแบบคาดิโอหนัก ๆ อาจมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้า เนื่องจากหัวใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าบางคนนั้นมีอาการปานกลาง  บางคนมีอาการนี้เป็นครั้งคราวเท่านั้น 

ถึงแม้ว่ามันจะจำเป็นสำหรับผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำที่จะไปปรึกษาแพทย์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องเข้ารับการรักษา หากภาวะหัวใจเต้นต่ำนั้นไม่แสดงอาการ และผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ภาวะนี้ก็อาจจะไม่เป็นอันตรายหรือเป็นเพียงปัญหาเล็กน้อย  

เมื่ออายุมากขึ้น หัวใจก็มีแนวโน้มที่จะเต้นช้าลง ซึ่งหมายถึงผู้สูงอายุอาจจะเกิดภาวะหัวใจเต้นช้าเป็นครั้งคราว ถึงแม้นี่จะเป็นเรื่องที่พบได้เป็นปกติ แต่แพทย์ก็ยังต้องทำการตรวจหากผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นช้า 

การออกกำลังกายทำให้หัวใจเเข็งแรงขึ้น เหล่านักกีฬา โดยเฉพาะผู้ที่ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออย่างหนัก จะมีประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจที่ดีกว่า ซึ่งอาจทำให้ความดันต่ำ เพราะหัวใจของพวกเขาไม่ต้องปั๊มเลือดแรง ๆ หรือเร็ว ๆ เพื่อไปหล่อเลี้ยงร่างกาย 

โรคบางชนิดอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจต่ำได้เช่นกัน 

โรคเหล่านั้นมีดังนี้: 

Bradycardia

ตัวควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (pacemaker) มีปัญหา

ตัวควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจทำให้เกิดการเต้นของหัวใจ ซึ่งทำให้การเต้นของหัวใจนั้นไม่ปกติ โดยอาจจะช้า หรือ เร็ว (tachycardia)

 กลุ่มอาการซิคไซนัส(Sick Sinus) เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับเซลล์ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ปัญหาที่เกี่ยวกับโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น เนื้อเยื่อแผลเป็นในหัวใจ อาการแทรกซ้อนของเบาหวาน หรือโรดเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ สามารถทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ได้เช่นกัน 

คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีปัญหา 

หัวใจสื่อสารได้โดยคลื่นไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น ห้องนึงของหัวใจส่งคลื่นไฟฟ้าสู่อีกห้องหนึ่ง  เพื่อบอกว่าจะสูบฉีดเลือดเมื่อไหร่ และอย่างไร 

เซลล์พีชเมคเกอร์ช่วยควบคุมระบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากหัวใจไม่สามารถส่งคลื่นไฟฟ้าที่ถูกต้องได้ ไม่ว่าจะมาจากสิ่งอุดกั้นหรือโรคหัวใจ ก็จะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้าได้ 

หัวใจถูกปิดกั้น (complete heart block) คือการที่คลื่นไฟฟ้าไม่สามารถเดินทางจากหัวใจห้องบนไปยังหัวใจห้องล่างได้ ในกรณีนี้ หัวใจห้องบนทั้งสองห้องและห้องล่างทั้งสองห้องอาจมีจังหวะการเต้นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง 

ปัญหาการเผาผลาญ 

ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม ทำให้หัวใจเต้นช้าลงได้ ที่พบได้บ่อยคือ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (hypothyroidism) ซึ่งไทรอยด์ไม่ได้สร้างฮอร์โมนส์ไทรอยด์ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 

ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนสามารถส่งผลต่อสุขภาพของเส้นเลือด ซึ่งทำให้อัตราการเต้นของหัวใจต่ำลง ผู้ที่มีภาวะนี้อาจมีความดันไดแอสโตลีสูงด้วย (ความดันนี้บอกถึงแรงดันในเส้นเลือดระหว่างที่หัวใจเต้น ซึ่งก็คือตัวเลขข้างล่างในการวัดความดันโลหิต) ผู้ป่วยจะมีความดันไดเอสโตลีสูงเมื่อความดันที่วัดได้สูงกว่า 80 

กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับไทรอยด์พบได้ทั่วไปและอาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและผู้ที่มีสุขภาพดี ประมาณ 4 ถึง 10 เปอร์เซนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกามีภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

โรคหัวใจ 

หัวใจที่ได้รับความเสียหายจากภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) เคยหัวใจวาย ( heart attacks) และปัญหาอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้ประสิทธิภาพการปั๊มของหัวใจลดลงและช้าลง 

ยาโรคหัวใจ 

ยาบางชนิด รวมไปถึงยารักษาโรคหัวใจและยารักษาความดันโลหิตสูง อาจทำให้หัวใจเต้นช้าลงได้ ยากั้นบีต้า (Beta-blockers) ซึ่งแพทย์จะสั่งจ่ายสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วและโรคอื่น ๆ อาจทำให้หัวใจเต้นช้าลงได้ 

หากรับประทานยาที่ได้รับมาใหม่แล้วมีภาวะหัวใจเต้นช้า ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ 

การขาดออกซิเจน 

ภาวะพร่องออกซิเจน (hypoxia) คือภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นช้าลง 

ภาวะพร่องออกซิเจนเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ป่วยสำลักหรือโรคหอบหืดกำเริบอย่างรุนแรง หรืออาจเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease) อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้าได้ 

หากภาวะพร่องออกซิเจนทำให้อัตราการเต้นของหัวใจต่ำลง แพทย์จะทำการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนให้แก่ผู้ป่วย

การรักษาหัวใจเต้นช้า

ภาวะหัวใจเต้นช้าอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเสมอไป อย่างไรก็ตาม เมื่อภาวะนี้ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือเมื่อโรคหัวใจทำให้หัวใจเต้นช้าลง ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษา 

ตัวควบคุมคลื่นไฟฟ้าหัวใจเทียม (artificial pacemaker) ที่แพทย์ใส่เข้าไปอาจสามารถทำให้หัวใจเต้นปกติได้ 

แพทย์จะแนะนำการรักษาที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเคส: 

  • การเปลี่ยนยารักษาโรคหัวใจ 
  • การใช้ยารักษาโรคไทรอยด์ หรือ ภาวะเมแทบอลิกซินโดรมอื่น ๆ 
  • การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ออกกำลังกายให้มากขึ้น หรือหยุดสูบบุหรี่ 
  • ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตเป็นประจำ 

นี่คือที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *