โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s Disease) คือโรคที่ไม่ได้พบเห็นได้โดยทั่วไป โดยเป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบและหลอดเลือดอุดตันที่แขนและขา ทำให้การไหลเวียนของเลือดหยุดไปและนำไปสู่การอุดตันเพิ่มไปยังมือและเท้า
แพทย์ยังเรียกโรคเบอร์เกอร์อีกว่า โรคทรอมโบแองไจติไอติส ออบลิเทอเรนส์ (Thromboangiitis Obliterans)
ปัจจุบัน โรคเบอร์เกอร์ยังไม่วิธีรักษา และพบว่า คนที่เป็นโรคเบอร์เกอร์เกือบทุกคนมักใช้ยาสูบ รวมทั้ง บุหรี่ ซิการ์ ยาสูบแบบเคี้ยวและยานัตถุ์ ดังนั้น การเลิกสูบบุหรี่ทำให้อาการดีขึ้นหรือหายเป็นปลิดทิ้ง หากไม่เลิกบุหรี่ ผู้ป่วยอาจมีเนื้อเยื่อเสียหายรุนแรง อาจเสียนิ้วมือ นิ้วเท้าหรืออวัยวะ เช่น แขนหรือขาได้
สาเหตุของโรคเบอร์เกอร์
ปัจจุบัน แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าโรคเบอร์เกอร์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งยีนส์อาจมีส่วนทำให้เกิดโรคได้ ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายก็ได้รับโรคโดยไม่ได้ตั้งใจ
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า สารเคมีบางอย่างในยาสูบอาจทำให้การระคายเคืองของหลอดเลือดจนทำให้บวม ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอีกส่วนหนึ่งคิดว่า ยาสูบเป็นตัวกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีหลอดเลือดเหมือนเป็นเชื้อโรคร้าย
อาการของโรคเบอร์เกอร์
โดยปกติแล้ว สัญญาณแรกของโรคเบอร์เกอร์คืออาการปวดที่มือหรือเท้าและลุกลามไปที่แขนและขา ซึ่งอาจจะรุนแรงได้ ไม่ว่าจะทำกิจกรรมหรือพักผ่อนก็สามารถมีอาการของโรคเบอร์เกอร์ได้ โดยอาจแย่ลงเมื่อเป็นหวัดหรือเครียด
นอกจากนี้ อาการบางอย่างยังอาจเห็นได้ตามมือและเท้า เช่น:
-
รู้สึกเย็น ชาหรือเสียวปลาบตามมือตามเท้า
-
หน้าดูซีด แดงหรือเขียวคล้ำ
-
มีผิวบางและตึง
-
มีผมน้อยกว่าปกติ
นิ้วมือและนิ้วเท้าอาจมีอาการ เช่น:
-
มีแผลเปิดและปวด
-
มีอาการตัวซีดเมื่ออุณหภูมิในร่างกายลด (โรคเรเนาด์)
-
อาจมีอาการบวมตามเส้นเลือดใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นสัญญาณของเลือดจับตัวเป็นก้อน ให้พบแพทย์ทันที
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบอร์เกอร์
เมื่อเวลาผ่านไป โรคเบอร์เกอร์จะชะลอการไหลเวียนเลือดไปที่นิ้วมือและนิ้วเท้าและทำให้เกิดการอุดตัน โดยทำให้เกิดแผลเน่า ซึ่งนั่นหมายความว่า ผิวหนังและเนื้อเยื่อในนิ้วเท้าและนิ้วมือจะเริ่มตาย จึงทำให้เกิดอาการชาและมีสีเขียวคล้ำ
หากมีการเน่าเปื่อยเกิดขึ้น แพทย์มักจะตัดบริเวณที่เป็นโรคออก
ในผู้ป่วยบางราย ซึ่งอาจเกิดไม่บ่อยนัก โรคเบอร์เกอร์อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายได้
การวินิจฉัยโรคเบอร์เกอร์
ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจใดที่ช่วยตรวจหาโรคเบอร์เกอร์ได้ แพทย์จะซักประวัติคนไข้ว่ามีการยาสูบหรือไม่และถามอาการไปด้วย
นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจการไหลเวียนของเลือดและตัดโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันออก เช่น โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตันยังทำให้เกิดอาการปวดที่ขาแต่เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมในหลอดเลือดแดงซึ่งไม่ใช่การอักเสบ
โดยแพทย์อาจให้ทำ:
อัลเลนเทส (Allen’s Test) เพื่อตรวจสอบการไหลเวียนของเลือดขั้นพื้นฐาน ขั้นแรก ให้กำมือแน่น ๆ เป็นรูปกำปั้นซึ่งจะทำให้ไล่เลือดออกจากมือ จากนั้น แพทย์อาจกดที่หลอดเลือดแดงที่ข้อมือเพื่อชะลอการไหลเวียนของเลือดกลับสู่มือ เมื่อถึงจุดนี้ มือจะไม่ปรากฎว่ามีสี เมื่อคลายมือออก แพทย์จะค่อย ๆ คลายแรงดันบนหลอดเลือดแดงที่ด้านหนึ่งของข้อมือและจากนั้นก็ค่อย ๆ คลายอีกด้าน หากต้องใช้เวลาสักพักกว่ามือจะกลับมาเป็นสีปกติอาจเป็นสัญญาณของโรคเบอร์เกอร์
การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดเป็นการเอกซเรย์เพื่อตรวจหาการอุดตันที่เส้นเลือดแขนและขา แพทย์จะใส่ท่อบาง ๆ ที่เรียกว่าสายสวนเข้าไปในหลอดเลือดแดง จากนั้นจะฉีดสารสีเข้าไปในหลอดเลือดแดงและทำการเอ็กซ์เรย์อย่างรวดเร็วเพื่อตรวจดูหลอดเลือด การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถสร้างภาพที่คล้ายกันได้
การตรวจเลือด การตรวจเลือดช่วยให้แพทย์แยกโรคอื่น ๆ ออกไป และอาจต้องตรวจภาวะหรือโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคลูปัสและอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดเส้นเลือดอุดตัน
การรักษาโรคเบอร์เกอร์
การเลิกยาสูบเป็นวิธีเดียวที่จะจำกัดผลกระทบของโรคเบอร์เกอร์ แม้แต่บุหรี่เพียงไม่กี่มวนต่อวันก็ทำให้อาการแย่ลงได้
การรักษาอื่น ๆ อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและบรรเทาความเจ็บปวด ได้แก่
-
การรักษาด้วยยา เช่น ยาขยายหลอดเลือดหรือยาอื่น ๆ เพื่อละลายลิ่มเลือด
-
เดินออกกำลังกาย
-
การบีบแขนและขาเป็นระยะ
-
การผ่าตัดเพื่อตัดเส้นประสาทที่ไปยังบริเวณที่เกิดโรคเบอร์เกอร์
แพทย์อาจจำเป็นต้องตัดบางส่วนหรือทั้งหมดของบริเวณที่มีการติดเชื้อหรือเน่า (การตัดแขนขา)
ปัจจุบัน นักวิจัยก็ยังกำลังศึกษาการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ อีก โปรตีนที่เรียกว่าสารเร่งการเจริญเติบโตอาจเร่งการรักษาและบรรเทาความเจ็บปวด การฉีดสเต็มเซลล์ที่อาจเติบโตเป็นเซลล์ชนิดอื่น ๆ ช่วยให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่ได้
การพยากรณ์โรคเบอร์เกอร์
แนวโน้วของโรคจะเป็นอย่างไรก็อยู่ที่ผู้ป่วยโรคเบอร์เกอร์สามารถเลิกสูบบุได้หรือไม่ ในผู้ป่วยที่ใช้ยาสูบอย่างต่อเนื่อง ราว 43% จากผู้ที่ใช้ยาสูบทั้งหมดจะถูกตัดแขนขาภายใน 8 ปีหลังแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบอร์เกอร์ สำหรับคนที่เลิกบุหรี่แล้ว ราว 6% เท่านั้นที่ต้องถูกตัดแขนตัดขา และเปอร์เซ็นต์ที่จะถูกตัดแขนตัดขาแทบเป็น 0 หากรับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ
หากเลิกบุหรี่หรือยาสูบลำบาก ให้ปรึกษาแพทย์เรื่องโปรแกรมการสูบบุหรี่
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.cdc.gov/tobacco/campaign/tips/diseases/buergers-disease.html
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/buergers-disease/symptoms-causes/syc-20350658
-
https://www.healthline.com/health/thromboangiitis-obliterans
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก