แผลไฟไหม้ (Burn) : อาการ สาเหตุ การรักษา

แผลไฟไหม้ (Burn) : อาการ สาเหตุ การรักษา

12.01
5252
0

แผลไฟไหม้ ผิวไหม้ (Burn) คือความเสียหายของผิวหนังซึ่งมักเกิดจากการสัมผัสกับความร้อน ความรุนแรงของอาการไหม้จะขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ผิวไหม้มีหลายประเภท และมีทางเลือกในการรักษาได้อย่างหลากหลาย

บทความนี้จะกล่าวถึงผิวไหม้ประเภทต่างๆ อาการ วิธีการรักษา และเวลาที่ควรไปพบแพทย์

Burn

สาเหตุของผิวไหม้

ผิวหนังที่ทำหน้าที่  ป้องกันไวรัสและแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ประกอบด้วยชั้นต่างๆ 3 ชั้นได้แก่

  • ชั้นหนังกำพร้า (epidermis)

  • ชั้นหนังแท้  (dermis)

  • ชั้นไขมัน หรือชั้นใต้ผิวหนัง (hypodermis หรือ subcutaneous tissue)

ชั้นหนังกำพร้า (epidermis)

เป็นผิวหนังชั้นนอกสุดที่มองเห็นได้ เป็นบริเวณที่ไม่มีหลอดเลือดนำเลือดมาเลี้ยง ทำหน้าที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิและป้องกันอันตรายแก่ร่างกาย

ผิวไหม้ระดับผิวเผินหรือระดับแรกมีความรุนแรงน้อยที่สุด

จะส่งผลกระทบต่อผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น ผิวหนังจะยังคงสภาพสมบูรณ์ โดยทั่วไปมักทำการรักษาได้เองที่บ้าน

ชั้นหนังแท้ (dermis)

ชั้นหนังแท้เป็นผิวหนังชั้นล่าง เรียกบริเวณนี้ว่า พาพิลลารี (papillary) ประกอบด้วยคอลลาเจน ปลายประสาท ต่อมเหงื่อ และเส้นใยยืดหยุ่น (elastic fiber)  นอกจากนี้ยังเป็นผิวหนังชั้นที่หนา มีความยืดหยุ่น และแข็งแรงที่สุด

ผิวไหม้ระดับที่สอง เป็นการไหม้จนถึงชั้นหนังแท้ มีความรุนแรงกว่าการไหม้ในระดับแรก

ชั้นไขมัน หรือชั้นใต้ผิวหนัง (hypodermis หรือ subcutaneous tissue)

ประกอบด้วยเนื้อเยื่อไขมันที่เก็บพลังงานในรูปของไขมัน นอกจากนี้ยังเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ช่วยดูดซับแรงกระแทกและป็นฉนวนควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

ผิวไหม้ประเภทที่ทำลายผิวหนังทุกชั้นไปจนถึงชั้นใต้ผิวหนังได้ จะเป็นการไหม้ระดับที่ 3  ซึ่งมีความรุนแรงและต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน

ประเภทและอาการของผิวไหม้

ผิวไหม้ทุกประเภทก่อให้เกิดเจ็บปวดและแสดงอาการให้เห็น  การเข้าใจประเภทและความรุนแรงของผิวไหม้ เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการวินิจฉัยเพื่อรับการรักษา ซึ่งมี 3 ระดับ คือ

  • ระดับแรก

  • ระดับที่ 2

  • ระดับที่ 3

ผิวไหม้ระดับแรก

ผิวไหม้ระดับแรก มักจะพบได้มากที่สุด มีอาการต่างๆ ดังนี้

  • ผิวแห้ง และบวมเล็กน้อย

  • มีการเปลี่ยนปลงของสีผิว

  • มีความเจ็บปวด

  • มีอาการคัน

  • ผิวหนังไวต่อการสัมผัส

บางรายอาจเกิดแผลพุพองและถลอก หากมีการสัมผัสผิวหนังอาจจะหลุดลอก (สีอ่อนลง) โดยทั่วไปแล้วผิวหนังชั้นนอกจะยังคงสภาพที่สมบูรณ์

ผิวไหม้ระดับที่ 2

ผิวไหม้ระดับที่ 2 มีผลต่อผิวหนังชั้นลึกลงไปมากกว่าผิวไหม้ระดับแรก และอาจมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง

ผิวไหม้ระดับที่ 2 มีผลต่อผิวชั้นหนังกำพร้าและผิวชั้นหนังแท้ โดยรอยไหม้มักจะมีลักษณะบวม พุพอง หรือชื้น และอาจฉีกขาดคล้ายเนื้อเยื่อตกสะเก็ด ซึ่งแพทย์เรียกอีกอย่างว่า ผิวไหม้บางส่วน

ผิวไหม้ระดับที่ 2 มีแนวโน้มที่จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความลึกของแผล สาเหตุของผิวไหม้ระดับที่ 2 ได้แก่

  • ถูกน้ำร้อนลวก

  • ถูกไฟไหม้

  • สัมผัสถ่านไฟร้อน

  • ถูกน้ำตาเทียนลวก

  • ไอน้ำจากเตารีด

  • ถูกนาบด้วยเตารีดร้อนๆ

  • ถูกแดดเผาเนื่องจากอยู่ในที่โล่งแจ้ง เป็นเวลานาน

  • ผิวไหม้เนื่องจากการสัมผัสสารเคมี

ผิวไหม้ในระดับที่ 2 ส่วนใหญ่มักจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ และอาจเกิดแผลเป็นได้

ผิวไหม้ระดับที่ 3

เป็นอาการผิวไหม้ที่รุนแรงที่สุด และต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ เนื่องจากมีความเสียหายของเส้นประสาทและหลอดเลือด บริเวณที่ผิวไหม้มักมีสีซีดหรือดำคล้ำ และไหม้เกรียม

สาเหตุของผิวไหม้ระดับที่ 3 ได้แก่ :

  • ถูกน้ำร้อนลวก

  • ถูกไฟไหม้

  • ถูกไฟฟ้าช็อต 

  • การสัมผัสวัตถุที่ร้อนเป็นเวลานาน

  • การสัมผัสสารเคมี

ผิวไหม้ระดับที่ 3 จะทำลายผิวหนังชั้นนอกและรูขุมขนซึ่งหมายความว่าจะไม่มีผิวหนังใหม่เกิดขึ้นมาอีก ผู้ที่มีผิวไหม้ระดับที่ 3 ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ทันที

การรักษา

การรักษาผิวไหม้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ขนาด และตำแหน่งของแผล บางรายสามารถดูแลรักษาผิวไหม้ได้เองที่บ้าน แต่หากมีอาการที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ทันที

การรักษาผิวไหม้ระดับแรก

โดยทั่วไปอาการมักไม่รุนแรงหรือชัดเจน และจะหายได้ค่อนข้างเร็ว อย่างไรก็ตามผิวไหม้ในระดับแรกก็อาจสร้างความเจ็บปวดได้  สถาบันโรคผิวหนังแห่งอเมริกา (AAD) มีวิดีโอที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาผิวไหม้ระดับแรก

การรักษาพยาบาลเบื้องต้น :

  • เปิดให้น้ำเย็นไหลผ่านผิวที่ไหม้ หรือประคบเย็น ประมาณ 5-10 นาที หรือจนกว่าอาการปวดจะบรรเทาลง

  • ปิดด้วยผ้าพันแผลแบบไม่เหนียวที่สะอาด(ปลอดเชื้อ)

  • ทำความสะอาดบาดแผลเบาๆ ด้วยน้ำอุ่น

  • ทาปิโตรเลียมเจลทุกวัน

  • รับประทานยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ (OTC) เพื่อช่วยแก้ปวดและลดการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน

 การรักษาผิวไหม้ระดับที่ 2

การรักษาผิวไหม้ประเภทนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของแผล สาเหตุที่ทำให้เกิดผิวไหม้ระดับที่ 2 อาจเกิดจาก น้ำร้อนหรือสิ่งของที่ร้อน รังสี แรงเสียดทานไฟฟ้าหรือสารเคมีต่างๆ

อาการต่างๆ ของผิวไหม้ ได้แก่ ผิวหนังลอกเมื่อกด เป็นแผลพุพองและบวม อาการเหล่านี้จะดีขึ้นได้เองภายใน 2-3 วัน

การปฐมพยาบาลที่บ้าน ได้แก่:

  • เปิดให้น้ำเย็นไหลผ่านผิวที่ไหม้เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด – อย่าใช้น้ำแข็งเพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อเสียหายได้

  • ถอดเครื่องประดับ แหวน หรือเสื้อผ้าที่อาจรัดแน่นเกินไปในบริเวณที่บวม

  • ใช้ลูกประคบเย็น หากผิวไหม้เกิดขึ้นที่ใบหน้าหรือร่างกาย

  • ทำความสะอาดและล้างแผลอย่างเบามือ – ล้างมือก่อนเสมอ

  • พันด้วยผ้าพันแผลอย่างหลวมๆ หากเสื้อผ้าหรือสิ่งสกปรกอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้

  • ทาโลชั่นเพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้น แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

  • ทายาปฏิชีวนะแบบครีมชนิดที่ไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่งแพทย์

  • ใช้ยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน หรืออะเซตามิโนเฟน

น้ำมันร้อน ขี้ผึ้ง หรือของเหลวที่เข้าไมโครเวฟ อาจทำให้เกิดรอยไหม้ที่มีบางส่วนความหนาและลึกลงไป อาการเช่นนี้ผิวหนังอาจใช้เวลา 2-3 วันในการซ่อมแซมตนเอง ดังนั้นการตรวจสอบบาดแผลจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ผู้ที่มีผิวไหม้ระดับสองที่รุนแรงมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา แพทย์อาจรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะหรือยาขี้ผึ้ง(ครีม) ในผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการปลูกถ่ายผิวหนัง

การรักษาผิวไหม้ระดับที่ 3

ผิวไหม้ระดับที่ 3 เป็นอาการที่รุนแรงที่สุดและต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน เนื่องจากผิวไหม้ระดับที่ 3 มักทำลายปลายประสาท ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดใด ๆ เมื่อสัมผัสบริเวณนั้น ผิวหนังอาจนูนขึ้นมีลักษณะเหนียว สีน้ำตาลเข้ม หรือสีซีดคล้ายขี้ผึ้ง

ควรให้ผู้ที่มีผิวไฟไหม้ระดับที่ 3 อยู่นิ่ง ๆ โดยผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น

  • การติดเชื้อ

  • การสูญเสียเลือด

  • เกิดบาดทะยัก 

  • ช็อค หมดสติ

  • อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง

หากผิวที่ปกคลุมร่างกายส่วนใหญ่ไหม้อย่างรุนแรงอาจต้องรักษาด้วยใช้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำร่วมกับการปลูกถ่ายผิวหนัง ซึ่งระยะเวลาในการฟื้นตัวของผู้ป่วยจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผิวที่ไหม้

บทสรุป

แม้ว่าผิวไหม้เพียงเล็กน้อยจะเป็นอาการบาดเจ็บทั่วไปที่อาจสร้างความเจ็บปวดมาก แต่ก็สามารถรักษาที่บ้านได้ อย่างไรก็ตามผิวไหม้ที่มีอาการรุนแรงต้องได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญ

ควรทาครีมกันแดดและสวมหมวกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกแดดเผา หากมีเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อนๆ ในครัวให้ใช้ความระมัดระวัง และใช้ถุงมือป้องกันความร้อนจากเตา หรือเตาอบ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *