ไฟฟ้าซ็อต (Electric Shock) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ไฟฟ้าซ็อต (Electric Shock) : อาการ สาเหตุ การรักษา

19.10
11007
0

ไฟฟ้าช็อต (Electric Shock) คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากเต้าเสียบไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

การเกิดไฟฟ้าช็อตเป็นผลมาจากการสัมผัสกับสิ่งต่างๆเหล่านี้ 

  • เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรที่ชำรุด
  • สายไฟในบ้านเรือน
  • เสาไฟฟ้าแรงสูง
  • ฟ้าผ่า
  • เต้าเสียบไฟฟ้า

4 ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บที่เป็นผลมาจากการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า : 

  • ประกายไฟ :  การบาดเจ็บจากประกายไฟโดยทั่วไปแล้วมักเกิดที่ผิวบริเวณพื้นผิวส่วนบน อาการเหล่านี้เป็นผลมาจากประกายไฟที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรเป็นหนึ่งในการแตกตัวของพลังงานไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจึงไม่สามารถแพร่ผ่านผัวหนังไปได้
  • เปลวไฟ : การบาดเจ็บนี้เกิดจากประกายไฟที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรมีผลทำให้เสื้อผ้าติดไฟได้ กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอาจจะผ่านหรือไม่สามารถผ่านผัวหนังไปได้
  • ฟ้าผ่า : การที่กระแสไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงไหลผ่านร่างกายเป็นช่วงเวลาสั้นๆ 
  • ไฟฟ้าซ็อต : การที่คนเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าและออกจากร่างกาย 

ภาวะช็อคที่เกิดจากการสัมผัสกับเต้าเสียบไฟฟ้าหรือจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กภายในบ้านเรือนแทบจะไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ร้ายแรงแต่อย่างไรก็ตามหากมีการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้านานเกินไปก็อาจจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

Electric Shock

The let-go threshold

ระดับของ let – go คือระดับต่ำที่สุดที่กล้ามเนื้อของมนุษย์เกิดการหดตัวนั่นหมายความว่าผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตจะไม่สามารถปล่อยตัวเองออกจากแหล่งของกระแสไฟฟ้าได้จนกว่าบุคคลนั้นจะถูกนำผู้อื่นพาออกไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยได้ 

ตารางนี้แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองของร่างกายที่แตกต่างกันตามความแรงของกระแสไฟฟ้าที่วัดในหน่วยมิลลิแอมป์ (mA)

กระแสไฟฟ้า (mA) การตอบสนองของร่างกาย
0.2–2 การรับรู้ว่ามีกระแสไฟฟ้า
1–2+ เกิดภาวะช็อค
3–5 กระแสไฟฟ้าถึงระดับ let-go threshold ในเด็ก
6–10 กระแสไฟฟ้าถึงระดับต่ำสุดของ let-go threshold ในผู้ใหญ่
10–20 เกิดอาการชักในบริเวณที่สัมผัสกับกระแสไฟ
22 จำนวนร้อยละ 90 ของผู้ใหญ่ไม่สามารถปล่อยตัวเองออกจากกระแสไฟฟ้าได้
20–50 เกิดอาการชัก
50–100 หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดภาวะคุกคามต่อชีวิต 

สาเหตุการเกิดไฟฟ้าช็อต

จากบทความในปี 2019 ไฟฟ้าในประเทศที่วิ่งผ่านทั่วไปในครัวเรือนของประเทศสหรัฐอเมริกามีขนาด 110 โวลต์ แต่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดต้องการกำลังไฟฟ้าถึงขนาด 220 โวลต์ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและเสาไฟฟ้าแรงสูงต้องการมากถึง 100,000 โวลต์

ในบทความเดียวกันนั้นได้ระบุไว้ว่ากระแสไฟฟ้าแรงสูงที่มีขนาดมากว่า 500 โวลต์ขึ้นไปสามารถทำให้เกิดการไหม้ในส่วนของผิวที่อยู่ลึกลงไป ในขณะที่กระแสไฟฟ้าขนาดต่ำตั้งแต่ 110 – 120 โวลต์สามารถเป็นผลให้กล้ามเนื้อกระตุกได้

คนเราสามารถเกิดอันตรายจากภาวะไฟฟ้าดูดผ่านการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก, เต้าเสียบที่ติดบนผนัง, สายไฟฟ้าที่ใช้พ่วงต่อ โดยอันตรายที่เกิดขึ้นที่แทบจะไม่ได้เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บที่ร้ายแรงหรืออาการแทรกซ้อนใดๆ

โดยประมาณครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตจากไฟฟ้าเกิดขึ้นในที่ทำงาน และอันตรายจากไฟฟ้าซึ่งมีความเสี่ยงสูงแต่ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต มีดังนี้:

  • การก่อสร้าง
  • การท่องเที่ยวและงานด้านบริการ
  • งานด้านการศึกษาและระบบบริการสุขภาพ
  • ที่พักอาศัยและงานบริการด้านอาหาร
  • ฝ่ายการผลิต

ปัจจัยหลายๆอย่างเป็นผลทำให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงจากการเกิดไฟฟ้าช็อต มีดังนี้ :

  • ความแรงของกระแสไฟฟ้า
  • ชนิดของกระแสไฟฟ้า — ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือ ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 
  • ส่วนของร่างกายที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า
  • ระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า
  • ความต้านทานของกระแสไฟฟ้า

อาการและผลข้างเคียงหลังจากการโดนไฟฟ้าช็อต

อาการจากไฟฟ้าช็อตขึ้นกับหลายปัจจัย การบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้าขนาดต่ำมักจะเกิดที่พื้นผิวบริเวณด้านบน ในขณะที่การสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าเป็นระยะเวลานานมักทำให้เกิดการไหม้ในบริเวณพื้นผิวที่อยู่ลึกลงไปในผิวหนัง 

การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายหลังจากการถูกไฟฟ้าช็อตมักเกิดจากการตอบสนองของร่างกายโดยการกระตุก ซึ่งมักจะเกิดจากสาเหตุของการสูญเสียสมดุลของร่างกาย หรืิอ เกิดจากการตกจากที่สูงรวมไปถึงการบาดเจ็บที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย 

ผลข้างเคียงในระยะสั้น

ขึ้นกับระดับความรุนแรง  โดยผลที่เกิดขึ้นทันทีทันใดหลังจากถูกไฟฟ้าช็อตมีดังนี้ :

บางคนก็เคยประสบกับอาการที่ไม่น่าพึงพอใจ ไม่เพียงแต่เกิดความเสียหายทางร่างกาย ในขณะเดียวกันนั้นบางคนก็เคยประสบกับอาการเจ็บปวดที่มากและทำให้เนื้อเยื่อเสียหายอย่างเห็นได้ชัด

ผู้คนเหล่านี้อาจจะไม่เคยพบอาการบาดเจ็บที่ส่งผลแก่ชีวิตหรือความผิดปกติที่หัวใจ หลังจาก 24 – 48 ชั่วโมงจากการถูกไฟฟ้าช็อตอาจมีอาการเหล่านี้

อาการข้างเคียงที่รุนแรงที่เกิดขึ้นมีดังนี้ : 

  • ภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง 
  • หัวใจล้มเหลว
  • ภาวะหยุดหายใจ

ผลข้างเคียงในระยะยาว

หนึ่งในการศึกษาพบว่าผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตจะประสบกับปัญหาเกี่ยวกับหัวใจภายหลังจากการถูกไฟฟ้าช็อตเป็นเวลา 5 ปีเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่เคยถูกไฟฟ้าช็อต

บางคนมีอาการที่เกิดขึ้นหลากหลาย รวมไปถึงอาการทางจิต, อาการทางระบบประสาท, และอาการทางร่างกาย 

อาการที่เกิดขึ้นมีดังนี้ : 

อาการทางจิต อาการทางระบบประสาท อาการทางร่างกาย
อาการซึมเศร้าภายหลังจากเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ  การสูญเสียความทรงจำ อาการเจ็บปวด
ภาวะซึมเศร้า  ความสนใจลดลง เหนื่อยล้า
ความกังวัล ความรู้สึกเจ็บเหมือนมีเข็มมาทิ่ม ปวดหัว
อาการนอนไม่หลับ หน้ามืดเป็นลม การเคลื่อนไหวลดลง
ความสนใจในระยะสั้นลดลง สูญเสียสมดุลของระบบประสาท กล้ามเนื้อกระตุก
สูญเสียความทรงจำ อาการปวดที่สะโพกร้าวลงมาที่ขา ข้อติด
ภาวะตื่นตระหนักต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  การเคลื่อนไหวไม่ประสานกัน เหงื่อออกตอนกลางคืน

 

ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้จากการถูกไฟฟ้าช็อตควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การรักษาและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การถูกไฟฟ้าช้อตเพียงเล็กน้อยจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในครัวเรือนอาจจะไม่ต้องรักษาโดยการใช้ยา แต่อย่างไรก็ตามก็ควรจะไปพบแพทย์หากเคยถูกไฟฟ้าช็อต

ในคนที่ถูกไฟฟ้าแรงสูงช็อตควรรีบโทรหา 191 ทันที่

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับอันตรายที่รุนแรงจากการถูกไฟฟ้าดูดว่าควรปฎิบัติตัวอย่างไร ดังนี้ : 

  • ไม่ควรสัมผัสกับผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตเพราะอาจเป็นแหล่งของกระแสไฟฟ้าได้
  • โทรเรียก 191 หรือผู้ที่สามารถโทรหา 191 ได้
  • หากสถานการณ์ปลอดภัยให้ปิดสวิตซ์แหล่งของกระแสไฟฟ้า ถ้าหากไม่ปลอดภัยให้ใช้วัตถุที่ไม่สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ เช่น วัถถุที่ทำจากไม้, การดาษแข็ง, พลาสติก เพื่อนำแหล่งของกระแสไฟฟ้าออกไป
  • หากผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตอยู่ห่างจากแหล่งของกระแสไฟฟ้าแล้ว ให้ตรวจสอบชีพจร และดูการหายใจของผู้ป่วย หากผู้ป่วยหายใจแผ่วให้รีบทำการกู้ชีพเบื้องต้น (CPR) ทันที
  • หากผู้ป่วยมีอาการหน้ามืดจะเป็นลมหรือมีภาวะซีดให้ยกขาขึ้น โดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าระดับของร่างกาย
  • ไม่ควรสัมผัสกับบาดแผลที่ถูกเผาไหม้หรือนำเสื้อผ้าที่ไหม้ออกจากร่างกาย

ในการทำ CPR ควรปฎิบัติดังนี้ :

  1. วางข้อมือลงบริเวณตรงกลางของหน้าอก จากนั้นวางมืออีกข้างลงทับไปด้านบน ใช้นำหนักของร่างกายกดลงไปอย่างแรงและเร็ว โดยกดให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว เป้าหมายคือการกด 100 ครั้งต่อ 60 วินาที
  2. ช่วยเหลือการหายใจของผู้ป่วย ให้ทำดังนี้ ต้องมั่นใจว่าในปากของผู้ป่วยไม่มีสิ่งอื่นใด ดันศีรษะไปทางด้านหลัง ดันคางขึ้นมา บีบจมูกให้ปิดสนิท จากนั้นเป่าอากาศเข้าทางปากของผู้ป่วยโดยให้หน้าอกยกขึ้น ทำการช่วยเหลือโดยการเป่าปาก 2 ครั้ง จากนั้นให้ทำการกดหน้าอกต่อไป
  3. ทำตามขั้นตอนจนกว่ารถกู้ชีพจะมาถึงหรือจนกว่าผู้ป่วยกลับมาหายใจเองได้

สรุป

การถูกไฟฟ้าช็อตเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ไม่อาจมองเห็นได้เสมอไป ขึ้นกับขนาดของกระแสไฟฟ้าว่ามีขนาดสูงเพียงใด อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่รอดชีวิตจากการถูกไฟฟ้าช็อตควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว

หากคิดว่ามีผู้ที่ได้รับอันตรายที่รุนแรงจากการถูกไฟฟ้าช็อตควรโทร 191 

แม้ว่าจะถูกไฟฟ้าช็อตเพียงเล็กน้อยก็ควรที่จะไปพบแพทย์

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *