แครอทคืออะไร
แครอท (Carrot) คือรากของผักที่ปลูกครั้งแรกในอัฟกานิสถานเมื่อราวปี คศ. 900 แครอทสีส้มอาจเป็นสีที่รู้จักกันมากที่สุด แต่แครอทก็มีหลายสี ซึ่งรวมไปถึงสีม่วง เหลือง แดง และขาว แครอทในช่วงต้นๆคือแครอทสีม่วงหรือเหลือง แครอทสีส้มก่อเกิดขึ้นในยุโรปกลางราวปีศตวรรษที่ 15 หรือ 16
แครอทเป็นที่นิยมและเป็นผักอเนกประสงค์ที่มีรสชาติแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับสี ขนาดและสถานที่ปลูก น้ำตาลที่มีในแครอทช่วยทำให้แครอมมีรสหวานนิดๆ แต่มีรสส่วนใหญ่เป็นรสดินและขม
สารโภชนาการของแครอท
แครอทหนึ่งหน่วยบริโภคคือครึ่งถ้วย มี:
- แคลลอรี่ 25
- คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม
- ใยอาหาร 2 กรัม
- น้ำตาล 3 กรัม
- โปรตีน 0.5 กรัม
แครอทเป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ แครอทครึ่งถ้วยมีดังต่อไปนี้:
- วิตามินเอ 73% ของคำแนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน
- วิตามินเค 9% ของคำแนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน
- โปแตสเซียมและใยอาหาร 8% ของคำแนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน
- วิตามินซี 5% ของคำแนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน
- แคลเซียมและเหล็ก 2% ของคำแนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน
ประโยชน์ของแครอทเพื่อสุขภาพ
สรรพคุณของแครอทคือมีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมหาศาล และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ที่โดดเด่นมีดังต่อไปนี้:
แครอทดีต่อสุขภาพของดวงตาเพราะอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน เป็นสารประกอบที่ร่างกายเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยเรื่องสุขภาพของดวงตา และเบต้าแคโรทีนยังช่วยปกป้องดวงตาเราจากแสงแดดและลดโอกาสในการเกิดโรคต้อกระจกและปัญหาดวงตาอื่นๆ
แครอทสีเหลืองมีลูทีน ซึ่งดีต่อดวงตาของเรา จากการศึกษาพบว่าแครอทสามารถช่วยหรือป้องกันโรคจุดรับภาพเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งนำไปสู่สาเหตุของการสูญเสียการมองเห็น
แครอทยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง สารต้านอนุมูลอิสระเคยถูกพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระในร่างกายได้ และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง สารต้านอนุมูลอิสระในแครอทหลักๆมีอยู่สองชนิด คือ แคโรทีนอยด์และแอนโทไซยานิน สารแคโรทีนอยด์ทำให้แครอทมีสีส้มและเหลือง ในขณะที่แอนโทไซยานินมีส่วนเกี่ยวข้องกับสีแดงและม่วง
แครอทช่วยในเรื่องของหัวใจ ข้อแรก สารต้านอนุมูลอิสระทั้งหมดเหล่านั้นล้วยดีต่อสุขภาพของหัวใจ ข้อที่สอง สารโปแตสเซียมในแครอทสามารถช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้คงที่ และข้อสาม แครอทมีใยอาหาร ซึ่งสามารถช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่ดีและช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจ
แครอทสีแดงยังมีสารไลโคปีน ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
แครอทช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน วิตามินซีสามารถช่วยให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้เพื่อป้องกันระบบภูมิต้านทาน วิตามินซีสามารถช่วยให้ร่างกายรับและใช้ธาตุเหล็ก และช่วยป้องกันการติดเชื้อ
แครอทยังช่วยในเรื่องของภาวะท้องผูก หากคุณมีความยุ่งยากในเรื่องการขับถ่าย ให้ลองเคี้ยวแครอทดิบ ที่มีใยอาหารสูงเพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
แครอทสามารถควบคุมโรคเบาหวาน คนที่เป็นโรคเบาหวานมักได้รับคำแนะนำให้บริโภคผักที่ไม่ใช่แป้งสตาร์ชในปริมาณมาก ซึ่งรวมถึงแครอทด้วย ใยอาหารในแครอทสามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในการควบคุมได้ แครอทยังอุดมไปด้วยวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน ซึ่งมีหลักฐานว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวาน
อีกทั้งยังช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง แครอทมีแคลเซียมและวิตามินเค ซึ่งทั้งสองตัวนี้มีความสำคัญสำหรับสุขภาพของกระดูก
ความเสี่ยงและโทษของแครอท
หากมีการรับประทานเบต้าแคโรทีนมากเกินไป อาจทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีส้มเหลือง ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะแคโรทีนในเลือดสูง ซึ่งไม่อันตรายและปกติสามารถรักษาได้
การบริโภคเบต้าแคโรทีนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนมันเป็นวิตามินเอได้ เช่นในคนที่เป็นโรคไฮโปไทรอยด์
ในบางคน การรับประทานแครอทอาจทำให้เกิดอาการคันที่ปาก เป็นบางสิ่งที่เรียกว่ากลุ่มโรคภูมิแพ้ช่องปาก ร่างกายของคุณจะมีปฏิกิริยาต่อโปรตีนในผลไม้และผักบางชนิด
การเตรียมและการเก็บแครอท
ในการเตรียม ล้างแครอทให้สะอาดในน้ำและขัดคราบสิ่งสกปรกออก คุณสามารถปอกเปลือกด้วยเครื่องปอกผักหรือมีด
คุณอาจสไลด์ออกเป็นแท่งและกินแครอทดิบร่วมกับฮัมมูสหรือโยเกิร์ต หากคุณไม่ชอบแครอทแข็งๆ คุณอาจนำไปนึ่ง ต้มหรืออบและเสิร์ฟเป็นเครื่องเคียง และเหมาะในการนำมาทำเป็นอาหารคาวเช่นสตูว์เนื้อวัว พายสตูว์ไก่
แครอทสามารถเก็บได้หลายสัปดาห์ในลิ้นชักผักในตู้เย็น หากพบว่าใบสีเขียวด้านบนยังคงติดอยู่ ให้ตัดเล็มออกก่อนจากนั้นนำไปเก็บใส่ในถุงพลาสติกที่เจาะรูไว้
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก