สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน (Causes of Painful Menstrual Periods)

สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน (Causes of Painful Menstrual Periods)

31.08
977
0

เกี่ยวกับอาการปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนเกิดขึ้นเมื่อมีการลอกหลุดของเนื้อเยื่อในมดลูกเดือนละครั้ง อาการปวด เกร็งและไม่สบายตัวในระหว่างมีรอบเดือนถือว่าเป็นเรื่องปกติ การปวดที่มากเกินไปอาจมีสาเหตุทำให้ต้องหยุดงานหรือไม่สามารถไปโรงเรียนได้

อาการปวดท้องประจำเดือนที่เรียกว่าปวดประจำเดือนมีสองชนิด คือแบบปฐมภูมิกับทุติยภูมิ

อาการปวดท้องแบบปฐมภูมิเกิดขึ้นกับคนที่มีอาการก่อนเป็นประจำเดือน หากมีรอบเดือนเป็นปกติและมามีอาการปวดในช่วงตอนอายุมากขึ้นอาจเป็นการปวดแบบทุติยภูมิ ภาวะของอาการส่งผลกระทบต่อมดลูกหรืออวัยวะเชิงกรานเช่นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือเนื้องอกมดลูก

สาเหตุคืออะไร 

สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือนอาจไม่สามารถบอกได้เสมอไป บางคนอาจแค่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอาการปวดในช่วงมีประจำเดือน

ความเสี่ยงเหล่านี้คือ:

  • อายุน้อยกว่า 20 ปี
  • มีประวัติคนในครอบครัวเคยปวดท้องประจำเดือน
  • สูบบุหรี่
  • มีเลือดออกมาในช่วงมีรอบเดือน
  • มีรอบเดือนผิดปกติ
  • ยังไม่เคยมีบุตร
  • เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนอายุ 11 ปี

ฮอร์โมนที่เรียกว่าโพรสตาแกลนดินจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อในมดลูกที่ลอกหลุดของเนื้อเยื่อหดตัว การหดตัวนี้ก่อให้เกิดอาการปวดและการอักเสบ ระดับของโพรสตาแกลนดินจะพุ่งขึ้นสูงก่อนจะเริ่มมีประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนอาจส่งผลต่อภาวะอาการอื่นๆเช่น:

  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) คืออาการปกติทั่วไปที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดขึ้นราว 1 ถึง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน อาการมักหายไปหลังเลือดประจำเดือนมา
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นอาการปวดที่เกิดจากเซลล์จากเนื้อเยื่อในมดลูกไปเจริญเติบโตในส่วนอื่นๆของร่างกาย มักเกิดขึ้นที่ท่อรังไข่ หรือรังไข่หรือเนื้อเยื่อกระดูกเชิงกราน
  • เนื้องอกมดลูก เนื้องอกไฟบรอยด์คือเนื้องอกที่ไม่ได้เป็นแบบมะเร็งที่สามารถไปกดทับในมดลูกหรือเป็นสาเหตุของการมีรอบเดือนที่ผิดปกติและปวด   
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID) คือการติดเชื้อในมดลูก ท่อรังไข่หรือรังไข่ที่มักมีสาเหตุมากจากการติดเชื้อแบคทีเรียทางเพศสัมพันธ์ เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบในอวัยวะสืบพันธ์และมีอาการปวด
  • อะดีโนไมโอซีส เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยมากนักของเนื้อเยื่อเจริญเติบโตเข้าไปในผนังกล้ามเนื้อของมดลูก เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบ แรงกดและอาการปวด และยังส่งผลให้มีรอบเดือนหนักและยาวนานได้ 
  • โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบส่วนคอ คือโรคที่พบได้ยากที่เกิดขึ้นที่ปากมดลูกเล็กหรือแคบทำให้การไหลของเลือดประจำเดือนช้า เป็นสาเหตุทำให้เพิ่มแรงดันภายในมดลูกที่เป็นสาเหตุของอาการปวด

Causes of Painful Menstrual Periods

การรักษาที่บ้าน

การรักษาที่บ้านสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ ลองทำสิ่งต่อไปนี้ที่บ้าน:

  • ใช้แผ่นความร้อนบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือแผ่นหลัง
  • นวดหน้าท้อง
  • อาบน้ำอุ่น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารมื้อเบาๆและเต็มไปด้วยสารอาหาร
  • ฝึกใช้เทคนิคการผ่อนคลายหรือโยคะ
  • รับประทานยาแก้อักเสบเช่นไอบูโรเฟน 2-3 วันก่อนวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมา
  • รับประทานวิตามินและอาหารเสริมเช่น:
    • วิตามินบี6
    • วิตามินบี1
    • วิตามินอี
    • กรดไขมันโอเมก้า-3
    • แคลเซียม
    • แมงกานีส
    • ยกขาสูงหรือนอนงอเข่า
    • ลดการรับประทานเกลือ แอลกอฮอล์ คาเฟอีนและน้ำตาลเพื่อป้องกันอาการท้องอืด

ควรปรึกษาแพทย์เมื่อไร

หากอาการปวดประจำเดือนไปรบกวนความสามารถในการทำงานในแต่ละเดือนอาจต้องถึงเวลาปรึกษานรีแพทย์

ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการและหากมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ยังคงมีอาการปวดท้องปวดหลังการใส่ห่วงคุมกำเนิด
  • มีอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างน้อย 3 ครั้ง
  • มีลิ่มเลือด
  • มีอาการปวดเกร็งร่วมกับอาการท้องเสียและคลื่นไส้
  • ปวดอุ้งเชิงกรานแม้ในตอนที่ไม่มีรอบเดือน

มีอาการปวดเกร็งหรือปวดอุ้งเชิงกรานกระทันหันอาจเป็นสัญญานของการติดเชื้อ การติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดแผลเป็นเนื้อเยื่อที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะในอุ้งเชิงกรานและอาจนำไปสู่ภาวะการมีบุตรยาก

หากคุณมีอาการของการติดเชื้อ ให้พบแพทย์:

  • มีไข้
  • ปวดอุ้งเชิงกรานอย่างรุนแรง
  • ปวดอย่างกระทันหันโดยเฉพาะหากคุณกำลังตั้งครรภ์
  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น

การวินิจฉัย

เมื่อคุณพยายามจะหาสาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจอุ้งเชิงกรานเพื่อตรวจเช็คระบบสืบพันธ์ว่ามีความผิดปกติหรือไม่และเพื่อมองหาสัญญานของการติดเชื้อ

หากแพทย์คิดว่าคุณอาจมีภาวะโรคที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดอาการดังกล่าว แพทย์อาจจะสั่งตรวจเพิ่มเติมเช่น:

  • การอัลตร้าซาว์น
  • การทำซีทีสแกน
  • การทำเอ็มอาร์ไอ

ขึ้นอยู่กับผลการตรวจที่ได้มา แพทย์อาจสั่งตรวจส่องกล้อง เป็นการตรวจโดยแพทย์เป็นการผ่าตัดเล็กที่หน้าท้องโดยแพทย์จะสอดท่อไฟเบอร์ออฟติกที่มีกล้องติดอยู่ที่ส่วนปลายเข้าไปดูข้างในช่องท้อง

การรักษาด้วยยา

หากการรักษาที่บ้านไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ ยาอาจถูกนำมาเป็นทางเลือกในการรักษา

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของการปวด หากภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบหรือโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุของอาการปวด แพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดการติดเชื้อ

แพทย์อาจสั่งจ่ายยารวมไปถึง:

  • ยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ ยานี้สามารถหาชื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไปหรืออาจได้ชนิดที่แรงขึ้นจากแพทย์
  • ยาบรรเทาอาการปวดอื่นๆ รวมถึงยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่นอะเซตามีโนเฟน (ไทลินอล)หรือยาแก้ปวดชนิดแรงตามแพทย์สั่ง
  • ยาแก้ซึมเศร้า บางครั้งสามารถช่วยให้อารมณ์ขึ้นๆลงๆที่เกิดจากการมีรอบเดือนดีขึ้นได้

แพทย์อาจจะแนะนำให้ลองทานยาคุมกำเนิดเพื่อแก้อาการ ยาคุมกำเนิดมีทั้งแบบชนิดยาเม็ด แผ่นแปะ แบบวงแหวนช่องคลอด ฉีด ฝังหรือใส่ห่วงคุมกำเนิด ฮอร์โมนนี้จะไปป้องกันการตกไข่ ซึ่งสามารถควบคุมอาการปวดท้องเกร็งประจำเดือนได้

การผ่าตัดสามารถรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือเนื้องอกมดลูกได้ เป็นทางเลือกในการรักษาหากพบว่าการรักษาทางอื่นไม่ได้ผล 

พบได้ยากมากสำหรับการผ่าตัดมดลูก (การผ่าตัดเพื่อนำมดลูกออกจากร่างกาย) คือทางเลือกหากการรักษาอื่นไม่ได้ผลและอาการปวดมีความรุนแรง หากต้องมีการผ่าตัดมดลูกก็จะไม่สามารถมีบุตรได้อีก ทางเลือกนี้จึงมักใช้กับคนที่ไม่มีแผนจะมีบุตรหรือถึงช่วงปลายของวัยเจริญพันธ์แล้ว

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *