สมองขาดออกซิเจน (Cerebral Hypoxia) เกิดขึ้นเมื่อออกซิเจนที่ลำเลียงไปยังสมองนั้นถูกทำให้ลดลง ซึ่งปกติแล้วเกิดจากเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลง แต่ไม่ได้ขาดไปอย่างสิ้นเชิง
สมองนั้นอยู่ได้โดยออกซิเจน แม้ว่าจะเป็นเพียง 1 นาทีที่ไม่ได้รับออกซิเจนก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง ภาวะสมองขาดออกซิเจนเกิดขึ้นเมื่อสมองนั้นไม่ได้รับออกซิเจนเลย เมื่อออกซิเจนที่ไปเลี่ยงสมองนั้นลดลง ซึ่งปกติมาจากเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลง จึงทำให้สมองขาดออกซิเจน
ใบบางกรณี สมองจะตอบสนองต่อภาวะนี้โดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่สมองเพื่อที่จะได้รับออกซิเจนมากขึ้น ถึงแม้ว่าการตอบสนองของสมองแบบนี้จะช่วยชีวิตของเราจากการขาดออกซิเจนได้ แต่มันก็สามารถทำให้เกิดอาการทางหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น เลือดออกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง และ เส้นเลือดในสมองแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดอยู่แล้ว
สมองขาดออกซิเจนสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองในทันที และระยะยาว ซึ่งการหายจากภาวะสมองขาดออกซิเจนที่รุนแรงนั้นไม่สามารถคาดเดาได้ หากคุณสงสัยว่ามีภาวะสมองขาดออกซิเจน ควรรีบพบแพทย์ทันที
ประเภทของสมองขาดออกซิเจน
แพทย์จำแนกการขาดออกซิเจนออกเป็น 4 ชนิด เรียงตามความรุนแรงน้อยสุดไปมากสุด:
-
สมองขาดออกซิเจนประเภท Diffuse cerebral hypoxia ทำให้การทำงานของสมองบกพร่องเนื่องจากออกซิเจนในเลือดต่ำมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงปานกลาง สมองขาดออกซิเจนชนิดนี้เกิดขึ้นในผู้เล่นกีฬาชนิดที่ต้องกลั้นหายใจเป็นเวลานาน หรือกีฬาที่ต้องถูกล็อคจากคู่ต่อสู้ เช่น กีฬายิวยิตสู
-
สมองขาดออกซิเจนประเภท Focal cerebral ischemia เกิดขึ้นเมื่อสมองบางส่วนได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นโดยปกติเป็นผลมาจาก เลือดออก เส้นเลือดแตก หรือเส้นเลือดอุดตัน
-
สมองขาดออกซิเจนชนิด Global cerebral ischemia คือการหยุดไหลเวียนของเลือดในสมอง และทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดอย่างรวดเร็ว เส้นเลือดในสมองแตกอย่างรุนแรง อาการบาดเจ็บ เช่น แผลที่ถูกยิง การถูกบีบคอ และการขาดอากาสหายใจทำให้เกิดภาวะที่สมองมีการขาดเลือดทั้งหมด
-
สมองขาดออกซิเจนประเภท Cerebral infarction คือการหยุดไหลเวียนของเลือดในสมองหลายจุด ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เส้นเลือดแตกในสมองเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย
อาการของสมองขาดออกซิเจน
สมองขาดออกซิเจนเป็นเหตุเร่งด่วนทางการแพทย์ และผู้ป่วยก็มักจะรู้สาเหตุหากเป็นการบาดเจ็บจากการตกลงมาจากที่สูงหรือลื่นล้ม แต่หากเป็นเส้นเลือดในสมองแตกหรือปัญหาอื่น ๆ อาการจะแสดงออกมาช้ากว่า
สัญญาณเตือนว่าสมองของคุณกำลังขาดออกซิเจน:
-
รู้สึกวิงเวียนศีรษะ
-
ความดันในสมองสูง หรือ หน้าแดง ซึ่งเป็นการที่ร่างกายสูบฉีดเลือดเพื่อที่จะไปทดเเทนออกซิเจนที่ขาด ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดหัวรุนแรง
-
หมดสติ
-
ชัก
-
อารมณ์ พฤติกรรม การตัดสิยใจ เปลี่ยนไป การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ แย่ลง หลงลืม หรือ ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน
-
อ่อนเพลีย โดยเฉพาะอ่างยิ่งเพียงข้างเดียวของร่างกาย ซึ่งหากมีอาการเส้นเลือดในสมองแตกจะไม่สามารถยกแขนสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ ยิ้ม หรือเป็นอัมพาตครึ่งหน้าได้
-
มีเลือดออกอย่างฉับพลันรอบใบหน้า เส้นเลือดในตาแตก
ผลข้างเคียงระยะสั้นและระยะยาวของภาวะสมองขาดออกซิเจน
ผลข้างเคียงของสมองขาดออกซิเจนนั้นขึ้นอยู่กับว่าสมองขาดออกซิเจนเป็นเวลานานเท่าใด หากขาดออกซิเจนเป็นเวลาสั้น ๆ ก็จะไม่มีผลข้างเคียงใดเลย ตัวอย่างเช่น นักมวยปล้ำที่หมดสติเพราะถูกล็อคที่คอ เมื่อฟื้นขึ้นมาแล้ว สมองจะทำงานตามปกติ แต่ผู้ที่ขาดออกซิเจนในช่วงสั้น ๆ เช่นนี้ ก็ยังจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้:
เสียการรับความรู้สึก 1 หรือ 2 จุดในร่างกาย
สับสน ความจำและการตัดสินใจมีปัญหา
หมดสติ
มองเห็นไม่ชัด หรือสายตาไม่สามารถโฟกัสได้
รู้สึกพะอืดพะอมหรือวิงเวียน
มีอาการปวดหัว ระหว่าง หรือหลังจากการขาดออกซิเจน
หากภาวะสมองขาดออกซิเจนนั้นยาวนานกว่า 60 วินาที มันมักจะทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาว หากเกิดขึ้น 2 นาที ความเสียหายของสมองก็จะมากขึ้นไปอีก และหากเป็น 3-4 นาที ก็จะทำให้สมองเกือบที่จะตาย ผลข้างเคียงในระยะยาว มีดังนี้:
-
สมองถูกทำลายเฉพาะจุด การทำนายอาการของโรคนั้นขึ้นอยู่กับบริเวณที่เสียหายของสมอง เช่น หากสมองส่วนที่ถูกทำลายเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับการพูดและภาษาอาจทำให้เกิดถาวะบกพร่องทางภาษา (aphasia)
-
การหมดสตินาน ๆ นั้นเป็นภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยบางคนอาจเข้าสู่สภาพผัก (เจ้าหญิงนิทรา) การหมดสติเช่นนี้อาจทำให้สมองรักษาตัวเอง แต่ก็อาจเป็นถาวรได้เช่นกัน
-
โรคลมชัก หรือ ชัก
-
มีความเสียหายต่อทักษะทางด้านกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็ก บางครั้งเกิดขึ้นเพียงแค่ข้างเดียวของร่างกาย
-
เสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตทันทีหลังจากขาดออกซิเจน หรือ เสียชีวิตเพราะผลข้างเคียงจากการขาดออกซิเจน
-
ความพิการของทารกแรกเกิด ภาวะสมองขาดเลือดนั้นเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บขณะคลอด ทารกที่ขาดออกซิเจนเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น ภาวะสมองพิการ
การรักษาสมองขาดออกซิเจน
การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการนำส่วนที่ทำให้เกิดการขาดออกซิเจนออก ซึ่งอาจต้องใช้วิธี Heimlich maneuver หรือการใส่ท่อ เส้นเลือดขอดอาจต้องถูกนำออก หรือผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าอาการขากออกซิเจนจะดีขึ้น
หลังจากนั้น ไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจงต่อภาวะสมองขาดออกซิเจน สมองเป็นอวัยวะที่ลึกลับ และเราก็ยังไม่รู้ว่าเราจะทำให้สมองที่เสียหายไปแล้วนั้นกลับมาอย่างไรหรือจะสร้างเซลล์สมองขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร แพททย์จึงมุ่งเป้าไปที่การรักษาอาการแทน ซึ่งหมายถึงการฝึกให้ร่างกายรู้จักใช้กล้ามเนื้ออีกครั้งผ่านกิจกรรมบำบัด และการบำบัดการพูดเป็นการสอนให้สมองทำงานร่วมกับสมองส่วนที่เสียหาย การบำบัดเหล่านี้ท้าทายและอาจทำให้ท้อแท้ แต่ยิ่งคุณท้าทายสมองของตัวเองเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งพัฒนาการทำงานได้ดีขึ้นไปอีก การรักษาอื่น ๆ มีดังนี้:
-
ยาเพื่อป้องกันภาวะสมองขาดออกซิเจนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ซึ่งอาจรวมไปถึงยาเจือจางเลือด
-
ยาปฏิชีวนะที่ช่วยรักษาอาการิดเชื้อที่เกิดหรือเป็นผลมาจากการขาดออกซิเจน
-
การผ่าตัดเพื่อนำส่วนที่ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดออก
-
การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น รถเข็น เพื่อช่วยให้เคลื่อนไหวได้จากทักษะกล้ามเนื้อที่สูญเสียไป
-
การบำบัดทางจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณกับครอบครัวหาทางออกที่มีประสิทธิภาพที่จะจัดการกับผลข้างเคียงระยะสั้นและระยะยาวได้
นี่คือที่มาในบทความของเรา
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก