กระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังรวมถึงกระดูกก้านคอหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า cervical spine
นอกจากนี้อาการนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆได้แก่ข้อต่อกระดูกคออักเสบ โรคกระดูกต้นคออักเสบหรือโรคกระดูกข้อต่อเสื่อม
กระดูกก้านคอหมายถึงกระดูกสันหลังชิ้นเล็ก 7 ชิ้นที่อยู่บริเวณคอที่เป็นฐานของกระโหลก
โรคกระดูกคอเสื่อมเกิดขึ้นที่บริเวณขอบของกระดูกสันหลังโดยปกติมักเกิดเป็นกระดูกงอกหรือเรียกว่าภาวะกระดูกงอก (osteophytes) เมื่อเวลาผ่านไปหมอนรองกระดูกไขสันหลังจะบางลงและมีมวลกระดูกลดลงส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกคอเสื่อม
อาการข้อต่อที่คอบวมเรียกว่าข้อฟาเช็ต (facet joint) ทำให้เกิดแรงดันหรือเบียดเข้าไปในบริเวณที่ใกล้กับรากประสาทไขสันหลังหรือกระดูกสันหลังจึงทำให้เกิดอาการเหน็บชาหรือ “เจ็บปวดเหมือนถูกเข็มแทง” ที่แขนและขาหรือบางครั้งอาจรู้สึกเจ็บปวดที่ลำตัว
ในบางกรณีโรคนี้อาจทำให้สูญเสียความรู้สึกและไม่สามารถขยับร่างกายได้ ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถเดินได้ตามปกติ
ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีอาการกระดูกเสื่อมเกิดขึ้นเมื่อพวกเขามีอายุเพิ่มมากขึ้น สถาบันศัลยแพทย์โรคกระดูกแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อมูลว่า 85% ของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปเป็นโรคกระดูกสันหลังที่คอเสื่อม
สาเหตุของโรคกระดูกคอเสื่อม
โรคกระดูกคอเสื่อมเกิดขึ้นเนื่องจากกระดูกสันหลังที่คอเสื่อมและชำรุดหรือสึกหรอเป็นเวลานาน ซึ่งอาการบาดเจ็บที่คออาจทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมบางอย่างที่ทำให้ระยะสั้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกคอเสื่อมได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการยกของหนัก การฝึกฝนกายกรรมหรือนักเต้นและนักกีฬายิมนาสติก
ในงานวิจัยบางประเภทระบุว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคนี้เนื่องจากโรคกระดูกคอเสื่อมเกิดจากพันธุกรรมที่ได้รับมาจากคนในครอบครัว
โดยปกติอาการของโรคกระดูกคอเสื่อมมักเริ่มมีอาการปรากฎขึ้นหลังจากอายุ 40 และมีอาการรุนเเรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เร็วกว่าผู้หญิง
นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกคอเสื่อม
อาการของกระดูกคอเสื่อม
โรคกระดูกคอเสื่อมเป็นโรคข้อต่ออักเสบชนิดหนึ่งและทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและคอตึง
ในกรณีส่วนใหญ่มักมีอาการเจ็บปวดและคอตึง บางครั้งอาจมีอาการปวดศรีษะร่วมด้วย
โดยอาการปวดคอที่เกิดขึ้นอาจเกิดอาการปวดร้าวลงไปที่หัวไหล่ แขนและมือรวมถึงฐานของกระดูกกะโหลกเป็นสาเหตุทำเกิดอาการเจ็บปวดเมื่อขยับศีรษะเเละมีอาการเจ็บปวดรุนเเรงมากขึ้น
อาการปวดเมื่อยคอเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อไม่ขยับคอเป็นเวลานานตัวอย่างเช่นอาการปวดคอหลังจากนอนหลับ
อาการปวดศีรษะเริ่มต้นขึ้นที่ด้านหลังคอและจากนั้นจะค่อยๆมีอาการปวดร้าวลงไปลำตัวด้านหน้า
บางครั้งอาการปวดคออาจเกิดจากกระดูกกดทับเส้นเลือดที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อเส้นเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงสมองจึงทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะเเละเส้นเลือดอุดตัน
อาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเช่นระบบขับถ่ายเเละขับปัสสาวะทำงานผิดปกติ
นอกจากนี้อาจมีอาการแขนขาอ่อนเเรงและสูญเสียความถนัดของร่างกาย ซึ่งบางคนอาจเกิดอาการกลืนลำบาก เนื่องจากเกิดกระดูกกดทับหลอดอาหาร
การรักษากระดูกคอเสื่อม
โดยปกติโรคกระดูกคอเสื่อมเป็นโรคที่ไม่มีอาการแสดงออกมาและเมื่อเกิดโรคนี้ขึ้นอาการของโรคจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไปโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้าหากมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น การรักษาสามารถช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้
ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการชักกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณคอซึ่งเป็นอาการที่กล้ามเนื้อเกิดการหดเกรงเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ยา cyclobenzaprine ที่ออกฤทธ์ช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เช่นกัน
กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าเช่นยา amitriptyline สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรังที่ไม่มีอาการดีขึ้นเมื่อใช้ยาชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ยา Gabapentin เป็นอีกทางเลือกหนึ่งได้
การฉีดยาสเตียรอยด์ที่คอสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรงได้
ตัวอย่างการใช้ยาสเตียรอยด์ได้แก่
- การฉีดยาคลายจุดเจ็บในกล้ามเนื้อโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การฉีดยาระงับปวดที่ข้อต่อฟาเซ็ต
- การฉีดยาสเตียรอยด์ที่เยื่อหุ้มกระดูกไขสันหลังส่วนคอด้วยการดูภาพรังสีบนจอและใช้การเอกซเรย์ช่วย
นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัดยังสามารถช่วยบรรเทาอาการต่างที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย
การผ่าตัด
ในกณีที่มีอาการบาดเจ็บปวดคอเรื้อรังและมีอาการคอตึงอย่างรุนเเรง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทที่สามารถเกิดขึ้นได้
การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาดังต่อไปนี้
- มีอาการเจ็บปวดที่คออย่างรุนเเรงและปวดร้าวลงไปที่แขน
- สูญเสียความรู้สึก
- กล้ามเนื้ออ่อนเเรง
- สูญเสียการทำงานของระบบขับถ่ายและขับปัสสาวะ
ถ้าหาผลตรวจด้วยภาพ MRI พบว่าเกิดการกดทับที่บริเวณรากประสาทบนกระดูกไขสันหลังที่เรียกว่าหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท การผ่าตัดสามารถช่วยรักษาได้
ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดเพื่อนำปุ่มกระดูกที่งอกขึ้นมาออกไปและยังสามารถผ่าตัดนำส่วนที่เกินออกมาจากหมอนรองกระดูกออกเพื่อลดแรงกดทับที่บริเวณรากประสาทบนกระดูกไขสันหลังรวมถึงกระดูกไขสันหลัง
การผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งเรียกว่าการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนคอที่เป็นการรักษาเพื่อช่วยลดแรงกดดันบนรากของกระดูกข้อต่อและกระดูกไขสันหลัง
การรักษาที่บ้าน
การออกกำลังกายที่สามารถทำได้ที่บ้านสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากโรคกระดูกคอเสื่อมได้
คนทั่วไปส่วนใหญ่สามารถหาซื้อยาตามร้านขายยาได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับใบสั่งยาจากเเพทย์
ยาที่ใช้รักษาได้แก่
- ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรรอยด์ (NSAIDS) บางยี่ห้อสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้เช่นยาไอบลูโพรเฟนหรือยานาพรอกเซน
- ยาแก้ปวดอะเซตามีโนเฟนที่ใช้บรรเทาอาการปวดอย่างเช่นยาไทลินอล
สำหรับผู้ที่ปวดด้วยโรคหอบหืด โรคตับ โรคไต โรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูงหรือมีประวัติเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารไม่ควรใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรรอยด์ (NSAIDS) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดรุนเเรงแพทย์อาจให้ยาแก้ปวดชนิดอื่นเพื่อบรรเทาอาการปวด
วิธีการรักษาประเภทอื่นได้แก่
- การออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยทำให้รักษาอาการเจ็บปวดได้เร็วมากขึ้น
- ใช้แผ่นเจลร้อนหรือแผ่นเจลเย็นประคบ วิธีการรักษานี้สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อคอได้ซึ่งแผ่นเจลร้อนเเละแผ่นเจลเย็นสามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้
- การสวมใส่เฝือกคอแบบอ่อนเป็นการบรรเทาอาการปวดชั่วคราว โดยผู้ป่วยสามารถสวมใส่เฝือกคอในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามการสวมใส่เฝือกเป็นเวลานานสามารถทำให้กล้ามเนื้อคออ่อนเเรงได้
การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ไม่รุนเเรงได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนเเรงควรไปพบเเพทย์เพื่อทำการรักษา
ข้อสรุปเกี่ยวกับโรคกระดูกคอเสื่อม
- เกือบ 85 เปอร์เซนต์ของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ขึ้นไปเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการเจ็บปวด
- การออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อบริเวณคอสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดเเละคอตึงได้
- การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือการฉีดยาสเตียรอยด์และการทำกายภาพบำบัดสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดี สำหรับในกรณีที่เกิดกระดูกคออักเสบอย่างรุนเเรงสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้
- อาการของโรคกระดูกคอเสื่อมได้แก่อาการเจ็บปวดเเละอ่อนเเรง ในกรณีที่รุนเเรงหมอนรองกระดูกสันหลังเข้าไปกดทับเส้นประสาททำให้หมดสติและเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cervical-spondylosis/symptoms-causes/syc-20370787
- https://www.nhs.uk/conditions/cervical-spondylosis/
- https://www.healthline.com/health/cervical-spondylosis
- https://www.webmd.com/osteoarthritis/cervical-osteoarthritis-cervical-spondylosis
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก