พัฒนาการเด็ก (Child Development) 

พัฒนาการเด็ก (Child Development) 

02.07
1670
0

ในฐานะของคนเป็นพ่อแม่ เราจะทำทุกอย่างที่เราสามารถทำได้เพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของลูกเราดีขึ้น  เราอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล ถามคำถามมากมายเพราะเรารู้ดีว่าพัฒนาการของเด็กในช่วงภายในห้าปีแรกของเด็กมีความสำคัญมาก หนึ่งในหัวข้อที่เริ่มเป็นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงดูคือเรื่องพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้การเข้าใจ  ไม่มีทางที่เด็กสองคนจะมีพัฒนาการเหมือนกันในช่วงเวลาเดียวกันทุกอย่างช่วงเวลาดังกล่าวคือช่วงเวลาที่อ่อนไหวซึ่งเป็นเวลาที่สำคัญในการพัฒนาหลักของเด็ก เด็กจะมีการเรียนที่สำคัญตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบ ในช่วงขวบปีแรกการพัฒนาของเด็กจะเป็นเรื่องของสุขภาพ ความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตโดยรวม ซึ่งคนเป็นพ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กสามารถมีการเจริญเติบโตและการพัฒนาการที่ดีได้ 

การพัฒนาการและการเจริญเติบโตทางร่างกาย

คำที่มักนำมาใช้ในการให้ความสำคัญในการพัฒนาการทางร่างกายคือคำว่า เหตุการณ์สำคัญในชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญในการพัฒนาการคือการพูดถึงความสามารถของเด็กท่สามารถทำได้ในช่วงอายุบางช่วง ในช่วงขวบปีแรกของชีวิตเด็ก เหตุการณ์สำคัญทางกายคือการเรียนรู้วิธีการเคลื่อนไหวตัวเองหลักๆ การจับกำวัตถุสิ่งของ การพัฒนาการด้ารทำงานประสานกันของมือ-ปาก เพราะการเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็วมากในช่วงก่อนหนึ่งขวบ เหตุกาณ์สำคัญในชีวิตจึงต้องแยกออกเป็นช่วงรายเดือน

ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 เดือน

ในช่วงระหว่างของกรอบเวลานี้ เด็กแรกเกิดจะเริ่มสร้างรากฐานของตัวเอง การดูด การต่อสนองต่อปฏิกิริยาจับ เด็กทารกจะเริ่มจับ ดึงมือตนเอง กำหมัดและนำมันเข้าปาก ทั้งหมดนี้คือการเรียนรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายตนเองซ้ำๆ หนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญในชีวิตทางกายที่เห็นได้ชัดส่วนใหญ่คือการพยายามควบคุมศีรษะตนเอง เด็กทารกจะเริ่มยกศีรษะตนเองขึ้นสองสามวินาทีได้เมื่อมีคนช่วย และมีการเรียนรู้วิธียกศีรษะขึ้นได้เล็กน้อยเมื่อโดนจับนอนคว่ำ

พ่อแม่สามารถช่วยพัฒนาการทางร่างกายนี้ได้ด้วยการทำสิ่งที่เรียกว่า “การฝึกคว่ำ” คือชาวงเวลาเล่นกับเด็กโดยให้เด็กนอนคว่ำในขณะที่ตื่น การฝึกคว่ำจะช่วยทำให้คอ หลังและแขนของเด็กมีความแข็งแรง ซึ่งการทำเช่นนี้ยังช่วยพัฒนาการในเรื่องของทักษะการเคลื่อนไหว ทักษาะการใช้มือ ทักษะการมองเห็นและแม้แต่ด้านการพูดและการทักษะการกิน

3 ถึง 6 เดือน

ในช่วงอายุนี้เด็กจะเริ่มมีการพัฒนาการด้านความคล่องแคล่วและความแข็งแรงมากขึ้น เด็กเล็กส่วนใหญ่จะเริ่มกลิ้งตัว ลุกนั่งเมื่อมีคนช่วย ดึงตัวเองไปข้างหน้า ดังตัวเองขึ้นได้โดยจับขอบราวกั้นของเตียงหรือของแข็งอื่นๆ จะหยิบสิ่งของเข้าปาก ไขว่คว้าหาสิ่งของ และเล่นกับของเล่นได้ ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลสามารถช่วงส่งเสริมพัฒนาการในระหว่างระยะนี้ได้ด้วยการหาของเล่นที่มีความแตกต่างและสิ่งของที่ให้ความรู้สึกที่ต่างกันมาให้เด็ก

6 ถึง 9 เดือน

ในระหว่างเวลานี้ เด็กจะเริ่มมีการเคลื่อนที่ได้มากขึ้น พวกเขามักจะชอบคว้าและดึงสิ่งของเข้าหาตัว สามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องมีสิ่งรองรับ สามารถส่งของอีกมือหนึ่งไปสู่อีกมือหนึ่งได้ และบางคนอาจเริ่มคลาน

9 ถึง 12 เดือน 

การพัฒนาการในช่วงนี้ เด็กส่วนใหญ่จะสามารถดึงตัวเองขึ้นตำแหน่งได้แล้ว สามารถยืนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคนช่วย เริ่มออกก้าวเดินก้าวแรก หยิบสิ่งของและปาทิ้ง กลิ่งลูกบอล และหยิบสิ่งของด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เหตุการณ์สำคัญในชีวิตหลักๆในช่วงนี้คือการลุดขึ้นยืนและเริ่มเดิน เป็นการพัฒนาการความสามารถของเด็กที่เริ่มนำไปสู่การพัฒนาการการเคลื่อนไหวที่ก้าวหน้ามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดI

ระหว่างช่วงตั้งแต่หนึ่งขวบไปจนถึง 5 ขวบ การเติบโตทางร่างกายยังคงมีต่อไปอย่างมหาศาล แต่ขอบเขตการพัฒนาการจะเริ่มกว้างมากขึ้น ต่อไปนี้คือรูปแบบสองสามอย่างที่เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในชีวิตของการพัฒนาการในช่วงระหว่างปีนี้

1 ถึง 2 ขวบ 

  • หยิบจับสิ่งของขณะลุกขึ้น
  • เดินถอยหลัง
  • ระบายสีหรือวาดรูปด้วยใช้แขนทั้งแขน
  • ขีดเขียนด้วยปากกาเมจิหรือสีเทียน
  • หมุนลูกบิดประตูหรือด้ามจับ
  • เดินขึ้นลงบันไดได้โดยไม่ต้องมีคนช่วย
  • มีการเคลื่อนไหวและโยกย้านต่อเสียงเพลง

2 ถึง 3 ขวบ 

  • วิ่งตรงไปข้างหน้า
  • กระโดดไปอีกทีหนึ่ง
  • เตะลูกบอล
  • ยืนด้วยขาข้างเดียวได้
  • เปิดหน้าหนังสือได้
  • วาดรูปวงกลมได้
  • ถือสีเทียนหรทอปากการด้วยนิ้วหัวแม่มือและและนิ้วชี้

3 ถึง 4 ขวบ

  • ขี่จักรยานหรือสกูตเตอร์
  • ลื่นลงจากไม้ลื่นได้โดยไม่ต้องมีคนช่วย
  • ขว้างและรับลูกบอลได้
  • ดึงและขับควบคุมของเล่นได้
  • เดินบนเส้นตรงได้
  • ต่อบล็อคขึ้นวูงเป็นตึกได้
  • ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆได้

4 ถึง 5 ขวบ

  • กระโดดด้วยขาข้างเดียวได้
  • เดินถอยหลังได้
  • ตีลังกาได้
  • ตัดกระดาษด้วยกรรไกรที่มีความปลอดภัยได้
  • ลอกเลียนแบบรูปทรง 

การช่วยเหลือเด็กให้ไปถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิตทางร่างกาย

โดยรวมทั้งหมดของความก้าวหน้าของการพัฒนาทางร่างกายในช่วงระหว่างตอนต้นของชีวิตคือสิ่งน่าอัศจรรย์ใจในการเฝ้าสังเกตุ และคนเป็นพ่อแม่ได้สิทธิ์นั่งแถวหน้าในเรื่องนี้ หนึ่งในทางที่ดีที่สุดคือครอบครัวที่สามารถช่วยการพัฒนาการของเด็กได้ด้วยการช่วยเหลือสนับสนุนและสร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อช่วยเหลือเด็ก สำหรับเด็กทารกนั่นหมายความถึงห้องเล็กๆที่มีพื้นที่ให้เขาได้กลิ้ง คลานและเล่น รวมถึงมีสิ่งของรอบตัวที่มีความปลอดภัยเพื่อเป็นการฝึกฝนการคว้าจับ การเขย่าและการนำเข้าใส่ปาก

ในวัยเตาะแตะ ทักษะการเคลื่อนไหวสามารถมีการพัฒนาอย่างมากเมื่อพ่อแม่เตรียมของเพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กได้ฝึกฝนความสามารถใหม่ๆผ่านกิจกรรมทางร่างกาย ด้วยการให้พื้นที่ เวลาและแหล่งที่พวกเขาต้องการในการเตะ ปีน วิ่ง กระโดดและทรงตัวคือสิ่งสำคัญในการช่วยด้านการเติบโตของเด็กและช่วพัฒนาด้านสุขภาพ พ่อแม่สามารถช่วยพวกลูกๆด้วยการเล่นร่วมกันทั้งการเล่นต่อปริศนา การวาดรูป การตัดด้วยกรรไกรที่มีความปลอดภัยหรือร้อยลูกปัดก็จะช่วยให้เด็กสร้างเสริมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และยังช่วยเรื่องการประสานงานของตาและมือให้ดีขึ้น จำไว้ว่า เด็กทุกคนล้วนต้องการการพัฒนาในช่วงต้นของชีวิต ด้วยพื้นที่ที่ปลอดภัยในการออกไปผจญโลกรอบตัวของพวกเขา และการดูแลจากผู้ใหญ่เพื่อช่วยเหลือพวกเขา 

Child Development

การพัฒนาการด้านการเรียนรู้และการเข้าใจ

จากข้อมูลของทาง  the Rauch Foundation พบว่าสมองของคนเรา 85 เปอร์เซ็นต์ถูกพัฒนามาจากช่วงชีวิต 5 ปีแรก  ดังนั้น ช่วง 5 ขวบแรกของชีวิตจึงมีเป็นช่วงที่สำคัญต่อการพัฒนาการ ด้วยการพัฒนาการทางร่างกาย การรู้คิดและเข้าใจจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ:

แรกเกิดถึง 3 เดือน 

ในระหว่างช่วงเวลานี้ ทารกส่วนใหญ่จะเริ่มมองเห็นสิ่งของได้ชัดเจนมากขึ้น สามารถโฟกัสการเคลื่อนไหวจาอสิ่งของและใบหน้า สามารถแยกแยะรสชาติที่แตกต่างกัน รู้ความต่างของเสียงและความสูงต่ำของเสียง เริ่มมองเห็นสี สามารถแสดงอารมณ์ทางสีหน้าได้และมีพฤติกรรมที่คาดหวัง เช่นการควานหาจุกนม

3 ถึง 6 เดือน

เด็กทารกจะเริ่มสร้างการรับรู้ด้านความรู้สึกมากขึ้น และเริ่มจดจำใบหน้าที่คุ้นเคย ตอบสนองต่อการแสดงสีหน้าของคนอื่น จดจำและมีปฏิกิริยาต่อเสียงที่คุ้นเคย และเริ่มเลียนแบบการแสดงสีหน้าและเสียง

6 ถึง 9 เดือน

ช่วงระหว่างอายุนี้ ทารกเริ่มโตพอที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างสิ่งของที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหว เด็กยังสามารถเข้าใจความสัมพันธ์เรื่องขนาดของวัตถุในการนำมาประเมินความใกล้ไกล รวมถึงสามารถจ้องมองวัตถุที่ลอยอยู่กลางอากาศ (เช่นลูกโป่งหรือเครื่องบิน)

9 ถึง 12 เดือน

ก่อนจะอายุครบ 1 ขวบ ทารกส่วนใหญ่จะเริ่มเข้าใจเรื่องของการคงอยู่ของสิ่งต่างๆ หรือรู้คิดว่าวัตถุนั้นๆมีอยู่จริงแม้จะมองไม่เห็นชั่วขณะหนึ่งก็ตาม ช่วงเหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อชีวิตในการพัฒนานี้คืออาจทำให้เด็กรู้สึกเป็นกังวลเมื่อผู้ดูแลออกจากห้องไป  เด็กจะเริ่มเลียนแบบท่าทางและเสียง รู้สึกสนุกกับหนังสือภาพ

1 ถึง 2 ขวบ

ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาการ เด็กอายุหนึ่งขวบส่วนใหญ่จะสามารถเข้าใจและตอบสนองต่อคำพูด สามารถระบุสิ่งของที่เหมือนหรือต่างกัน สามารถอธิบายระหว่าง “ตัวฉัน” และ “เธอ” เลียนแบบได้ทั้งท่าทางและภาษาของผู้ใหญ่ สามารถชี้บอกสิ่งของที่คุ้นเคยและคนในหนังสือภาพได้ เด็กวัยเตาะแตะยังสามารถเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบและออกสำรวจ

2 ถึง 3 ขวบ 

เมื่อายุได้สองขวบ เด็กวัยเตาะแตะจะเริ่มเป็นอิสระมากขึ้น เพราะตินนี้พวกเขาสามารถออกไปสำรวจโลกได้แล้ว การเรียนรู้ส่วนใหญ่ในระหว่างช่วงวัยนี้คือผลจากการประสบการณ์ที่พวกเขาได้พบเจอ ช่วงเหตุการณ์ที่มีความสำคัญในชีวิตอาจมีหลากหลายในเวลานี้ เช่น:

  • สามารถแยกแยะสิ่งของออกเป็นกลุ่มได้ (เช่น สัตว์ รูปทรง จำนวน ดอกไม้ ต้นไม้)
  • สามารถเรียงของเล่นจากใหญ่สุดไปหาเล็กสุดได้
  • มีการตอบสนองต่อทิศทางง่ายๆตามที่พ่อแม่หรือผู้ดูแลบอกได้
  • บอกชื่อสิ่งของที่คุ้นเคยในหนังสือภาพได้
  • สามารถจับคู่สิ่งของได้
  • เลียนแบบท่าทางของผู้ใหญ่ได้มากขึ้น
  • เล่นบทบาทสมมุติ (เช่นเล่นบ้านตุ๊กตา พูดคุยโทรศัพท์ แสร้งทำเป็นทำอาหารหรือรีดผ้า)
  • สามารถระบุตัวเองจากเงาสะท้อนของกระจกได้
  • พูดชื่อตัวเอง

3 ถึง 4 ขวบ

การพัฒนาการในช่วงเวลานี้ เด็กจะเริ่มสามารถเข้าใจในความคิดอ่านได้ดี เด็กๆจะเฝ้าสังเกตการณ์โลกรอบตัว เด็กจะเริ่มมีการวิเคราะห์และแยกแยะสิ่งที่พวกเขาเห็น การจัดหมวดหมู่ชนิดนี้มักส่งผลต่อการพัฒนาเค้าร่างความรู้ความเข้าใจ ทักษะความเข้าใจนี้ส่วนใหญ่จะช่วยเรื่องความเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตและอนาคต

4 ถึง 5 ขวบ

เด็กอายุสี่ถึงห้าขวบสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นๆขึ้นทุกวัน เด็กจะเริ่มใช้คำได้ดีขึ้น เลียนแบบท่าทีของผู้ใหญ่ นับสิ่งของและการทำกิจกรรมอื่นๆขั้นพื้นฐานมีส่วนสำคัญใยการพัฒนาการด้านภาษาและการเตรียมพร้อมในการเข้าโรงเรียน เด็กในวัยนี้สามารถระบุสี วาดรูปคนและสามารถอธิบายสถานที่ที่ตนเองอยู่

ช่วงเวลาพัฒนาบุคลิดภาพด้านลบสามารถส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการของเด็กได้อย่างไรบ้าง

เด็กต้องการการเลี้ยงดู พูดคุยและให้การสนับสนุนจากพ่อแม่ของพวกเขาเอง โดยเฉพาะในช่วงห้าปีแรกของชีวิต แต่จะเป็นอย่างไรหากสิ่งนี้มันไม่เกิดขึ้น จะเป็นอย่างไรหากคนดูแลมีการเพิกเฉยต่อหน้าที่ของพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ล้มเหลวในการรับมือกับอารมณ์ ร่างกายและจิตใจที่เป็นความต้องการของเด็กในช่วงระหว่างแห่งการเจริญเติบโตนี้  เมื่อปัญหาทางจิตใจเริ่มมีการก่อตัวขึ้น พบว่าเด็กที่มีประสบการณ์ด้านลบในวัยเด็ก มักจะเข้าสู่ปัญหาที่หยั่งรากลึกอยู่ตลอดชีวิตของเด็ก โดยเฉพาะอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านอารมณ์และทักษะการเข้าสังคม

เด็กที่ไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมในช่วงเวลานี้จากพ่อแม่ มีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาทางพฤติกรรม การเห็นคุณค่าตัวเองต่ำ ขาดความรู้สึกถึงความคู่ควร เกิดภาวะซึมเศร้า อาจต้องมีปัญหาทางจิตใจหรือติดสิ่งเสพติด  ถึงแม้พ่อแม่จะไม่เคยทำร้ายทางร่างกายก็ตาม แต่หากผู้ที่ดูแลเด็กยังคงละเลยเด็กในชาวงระหว่างวัยรุ่น เด็กอาจรู้สึกว่าเค้าไม่มีใครคอยสนับสนุนที่บ้าน และพวกเขาอาจพยายามหาทางเลือกที่ไม่มีความปลอดภัยในการจัดการกับความไม่มั่นคงของตัวเอง

การช่วยพัฒนาการการรู้การเข้าใจในเด็ก

ในขณะที่การพัฒนาสมองในช่วงระหว่างห้าปีแรกมีความสำคัญ เด็กส่วนใหญ่เองก็พร้อมในการอยากเรียนรู้  รูปแบบการศึกษาก็จะเริ่มเร็วขึ้น วิธีหลักๆของเด็กทารก เด็กวัยหัดเดินและเด็กโตมีการเรียนรู้ผ่านการเล่น

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *