อหิวาตกโรค (Cholera) เป็นโรคระบาดที่เกิดอาการแบบเฉียบพลัน ส่งผลให้เกิดการท้องร่วง สูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จนสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้
อหิวาตกโรค (Cholera) เป็นโรคติดต่อที่มีความสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก โรคอหิวาตกโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว ในแต่ละปีพบผู้ป่วยเฉลี่ย 1.4 ถึง 4.3 ล้านคนทั่วโลก โดยในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 28,000 ถึง 142,000 ราย1 โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทยที่มักมีการระบาดของโรคเป็นครั้งคราว แต่พบได้น้อยมากในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดของโรค บทความนี้จะสรุปถึงสถานการณ์ของโรคในประเทศไทย เชื้อสาเหตุ การติดต่อ อาการสำคัญทางคลินิก การดูแลรักษา รวมถึงการป้องกันโรค
อะไรคืออหิวาตกโรค?
อหิวาตกโรคเกิดจากการติดเชื้อโดยแบคทีเรีย V. cholera แบคทีเรียเหล่านี้ถูกค้นพบในปีพ. ศ. 2426
เชื้อแบคทีเรีย V. cholera อาศัยอยู่ในน้ำเค็มตื้น และอยู่บนสัตว์จำพวกกุ้งขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังสามารถอาศัยร่วมกับไบโอฟิล์มที่เคลือบพื้นผิวของพืชน้ำ หิน เปลือกหอย และสิ่งอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน รวมถึงไข่ของตัวริ้นน้ำก็เป็นที่กักเก็บแบคทีเรียประเภทนี้
เชื้อแบคทีเรียอหิวาตกโรคสายพันธุ์ที่เป็นพิษ เป็นสาเหตุของอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงในคนเรา
เมื่อแบคทีเรียแพร่กระจายมาสู่เขตอาศัยของคนเรา ส่งผลเกิดโรคระบาดรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว การที่จะยุติการแพร่ระบาดคือ การลดลงของประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการปรับปรุงสุขอนามัยของชุมชน
อาการของอหิวาตกโรค
ผู้ติดเชื้ออหิวาตกโรค ประมาณ 1 ใน 20 จะแสดงอาการอย่างรุนแรง ในขณะที่คนส่วนมากที่ได้รับเชื้อจะไม่แสดงอาการใดๆ
หลังจากได้รับเชื้อ จะเกิดอาการภายใน 12 ชั่วโมง ไปจนถึง 5 วัน โดยสามารถแสดงอาการที่รุนแรงและไม่รุนแรง อาการของอหิวาตกโรคโดยทั่วไป ได้แก่
- อาการท้องร่วงอย่างรุนแรง
- อาเจียน
- ปวดขา
คนที่เป็นอหิวาตกโรคสามารถสูญเสียของเหลวจากร่างกายได้มากถึง 20 ลิตรต่อวัน ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำและเกิดอาการช็อคได้ สิ่งที่บ่งบอกว่าอยู่ในภาวะขาดน้ำ ได้แก่ :
- เบ้าตาลึก
- ปากแห้ง
- เหงื่อออกน้อยลง
- หัวใจเต้นเร็ว
- ความดันโลหิตต่ำ
- เวียนศีรษะ
- น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
ภาวะช็อกจากการขาดน้ำสามารถนำไปสู่ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสามารถส่งอันตรายถึงชีวิต
สาเหตุของอหิวาตกโรค
เชื้ออหิวาตกโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านทาางปาก โดยอาจเกิดจากอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนของเสียของผู้ที่ติดเชื้อ เนื่องจากสุขอนามัยหรือสุขาภิบาลของชุมชนที่ไม่ดี
ทั้งยังสามารถเกิดจากการกินอาหารทะเลดิบ หรือไม่ได้กึ่งสุกกึ่งดับ โดยเฉพาะหอยที่อาศัยบริเวณปากแม่น้ำ เช่นหอยนางรม หรือปู เป็นต้น
รวมไปถึงผักที่ล้างไม่สะอาด หรือล้างจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ
พบในชุมชนที่มีสุขอนามัยและระบบสุขาภิบาลที่แย่ เช่นจากค่ายผู้ลี้ภัย หรือชุมชนที่มีแหล่งน้ำจำกัด โดยเกิดจากการที่มีคนติดเชื้อแพร่กระจายเชื้อไปยังแหล่งน้ำ ทำให้บุคคลอื่นในชุมชนสามารถเกิดอหิวาตกโรคได้
การรักษาอหิวาตกโรค
โดยปกติแล้วการสูญเสียน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากอหิวาตกโรค ดังนั้นการรักษาที่สำคัญที่สุดคือ การให้ Oral hydration solution (ORS) หรือที่เรียกว่า oral rehydration therapy (ORT)
การบำบัดนี้เป็นการให้น้ำปริมาณมาก ร่วมกับน้ำตาลและเกลือแร่
สารบำบัดตัวนี้มีวางจำหน่ายทั่วไป แต่สำหรับบางประเทศที่กำลังพัฒนาการขายสารตัวนี้ถูกจำกัดด้วยเรื่องของต้นทุน ดังนั้นผู้คนจึงใช้สูตร ORS แบบทำได้ด้วยตนเองจากที่บ้าน
ผู้ป่วยอหิวาตกโรคที่รุนแรง จำเป็นต้องได้รับของเหลวทางหลอดเลือดดำ ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมจำเป็นต้องได้รับของเหลวทางหลอดเลือดดำอย่างน้อย 7 ลิตร
ยาปฏิชีวนะสามารถบรรเทาอาการและทำให้ผู้ป่วยหายได้เร็วขึ้น แต่ WHO ไม่แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับอหิวาตกโรค เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการดื้อยาของแบคทีเรียมากขึ้น
และการรักษาจะไม่ใช้ยาสำหรับต้านการท้องร่วง เนื่องจากจะกลายเป็นการป้องกันการชำระล้างแบคทีเรียที่ก่อเชื้อออกจากร่างกายผู้ป่วย
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/cholera/general/index.html
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cholera/symptoms-causes/syc-20355287
- https://www.nhs.uk/conditions/cholera
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก