อาการไอ (Cough) พบได้บ่อย และเป็นเรื่องที่แทบจะปกติของร่างกาย แต่เมื่อเป็นเวลานาน อาการไอจะเข้ามารบกวนชีวิตประจำวัน และทำให้เป็นกังวลได้ อาการไอเรื้อรังจะระคายคอ แต่ไม่มีเสมหะ หรือมีเสมหะร่วมด้วยก็ได้ และอาการไอเรื้อรัง (Chronic Cough) คือ อาการไอเป็นเวลานานกว่า 8 สัปดาห์ในผู้ใหญ่ หรือ 4 สัปดาห์ในเด็ก
อาการไอเรื้อรัง
อาการไอมักเป็นผลจากมีสิ่งที่ทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก และกระเพาะอาหารหดตัว การระคายเคืองยังทำให้ช่องที่ปิดทางเดินหายใจเปิดออกอย่างรวดเร็ว ทำให้อากาศพุ่งออกมา ผลที่ได้คือ อาการไอ อาการไอสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไอแล้วมีเสมหะ
สาเหตุของไอเรื้อรัง
มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดการไอเรื้อรัง แต่สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่
- โรคหอบหืด โดยโรคนี้เกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจส่วนบนของบุคคลนั้นไวต่ออากาศเย็น สารระคายเคืองในอากาศ หรือการออกกำลังกายหนัก โดยหนึ่งในอาการของโรคนี้คือ อาการไอ และโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง
- โรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังทำให้เกิดการอักเสบในระยะยาวของทางเดินหายใจที่อาจทำให้เกิดอาการไอได้ นี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของโรคทางเดินหายใจที่เรียกว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นผลข้างเคียงจากการสูบบุหรี่
- โรคกรดไหลย้อน (GERD) เมื่อกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร และเข้าสู่ลำคอ ผลที่ได้คือการระคายเคืองเรื้อรังในลำคอที่นำไปสู่อาการไอ
- ผลจากการติดเชื้อ หากมีการติดเชื้อรุนแรง เช่น ปอดบวม หรือไข้หวัดใหญ่ แม้ว่าอาการส่วนใหญ่จะหายไป แต่ปัญหาทางเดินหายใจอาจยังคงอักเสบอยู่ระยะหนึ่ง ทำให้ยังไอต่อไปอีกสักระยะ
- น้ำมูกไหลลงด้านหลังลำคอ สิ่งนี้จะทำให้ระคายเคืองคอ และทำให้เกิดอาการไอ
- ยาลดความดันโลหิต ที่เรียกว่า Angiotensin-converting enzyme (ACE) อาจทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังในบางคน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อยากเลิกบุหรี่ทำยังไงดี
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
แพทย์จะฟังเสียงปอดของผู้ป่วย เพื่อช่วยระบุสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง อาการไอเรื้อรังควรไปพบแพทย์โดยด่วน เมื่อเกิดขึ้นพร้อมกับสิ่งเหล่านี้
- มีไข้สูง
- ไอเป็นเลือด
- เจ็บหน้าอก
- หายใจถี่ หรือหายใจลำบาก
- เบื่ออาหาร
- ไอมีเสมหะมาก
- อ่อนแรง
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- การลดน้ำหนักไม่ทราบสาเหตุ
การรักษาอาการไอเรื้อรัง
การรักษาอาการไอเรื้อรังขึ้นอยู่กับสาเหตุ แพทย์จะตัดสินใจวางแผนการรักษาหลังการวินิจฉัยแล้ว
น้ำมูกไหลลงลำคอเป็นสาเหตุที่พบบ่อย ดังนั้นแพทย์อาจแนะนำให้บุคคลนั้นรับประทานยาแก้คัดจมูก หรือยาแก้แพ้ ที่ช่วยให้สารคัดหลั่งแห้ง และลดการอักเสบที่เป็นสาเหตุหลักของอาการได้
การรักษาอื่นๆ อาจมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ได้แก่
- การแบ่งรับประทานอาหารมื้อย่อยหลายๆ มื้อต่อวัน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน เช่น คาเฟอีน ผลไม้รสเปรี้ยว อาหารที่มีมะเขือเทศ อาหารที่มีไขมันสูง ช็อกโกแลต หรือเปปเปอร์มินต์ เป็นต้น
- ไม่นอนราบหลังรับประทานอาหารไม่ถึง 2 ชม.
- นอนหงาย และใช้หมอนเสริมเพื่อยกศีรษะขึ้น
- การใช้ยาเช่น Cimetidine (Tagamet) หรือ Famotidine (Pepcid)
กรณีที่ผู้ป่วยต้องใช้สารยับยั้ง ACE แต่สารนี้ทำให้เกิดอาการไอ อาจต้องการพูดคุยกับแพทย์ เพราะมียาบางชนิดที่อาจช่วยลดความดันโลหิตสูงได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการไอ
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก