โรคส่าไข้ (Cold sore) : อาการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน

โรคส่าไข้ (Cold sore) : อาการ การรักษา ภาวะแทรกซ้อน

18.08
2599
0

โรคส่าไข้ (Cold sore) คือ อาการที่เป็นกลุ่มแผลพุพองมีอาการเจ็บ และมีอาการไข้ร่วมด้วย เพราะเกิดจากไวรัสที่อยู่กลุ่มเดียวกันกับโรคเริมหรือ(HSV)ซึ่งเรียกโรคนี้ในอีกชื่อว่าโรคเริ่มที่ริมฝีปาก โรคส่าไข้นี้มักจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ 

และผู้คนบนโลกมากถึง 90 เปอร์เซนต์ ที่เคยเป็นโรคส่าไข้ชนิดใดชนิดหนึ่งมาแล้ว

อาการส่าไข้อาจจะมีอาการที่รุนแรงหากผู้ป่วยเป็นโรคส่าไข้ครั้งแรก ซึ่งการเป็นโรคส่าไข้ในครั้งแรกนั้นสามารถทำให้เด็กป่วยหนักได้เลยทีเดียว

ซึ่งหลังจากที่อาการส่าไข้ที่เป็นครั้งแรกได้หายไปแล้ว ลูกของคุณก็จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาและอาจจะไม่มีการติดเชื้ออีก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยที่เคยเป็นส่าไข้จะไม่กลับมาเป็นอีก ซึ่งอาจเป็นผู้ใหญ่ที่เคยเป็นโรคส่าไข้ในวัยเด็กและกลับมาเป็นอีก จึงเรียกว่าส่าไข้ผู้ใหญ่

อาการของโรคส่าไข้

อาการส่าไข้นั้น ผู้ป่วยมักจะมีแผลพุพองจากโรคส่าไข้บริเวณปากและริมฝีปาก นอกจากนี้แผลพุพองสามารถเกิดขึ้นแถวบริเวณจมูกและแก้มได้ด้วยเช่นกัน

ผู้ป่วยอาจเป็นโรคส่าไข้ได้หลังจากที่ติดเชื้อไปแล้ว 20 วัน ซึ่งอาการส่าไข้นั้นอาจปรากฏให้เห็นใกล้กับส่วนของร่างกายที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้ามา

อาการส่าไข้นั้นจะแสดงอาการดังต่อไปนี้:

  • ผิวบริเวณที่เป็นแผลมีอาการร้อนไหม้ หรืออาการคัน
  • หลังจากที่มีแผลพุพองปรากฏที่ผิวหนังขึ้น ประมาณ 12 ถึง 24 ชั่วโมง ผิวหนังที่มีอาการนั้นจะมีอาการแดง บวม รู้สึกเจ็บปวด
  • แผลพุพองจะปะทุ จนมีของเหลวไหลออกมา โดยจะใช้เวลาประมาณ 2หรือ 3วัน 
  • สะเก็ดแผลพุพอง และของเหลวที่ไหลออกมาจากแผลนั้น อาจเกิดการลุกลามไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ที่สัมผัสกับเชื้อได้ 
  • แผลเกิดการตกสะเก็ด

  • มีอาการแสบไหม้และเจ็บข้างในปาก
  • อาการเจ็บคอ
  • มีอาการเจ็บเมื่อกลืนอาหารหรือเรื่องดื่ม
  • อาการปวดหัว
  • อาการปวดท้องที่รุนแรง

สาเหตุโรคส่าไข้

คุณสามารถติดเชื้อไวรัสโรคส่าไข้ได้เมื่อคุณสัมผัสผู้อื่นที่ป่วยเป็นโรคส่าไข้ บางครั้งผู้ป่วยอาจติดเชื้อมาจากการจูบกับคนแปลกหน้าที่มีเชื้อไวรัสโรคส่าไข้ หรืออาจจะติดมาจากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น การกินจากช้อนเดียวกัน ใช้ผ้าขนหนูหรือมีดโกนร่วมกัน เป็นต้น 

เชื้อไวรัสโรคส่าไข้มีอยู่ 2 ชนิด ที่ทำให้เกิดอาการส่าไข้: เชื้อไวรัสHSV-1 และ เชื้อไวรัสHSV-2ซึ่งทั้งสองชนิดสามารถทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศและสามารถติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธุ์ทางปากได้ 

ชนิดที่ 1 มักจะทำให้เกิดอาการโรคส่าไข้ และ ชนิดที่ 2 ทำให้เกิดเป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ

ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจัยในการเกิดโรคส่าไข้นั้นเกิดการระบาด รวมถึงปัจจัยดังนี้:

  • อาหารบางชนิด
  • ความเครียด
  • มีไข้
  • เป็นหวัด
  • ร่างกายอ่อนแอ
  • ผิวมีอาการไหม้จากแสงแดดที่แรง
  • การมีประจำเดือน

ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคส่าไข้

โรคส่าไข้นั้นอาจไม่มีอาการที่รุนแรงมาก แต่การติดเชื้อนั้นก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นภาวะระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออย่างเช่นโรคเอดส์ และอาการอื่นที่ทำให้เป็นโรคส่าไข้ หรือการใช้ยา 

โรคส่าไข้บางครั้งจะก่อให้เกิดอาการทางผิวหนังอย่างรุนแรงที่เรียกว่าโรคผิวหนังอักเสบ ทำให้แผลพุพองที่ใหญ่และแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกาย

การวินิจฉัยโรคส่าไข้

แพทย์จะทำการวินิจฉัยหาโรคส่าไข้จากการตรวจร่างกายและตรวจที่แผลพุพองที่ปรากฏบนผิวหนัง ซึ่งอาจมีการทำความสะอาดแผลและทำการตรวจสอบหาเชื้อไวรัสโรคส่าไข้โดยการนำเอาตัวอย่างของเหลวที่ไหลออกมาจากแผลพุพองนั้นไปทำการตรวจสอบ

การรักษาโรคส่าไข้

ตอนนี้ยังไม่มีการรักษาโรคส่าไข้ได้อย่างแท้จริง เมื่อคุณติดเชื้อไวรัสส่าไข้แล้ว แผลพุพองจะอยู่บนผิวหนังของร่างกายคุณ ซึ่งปกติแล้วแผลพุพองนั้นสามารถจะหายได้เองประมาณ 1 หรือ 2 สัปดาห์

ยาต้านไวรัสนั้นสามารถช่วยให้การรักษาโรคส่าไข้ให้หายเร็วขึ้น โดยเฉพาะหากคุณเป็นโรคส่าไข้เป็นครั้งแรก แพทย์จะแนะนำการรักษาอาการเบื้องต้นให้ โดยการปฎิบัติตามคำแนะนำดังนี้:

  • ใช้ครีมทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง เช่นยา อะไซโคลเวียร์ (Zovirax) และยาเพนซิโคลเวียร์ (Denavir)ที่แพทย์นั้นได้แนะนำมาแล้ว หรือคุณจะใช้ยาโดโคซานอล(Abreva)ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปก็ได้ 
  • ยาชนิดรับประทาน เช่น ยาอะไซโคลเวียร์ (Sitavig, Zovirax) ยาฟามซิโคลเวียร์ (Famvir) หรือยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valtrex)
  • ยาที่ฉีดเข้าสู่กระแสเลือดของคุณ(เรียกว่า ยาฉีดหลอดเลือดดำ) หากคุณมีอาการส่าไข้ที่รุนแรง เช่น ยาซิโดโฟเวียร์ (Vistide) หรือ ยาฟอสคาร์เน็ต(Foscavir).

การรักษาโรคส่าไข้เบื้องต้นที่สามารถทำได้เองที่บ้านนั้นสามารถช่วยให้ผู้ป่วยทุเลาอาการลงได้ เช่น:

  • การบรรเทาด้วยการประคบเย็นบริเวณแผล
  • การใช้ยาแก้ปวด เช่นยาอะซีตามีโนเฟ่น และ ยาไอบูโพรเฟน
  • การใช้ครีมฆ่าเชื้อที่ผิวหนัง เช่น เบนโซเคน หรือ ไลโดเคน
  • การรักษาด้วยการเช็ดแผลพุพองที่แห้งด้วยแอลกอฮอล์
  • การทาลิปมันที่ปากและครีมที่ผิวหนัง เพื่อรักความชุ่มชื้นในผิวหนังของคุณ

สาเหตุโรคส่าไข้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคส่าไข้

โดยทั่วไปแล้วโรคส่าไข้ไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากนัก เว้นแต่กรณีที่เชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น อาจจะก่อให้เกิดอาการตามบริเวณที่ได้รับเชื้อเช่น:

  • นิ้วมือ ซึ่งการติดเชื้อไวรัสจนเกิดแผลพุพองที่มือเรียกว่า โรคเริมที่ฝ่ามือ
  • อวัยวะเพศ ซึ่งอาจจะมีหูดหรือแผลที่อวัยวะเพศหรือแถวทวารหนักของคุณ ซึ่งเรียกว่า โรคเริมที่อวัยวะเพศ
  • ตา ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัสที่กระจกตาและทำให้ตาบอดได้ เรียกโรคนี้ว่า กระจกตาอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม
  • สมองหรือไขสันหลัง ซึ่งเชื้อไวรัสนี้สามารถเกิดเป็นอาการอักเสบที่เป็นอันตราย เช่น ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งพบได้ในคนที่มีภาวะระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

การป้องกันโรคส่าไข้

การป้องกันโรคส่าไข้ เป็นการลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการระบาดไปยังอวัยวะอื่นได้:

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งการขาดการพักผ่อนนั้นที่สมดุลนั้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณนั้นอ่อนแอลง ทำให้คุณเกิดอาการป่วยได้
  • หมั่นทาลิปมันและทาครีมกันแดด 
  • พบแพทย์ทันที หากคุณมีแผลพุพองเกิดอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัสกับคุณ เพื่อให้คุณรับประทานยาต้านไวรัสทุกวันจนกว่าโรคจะหายไป

กรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโรคส่าไข้มาแล้ว ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังนี้ :

  • จูบกับคนแปลกหน้า
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผุ้อื่น เช่น ช้อน แก้วน้ำ ผ้าขนหนู ลิปสติกหรือลิปมัน หรือมีดโกน
  • งดมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา 

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *