อาการท้องผูก (Constipation) คือการที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการขับถ่ายให้หมดผ่านลำไส้ใหญ่ เบื้องต้นสามารถดูแลตัวเองได้จากที่บ้าน แต่หากอาการไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
สาเหตุของอาการท้องผูก
สาเหตุท้องผูกหลัก ๆ ทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก มีดังนี้:
รับประทานอาหารประเภทเส้นใยน้อยเกินไป
ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่น้อยมักจะพบกับปัญหาท้องผูกอยู่เสมอ เนื่องจากไฟเบอร์นั้นสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานร่วมกับน้ำ ทำให้ไม่ค่อยถ่าย และระบบถับถ่ายไม่ดี
ความผิดปกติจากการเคลื่อนไหวที่น้อย
การเคลื่อนไหวที่น้อยสามารถเป็นสาเหตุของการท้องผูกได้ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ผู้ที่เคลื่อนไหวมากๆ อย่างเช่นพวกนักกีฬา ได้แก่ นักวิ่งมาราธอน เป็นต้น จะมีปัญหาท้องผูกน้อยกว่าคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักกีฬา อย่างไรก็ตามสาเหตุนี่อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการเป็นเหตุผลหลักของการท้องผูก
การใช้ยาบางประเภท
ยาบางประเภทนั้นอาจจะส่งผลข้างเคียงให้เกิดอาการท้องผูก :
ยาแก้ปวดชนิดที่ทำให้เสพติด : รวมไปถึงโคเดอีน ที่ใช้ระงับอาการไอ และบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง ( acetaminophen ใน Tylenol #3), oxycodone (OxyContin), และ hydromorphone (Dilaudid).
Tricyclic antidepressants: รวมไปถึง amitriptyline (Elavil) and imipramine (Tofranil).
ยากันชักบางประเภท (anticonvulsants): เช่น phenytoin (Dilantin) and carbamazepine (Tegretol).
ยาบล็อคแคลเซียม: ที่มีผลทำให้ความดันต่ำ, ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น diltiazem (Cardizem) และ nifedipine (Procardia).
ยาแก้ท้องเฟ้อที่มีส่วนผสมของ aluminum: รวมไปถึง Amphojel and Basaljel.
ยแก้ท้องเฟ้อที่มีส่วนผสมของ calcium: เช่น Tums.
Diuretics:ยาพวกนี้จะทำหน้าที่ลดกรดส่วนเกินในกระเพาะอาหาร รวมไปถึง hydrochlorothiazide (Hydrodiuril) และ furosemide (Lasix).
ยาเสริมธาตุเหล็ก: แพทย์จะสั่งจ่ายยานี้เพื่อเพิ่มธาตุเหล็กให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจาง
อาการลำไส้แปรปรวน
ในการขับถ่ายที่ลำบาก อาจจะมาจากการที่ลำไส้แปรปรวน (IBS), ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนจะมีโอกาสท้องผูกได้ และอาการของ IBS มีดังนี้
- เจ็บปวดช่องท้อง
- ท้องอืด
- ท้องเฟ้อ
- ถ่ายอุจจาระไม่สม่ำเสมอ
สำหรับ IBS จะมีอาการท้องผูกแค่ระยะหนึ่ง และจะแทนที่ หรือสลับด้วยอาการท้องเสียแทน
การเปลี่ยนแปลงของอายุ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นก็จะท้องผูกมากขึ้น จากสถิติ พบว่า มากถึง 40-60% ของผู้สูงอายุ จะมีอาการท้องผูก
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน
ตัวอย่างเช่น งานศึกษาที่ได้มีการสัมภาษณ์ผู้คนจำนวน 83 คน ในปี 2008 พบว่า การเดินทางส่งผลต่อระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป
การใช้ยาระบายที่มากเกินไป
ในคนบางคนพวกเขาไม่ได้ถ่ายอุจจาระอย่างเพียงพอตามปกติ และหันมาใช้ยาระบายหรือยาถ่ายแทน ยาระบายช่วยในการเคลื่อนไหวของลำไส้ แต่เมื่อใช้ในระยะเวลานาน ร่างกายจะคุ้นชินกับการใช้ยาระบาย นี่ก็เป็นสาเหตุที่ยังต้องรับประทานยาระบายต่อไป ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นในการใช้มันแล้ว ร่างกายมีความต้องการยาที่เข้มข้นขึ้นเรื่องในการที่จะได้ผลลัพธ์ดังเดิม หรือเราอาจจะบอกได้ว่า ควรใช้ยาระบายเท่าที่จำเป็น ไม่ควรใช้ให้เป็นนิสัย เพราะยิ่งต้องใช้มากเท่าไร ร่างกายก็มีความเสี่ยงกับการท้องผูกมากเท่านั้น หลังจากที่หยุดใช้ยาระบาย
ไม่เข้าห้องน้ำเมื่อมีอาการปวดท้อง
เมื่อมีอาการต้องการถ่ายท้องแล้วผู้ป่วยไม่ได้ไปเข้าห้องน้ำเมื่อมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ถูกกระตุ้น ณ เวลาช่วงเวลานั้น เมื่อเวลาผ่านไปการกระตุ้นจะหยุดไปและทำให้ไม่เกิดความต้องการที่จะถับถ่าย และหากการถับถ่ายมีความล่าช้าอุจจาระจะแห้งและแข็งทำให้อาจจะเกิดบาดแผลเมื่อถ่ายอุจจาระ
การดื่มน้ำเปล่าไม่เพียงพอ
การดื่มน้ำเปล่าที่เพียงพอในแต่ละวันสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอาการท้องผูกได้ ของเหลวอื่นๆ ที่สามารถทดแทนได้ได้แก่ น้ำผักผลไม้ และน้ำซุปใส
ลำไส้ใหญ่มีปัญหา
โรคในลำไส้บางประเภทที่ส่งผลทำให้ลำไส้ถูกขัดขวางทางผ่านของอุจจาระ และอาจจะส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก เช่น
- มะเร็งเนื้องอก
- ไส้เลื่อน
- แผลเป็นในกระเพาะ
- โรคถุงลมโป่งพอง
- ลำไส้ใหญ่มีอาการตีบ
- โรคลำไส้อักเสบ (IBD)
อาการของท้องผูก
อาการหลักของผู้ป่วยท้องผูกมีดังนี้ :
- มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ
- มีความเครียดขณะถ่ายอุจจาระ
- อุจจาระน้อยกว่าปกติ
- อุจจาระเป็นก้อนแห้งและแข็ง
อาการอื่น ๆ มีดังนี้:
- มีอาการปวดเสียด แน่นท้อง
- มีอาการท้องอืด
- คลื่นไส้
- เบื่ออาหาร
การรักษาท้องผูก
ท้องผูกสามารถทำการรักษาได้โดยไม่ต้องพึ่งยาตาใบสั่งแพทย์ และส่วนมากการรักษาจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไป ได้แก่ การออกกำลังกายมากขึ้น การรับประทานเส้นใยเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการดื่มน้ำที่มากขึ้น สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยได้
การปล่อยให้มีเวลาอุจจาระโดยไม่เครียด ดังนั้นผู้คนที่มีอาการท้องผูกจึงควรทำการกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ยาระบายสามารถช่วยบรรเท่าอาการนี้ได้ในระยะสั้น และผู้คนส่วนมากจะเลือกวิธีนี้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เนื่องจากการใช้ยาระบายนั้นมีผลข้างเคียง
ยาระบาย
ยาระบายส่วนใหญ่มักมีวางจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ขณะที่ก็มียาบางตัวที่ต้องได้รับตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น
หากผู้ป่วยใช้ยาระบายแล้วไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
รายการดังต่อไปนี้มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายหรือทำให้อุจจาระอ่อนตัวลง
อาหารเสริมชนิดที่มีเส้นใย: หรือที่เราเรียกกันว่าอาหารเสริมเพื่อระบบาย ตัวอย่างเช่น FiberCon โดยทั่วไปแล้วอาหารเสริมหรือยาระบายประเภทนี้มักจะปลอดภัยและสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่ว หรือช่องทางออนไลน์
สารกระตุ้น: ส่งเสริมการหดตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ ตัวอย่างเช่น Senokot เป็นต้น
สารหล่อลื่น: ช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น น้ำมันแร่ (Fleet) เป็นต้น
สารที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัว: ช่วยทำให้อุจจาระอ่อน และชุ่มชื้น เช่น Colace และ Surfak เป็นต้น
Osmotics: เป็นสารที่ดึงน้ำเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่อุจจาระ และทำให้เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น เช่น ยาระบายน้ำเกลือ เป็นต้น
Neuromuscular agents: ได้แก่ opioid antagonists และ 5-HT4 agonists. ควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่
สารที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัวเทียบกับยาระบายแล้วเป็นอย่างไรบ้าง?
ทางเลือกการรักษาอื่น ๆ
หากการใช้ยาระบายไม่ได้ผล แพทย์อาจจะทำการผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระที่คั่งค้างเป็นเวลานานออกมา
และหากอาการท้องผูกที่ผู้ป่วยเป็นไม่ตอบสนองต่อการรักษาใด ๆ และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แพทย์อาจจะเสนอแนะให้ทำ
CT scan, MRI scan หรือ X-ray — เพื่อดูสาเหตุของอาการท้องผูกว่ามีสาเหตุมาจากประการใดที่ทำให้ลำไส้ถูกขัดขวางทางเดิน ของอุจจาระ ทั้งหมดนี้แพทย์จะทำการวินิจฉัยสาเหตุและเลือกการรักษาอย่างเหมาะสมที่สุด
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-constipation
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/constipation/symptoms-causes/syc-20354253
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/4059-constipation
- https://www.nhs.uk/conditions/constipation/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก