โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

18.10
1810
0

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดเส้นแดงในหัวใจเกิดแคบลง โดยเส้นเลือดแดงนี้ทำหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนเข้ามาหล่อเลี้ยงที่หัวใจ 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CHD) มีแนวโน้มเกิดขึ้นเมื่อมีก้อนไขมันสะสมคอลเลสเตอรอลเกิดขึ้นบนผนังหลอดเลือดซึ่งก้อนไขมันสะสมที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ผนังหลอดเลือดแคบลงกระแสเลือดจึงไหลเข้าสู่หัวใจได้น้อย นอกจากนี้ก้อนไขมันยังขัดขวางการไหลของกระเเสเลือดจึงทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพร้ายเเรงขึ้นได้    

หลอดเลือดโคโรนารีเป็นหลอดเลือดที่อยู่บนพื้นผิวของหัวใจทำหน้านำเลือดที่มีออกซิเจนเข้ามาหล่อเลี้ยงที่หัวใจ ถ้าหากหลอดเลือดเส้นนี้แคบลง หัวใจอาจไม่ได้รับเลือดที่มีออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะตอนที่หัวใจกำลังทำงาน 

บางครั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CHD) สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้  โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ “เป็นโรคหัวใจที่เกิดขึ้นมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา” โดยทุกปีมีประชากรมากกว่า 370,000 รายที่เสียชีวิตจากโรคนี้

Coronary Artery Disease

สาเหตุหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CHD) ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บหรือความเสียหายเกิดขึ้นที่ผนังหลอดเลือดด้านในของหลอดเลือดโคโรนารี ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากการสะสมของก้อนไขมันที่ผนังหลอดเลือดจึงทำให้เกิดบาดแผลขึ้นในหลอดเลือด

การสะสมของของไขมันและเศษซากของเซลล์อื่นๆรวมกันเรียกว่าภาวะหลอดเลือดตีบเเข็ง (atherosclerosis

หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งของก้อนไขมันหลุดออกหรือเเตกออกไป กลุ่มเกล็ดเลือดจะเข้าไปอุดบริเวณที่มีเเผลเกิดขึ้นเพื่อซ่อมแซมผนังหลอดเลือด กลุ่มเกล็ดเลือดเหล่านี้สามารถทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตันใจและชะลอการไหลของกระเเสเลือดจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้   

รูปภาพด้านล่างนี้เป็นภาพจำลอง 3 มิติของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CDC) เต็มรูปแบบ 

สำรวมรูปแบบจำลองนี้ได้ด้วยเมาส์คอมพิวเตอร์หรือจอสัมผัสเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหลอดใจตีบมากยิ่งขึ้น

อาการหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกซึ่งเป็นการเจ็บหน้าอกที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้

อาการเส้นเลือดหัวใจตีบทำให้เกิดอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้แก่

  • การจาม
  • อาการจุกเเน่หน้าอก
  • แน่นหน้าอกลักษณะหนักๆ
  • อาการปวดและตึงที่หน้าอก
  • เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอก
  • เกิดอาการเจ็บปวด

นอกจากนี้อาการเจ็บหน้าอกยังสามารถทำให้เกิดอาการต่อไปนี้ได้ 

  • ภาวะอาหารไม่ย่อย
  • แสบร้อนทรวงอก
  • อาการอ่อนล้า
  • มีเหงื่อออกมาก
  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • เป็นตระคริว

การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ

ยังไม่มีวิธีรักษาโรคหัวใจชนิดหลอดเลือดหัวใจตีบ (CHD) อย่างไรก็ตามมีวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับอาการเหล่านี้ได้

วิธีรักษาโรคหัวใจตีบสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตเช่นการเลิกสูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายเป็นประจำ

อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจตีบบางรายจำเป็นต้องใช้ยารักษาหรืออยู่ภายใต้การดูเเลของเเพทย์

การใช้ยารักษา

การรักษาโรคหลอดเลือดมีการใช้ยาหลายประเภทได้แก่

การใช้ยารักษาผู้ป่วยสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ซึ่งยาที่ใช้มีดังต่อไปนี้ 

  • เบต้า-บล็อกเกอร์ แพทย์จะให้ยาเบต้า-บล็อกเกอร์เพื่อลดความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อน 
  • ไนโตรกลีเซอรินชนิดแผ่นแปะ สเปรย์หรือชนิดเม็ด เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่ใช้กันอยู่ทั่วไป โดยยาชนิดนี้จะช่วยลดปริมาณเลือดที่ไหลเข้ามาในหัวใจและบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitors ยาชนิดนี้ช่วยลดความดันเลือดและช่วยทำให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดในหัวใจช้าลง
  • ยาปิดกั้นช่องแคลเซียมเป็นยาที่ทำให้หลอดเลือดโคโรนารีเปิดกว้างขึ้นจึงทำให้กระเเสเลือดสามารถไหลเข้าสู่หัวใจได้มากขึ้นและลดภาวะความดันเลือดสูง
  • ยาลดไขมันเป็นยาที่ให้ผลลัพธ์ในการรักษาโรคหลอดเลือดตีบได้ดี จากข้อมูลรายงานปี 2019 ระบุว่าแม้ว่าการใช้ยาลดไขมันไม่สามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้แต่ยาลดไขมันสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเเละลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อย่างไรก็ตามการใช้ยาลดไขมันนี้อาจใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับคอลเรสเตอรอลเช่นโรคไขมันในเลือดสูง  

ในอดีตผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาแอสไพรินเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CHD) แต่แนวทางการรักษาในปัจจุบันแนะนำให้ใช้ยาเเอสไพรินกับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ อาการเจ็บหน้าอกหรือโรคหลอดเลือดและหัวใจอื่นๆ เนื่องจากยาแอสไพรินเป็นยาที่เข้าไปสลายลิ่มเลือดจึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดเลือดออกได้ง่าย  

ปัจจุบันแพทย์ได้เเนะนำให้ผู้ป่วยเน้นที่การปรับกลยุทธ์ในการใช้ชีวิตเช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ การปรับเปลี่ยนวิธีการดำรงชีวิตสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 

วิธีการผ่าตัดดังต่อไปนี้สามารถเปิดทางหรือขยายทางให้หลอดเลือดที่เกิดการอุดตันที่ทำให้หลอดเลือดเเคบลงหรือถ้าหากอาการหลอดเลือดอุดตันไม่ตอบสนองกับการใช้ยารักษา 

  • การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ วิธีการผ่าตัดประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการทำให้รูเล็กๆเกิดขึ้นบนกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งวิธีนี้เป็นการกระตุ้นทำให้เกิดหลอดเลือดใหม่ขึ้น
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ศัลยแพทย์จะใช้หลอดเลือดจากส่วนอื่นๆของร่างกายมาปลูกถ่ายเพื่อสร้างทางเบี่ยงออกจากหลอดเลือดที่เกิดการอุดตันซึ่งหลอดเลือดที่ลูกถ่ายสามารถมาจากบริเวณขาหรือผนังหลอดเลือดด้านในที่หน้าอก
  • การผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจและการใช่ขดลวดการผ่าตัดประเภทนี้ศัลยแพทย์จะทำการสอดหลอดสวนเข้าไปในบริเวณที่เกิดหลอดเลือดตีบตันและทำการการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดด้วยหลอดสวนบริเวณที่เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในหัวใจ 
  • เมื่อเเพทย์ทำการขยายหลอดเลือดด้วยวิธีทำบอลลูนหัวใจ ก้อนไขมันที่สะสมอยู่จะถูกบีบอัดเเละหลุดออกจากผนังหลอดเลือด โดยแพทย์สามารถทิ้งขดลวดหรือหลอดสวนไว้ในหลอดเลือดหัวใจเพื่อทำให้หลอดเลือดเปิดอยู่ต่อไปได้  

มีโอกาสน้อยมากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจแต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดหัวใจจะทำเมื่อหัวใจเกิดความเสียหายเเละการรักษาด้วยวิธีอื่นๆใช้ไม่ได้ผล

บทสรุป

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดโคโรนารีตีบตันลง ภาวะนี้ทำให้เกิดการอุดตันขึ้นในหลอดเลือดหัวใจที่ทำหน้าที่นำเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงที่หัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (CHD) เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ยากัน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาแบบเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ 

ผู้ที่มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบควรไปพบเเพทย์ทันทีหากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกและหายใจไม่ออก ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกถึงภาวะหัวใจล้มเหลวได้ 

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *