ฟันร้าว (Cracked tooth) คือการที่ฟันเกิดการแตก หรือมีรอยร้าว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของฟัน อาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้
หากมีอาการปวดฟันเวลาเคี้ยวอาหารหรือเสียวฟันเวลารับประทานของร้อนหรือของเย็น อาจเป็นอาการที่เกิดจากฟันร้าว
อาการปวดจากฟันร้าวมักทำให้เกิดอาการเจ็บแปลบ ๆ ซึ่งทำให้ทันตแพทย์วินิจฉัยได้ยาก ว่าเกิดฟันร้าวขึ้นบริเวณใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรอยร้าวนั้นมีขนาดเล็กมาก ๆ
หากสงสัยว่าอาจเกิดอาการฟันร้าว ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาและทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนเเรงได้
อาการฟันร้าว
ผู้ที่มีฟันร้าวบางครั้งอาจไม่แสดงอาการอะไรเลย ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่ทราบว่าฟันตัวเองร้าวอยู่
ฟันร้าวบางชนิดไม่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษา
อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกว่ามีอาการเหล่านี้ อาจเป็นอาการฟันร้าวชนิดที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา:
-
ปวดฟันขณะรับประทานอาหาร โดยเฉพาะเวลาเคี้ยวหรือกัด
-
เหงือกรอบ ๆ ฟันซี่ที่ร้าวบวม
-
รับประทานของหวานแล้วเสียวฟัน
-
รับประทานอาหารร้อนหรือเย็นแล้วเสียวฟัน
-
ปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ
-
ปวดรอบ ๆ ฟันและเหงือก ซึ่งไม่สามารบอกได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นจุดใด
สาเหตุของฟันร้าวคืออะไร
สาเหตุของฟันร้าวนั้นมีได้หลายประการ ดังนี้
-
การกัดของแข็ง
-
การนอนกัดฟัน
-
ฟันได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
-
มีรอยอุดฟันขนาดใหญ่ ทำให้ฟันซี่นั้นไม่แข็งแรง
การเปลี่ยนแปลงที่กระทันหันของอุณหภูมิสามารถทำให้ฟันร้าวได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากดื่มชาร้อน ๆ แล้วชาลวกปาก แล้วรีบดื่มน้ำเย็นตามเข้าไปเพื่อให้หายร้อน
เมื่อไหร่ที่ควรพบทันตแพทย์
หากสงสัยว่าฟันร้าว ควรรีบพบแพทย์ทันทีในขณะที่ยังมีอาการปวดอยู่
ในขณะเดียวกัน มีวิธีการการดูแลตัวเองที่บ้านต่อไปนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างเช่น:
-
บ้วนปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อทำให้ปากสะอาดอยู่เสมอ
-
รับประทานยาระงับปวด เช่น ไอบูโพรเฟ่น
-
ประคบเย็นที่ข้างแก้มข้างที่ปวดเพื่อลดอาการบวม
หากปล่อยฟันร้าวไว้นานจะทำให้รักษาเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น
วิธีการรักษาฟันร้าว
การรักษานั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ร้าว และความเสียหายของฟัน
หากเป็นรอยร้าวเล็ก ๆ และไม่สร้างความเจ็บปวด ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากทันตแพทย์
การรักษาฟันร้าวสามารถทำได้ดังนี้:
-
ใช้กาวติดฟันที่บิ่นหรือที่บริเวณฟันแตก
-
การซ่อมฟันด้วยวัสดุเรซิน
-
การอุดฟัน
-
การครอบฟัน
ในกรณีที่รุนแรง เช่น การร้าวได้เข้าไปถึงเนื้อฟันแล้ว ผู้ป่วยอาจต้องทำการรักษารากฟันหรือหากฟันร้าวรุนแรงมาก ทันตแพทย์อาจต้องทำการถอนฟันซี่นั้นออก
หากฟันที่อุดอยู่ร้าว ทันตแพทย์อาจต้องนำวัสดุอุดฟันออกเพื่อวินิฉัยอย่างละเอียด
หากไม่ได้รับการรักษา ฟันร้าวอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ อย่างเช่น การติดเชื้อ สัญญาณเตือนของการติดเชื้อมีดังนี้:
-
ปวดฟันมากขึ้น
-
เสียวฟันมากขึ้น
-
มีกลิ่นปาก
-
เจ็บต่อมต่าง ๆ ที่คอ
หากเกิดการติดเชื้อแล้วมีหนอง ผู้ป่วยต้องได้รับการเอาหนองออกและรับประทานยาฆ่าเชื้อ
ฟันร้าวป้องกันได้อย่างไร
ฟันร้าวนั้นไม่ได้ป้องกันได้เสมอไป แต่วิธีเหล่านี้สามารถช่วยได้:
-
หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็งเกินไป อย่างเช่น น้ำแข็งและเมล็ดข้าวโพดในป๊อปคอร์น
-
หยุดพฤติกรรมที่อาจทำร้ายฟัน เช่น การกัดปากกา
-
พยายามอย่าขบเน้นฟัน
-
สวมฟันยางขณะเล่นกีฬา
หากมีอาการกัดฟันระหว่างนอน ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใส่ฟันยางในขณะหลับ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.webmd.com/oral-health/guide/repairing-a-chipped-or-broken-tooth
-
https://www.nhs.uk/conditions/chipped-broken-or-cracked-tooth/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก