โรคโครห์น (Crohn’s Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคโครห์น (Crohn’s Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

28.04
5390
0

โรคโครห์น (Crohn’s Disease) คือโรคที่เกิดการอักเสบเรื้อรังหรือระยะเวลานานของระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคในกลุ่มโรคลำไส้อักเสบชนิดหนึ่ง โรคโครห์นทำให้เกิดอาการปวดท้อง  อ่อนเพลียและในบางครั้งอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคโครห์นหรือโรคลำไส้อักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของลำไส้ นับตั้งแต่ปากเรื่อยไปจนถึงทวารหนัก แต่ที่พบว่ามีผลกระทบบ่อยคือบริเวณลำไส้เล็กส่วนล่าง-ลำไส้เล็กส่วนปลาย 

ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายตัว มีแผลในลำไส้ และปวดท้อง 

พบผู้ป่วยโรคโครห์น 26-199 รายจาก100,000ราย และพบได้ในช่วงวัยระหว่าง 15-40 ปี สามารถเริ่มมีอาการได้ทุกช่วงอายุ

สาเหตุของโรคโครห์น

สาเหตุที่แท้จริงในการเกิดโรคโครห์นยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่น่าจะเกิดจากปฏิกิริยาผิดปกติในระบบภูมิต้านทาน

ด้วยทฤษฎีดังกล่าวคือระบบภูมิต้านทานโจมตีอาหาร, แบคทีเรียที่ดีและสสารที่มีประโยชน์ราวกับเป็นสสารที่ไม่มีความต้องการ

ในระหว่างการโจมตีนั่น เม็ดเลือกขาวจะถูกสร้างขึ้นในเนื้อเยื่อของลำไส้ และไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้น การอักเสบนี้เองทำให้ลำไส้เป็นแผลและได้รับบาดเจ็บ

แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่แน่ชัดว่าโรคโครห์นเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ

ยังมีปัจจัยอื่นๆที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการอักเสบได้เช่นกัน เช่น:

  • ปัจจัยจากเรื่องยีนส์
  • ระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะคน
  • ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม

พบว่าราว 3- 20 คนที่เป็นโรคโครห์นมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคดังกล่าวด้วย หากคู่แฝดคนใดคนหนึ่งเป็นโรคโครห์น แฝดอีกคนมีโอกาส 70 เปอร์เซ็นต์ที่จะเป็นโรคด้วย

เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสอาจมีบทบาทต่อการเกิดโรคโครห์นได้เช่นกัน

การสูบบุหรี่ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอีกแบบหนึ่ง

อาการของโรคโครห์น

อาการของโรคโครห์นมีหลายอาการขึ้นอยู่ว่ามีผลกระทบกับลำไส้ส่วนใด อาการทั่วไปที่พบเห็นได้บ่อยๆคือ:

  • อาการปวด: ระดับอาการปวดขึ้นอยู่กับบริเวณลำไส้ส่วนใดที่มีการอักเสบ โดยทั่วไปมักพบว่ามีอาการปวดที่บริเวณช่วงท้องล่างขวา
  • การเกิดแผลที่ลำไส้: เมื่อเกิดแผลขึ้นที่ลำไส้ใหม่ๆอาจมีเลือดออกได้ ผู้ป่วยอาจสังเกตว่ามีเลือดติดมาพร้อมกับอุจจาระ
  • ปากเป็นแผล: เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป
  • ท้องเสีย: มีตั้งแต่ท้องเสียน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง บางครั้งอาจถ่ายเป็นมูก มีเลือดหรือหนอง ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดอยากเข้าห้องน้ำถ่ายแต่ไม่มีอะไรออกมา
  • เหนื่อยล้า: ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลียมาก อาจมีไข้ขึ้นร่วมในระหว่างอ่อนเพลียได้
  • ความอยากอาหารเปลี่ยนไป: ความอยากอาหารอาจลดลง
  • น้ำหนักลด: เป็นผลมาจากความไม่อยากอาหาร
  • โลหิตจาง: การสูญเสียเลือดเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง
  • มีเลือดออกและเกิดแผลที่ทวารหนัก: เนื่องจากผิวบริเวณทวารหนักปริแตกทำให้เกิดอาการเจ็บและมีเลือดออก

อาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้:

  • ข้ออักเสบ
  • ภาวะม่านตาอักเสบ
  • ผิวหนังมีผื่นขึ้นและมีการอักเสบ
  • ตับหรือท่อน้ำดีในตับมีการอักเสบ
  • มีภาวะการเจริญเติบโตหรือมีการพัฒนาทางเพศช้าในเด็ก

โรคลำไส้อักเสบกับโรคโครห์น

โรคลำไส้อักเสบมีสาเหตุมาจากการอักเสบและการเกิดแผลที่เนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ชั้นบนสุดในขณะที่โรคโครห์นเกิดการอักเสบและมีแผลได้ในทุกชั้นทุกส่วนของลำไส้

ดังนั้นการอักเสบที่ทำให้เกิดโรคโครห์นจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆส่วนของลำไส้ แต่โรคลำไส้อักเสบมักเกิดขึ้นเฉพาะในลำไส้ใหญ่เท่านั้น

ลำไส้ของผู้ป่วยโรคโครห์นสามารถมีบางช่วงที่มีสภาพปกติดีอยู่ในระหว่างส่วนที่เป็นโรคได้ ในขณะที่โรคลำไส้อักเสบลำไส้จะเกิดการเสียหายแบบติดต่อกันไปเรื่อยๆ

โภชนาการ

เด็กที่เป็นโรคโครห์นอาจมีความต้องการอาหารเหลวสูตรแคลลอรี่สูง โดยเฉพาะในรายที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

ผู้ป่วยที่เป็นโรคโครห์นควรรู้ว่าอาหารดังต่อไปนี้อาจทำให้อาการท้องเสียและปวดท้องเพิ่มมากขึ้นได้เช่น:

  • ผลิตภัณฑ์นม
  • อาหารรสเผ็ด
  • แอลกอฮอล์

ในผู้ป่วยบางรายอาจทานอะไรไม่ลง ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องให้สารอาหารทางเส้นเลือดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

การรักษาโรคโครห์น

การรักษามีทั้งการรักษาด้วยยา การผ่าตัดและการให้อาหารเสริม

เป้าหมายหลักของการรักษาคือการควบคุมการอักเสบ, แก้ไขปัญหาทางโภชนาการให้ถูกต้องและบรรเทาอาการ

โรคโครห์นไม่ทางแก้ได้แต่การรักษาสามารถช่วยลดการกลับมาเกิดอาการซ้ำอีกครั้งได้

การรักษาโรคโครห์นขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้:

  • บริเวณที่เกิดการอักเสบเกิด
  • ภาวะความรุนแรงของโรค
  • ภาวะแทรกซ้อน
  • การตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย

ในบางรายอาจเป็นโรคโครห์นอยู่เป็นระยะเวลานาน อาจนานหลายปีโดยไม่มีอาการใดๆ เราเรียกว่าว่าการไม่มีอาการของโรค แต่อย่างไรก็ดีโรคนี้ก็จะกลับมาเป็นใหม่อีกครั้งเสมอ

ช่วงระยะไม่มีอาการของโรคนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งยากต่อการรักษาให้ได้ผล เป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ในการคาดการณ์ว่าโรคจะสงบอยู่ได้นานมากน้อยแค่ไหน

ยาสำหรับรักษาโรคโครห์น

  • ยาแก้อักเสบ- แพทย์มักจ่ายยาเช่น ยาเมซาลามีน (ซัลฟาซาลาซีน) เพื่อช่วยควบคุมการอักเสบ
  • ยาคอร์ติโซนหรือสเตียรอยด์-ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์คือยาที่มีคอร์ติโซนหรือสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบ
  • ยาปฏิชีวนะ– โรคฝีคัณฑสูตรที่อาจมีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตมากเกินไปของแบคทีเรีย แพทย์อาจจะรักษาด้วยยาแอมพิซิลลิน, ซัลโฟนาไมด์, เซฟาโลสปอริน, เตตราไซคลีนหรือเมโทรนิดาโซล.
  • ยาแก้ท้องเสียและการทดแทนของเหลว-เมื่อการอักเสบลดน้อยลง ปัญหาเรื่องการถ่ายท้องก็จะลดน้อยลงด้วย แต่ในบางครั้งผู้ป่วยอาจต้องการบางสิ่งเพื่อแก้เรื่องท้องเสียและอาการปวดท้อง

Crohn's Disease

ยาจากสารสกัดชีวภาพ

ยาจากสารสกัดชีวภาพเป็นยารูปแบบใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ได้มีการพัฒนาขึ้นจากสิ่งมีชีวิต ยาจะไปทำการลดการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานร่างกายลงโดยพุ่งเป้าไปที่โปรตีนที่นำไปสู่การอักเสบ

ยาชีววัตถุสามารถช่วยรักษาโรคโครห์นได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ยาอินฟลิซีแมบ  (Remicade)
  • ยาอะดาลิมูแมบ (Humira)
  • ยา6-เมอร์แคปโทเพียวรีน (Purinethol)
  • ยาเมโธเทรกเซทmethotrexate
  • ยาอะซาไธโอพรีน   imuran (Azathioprine)
  • certolizumab pegol (Cimzia)

การรักษาด้วยยาชีววัตถุอาจส่งผลข้างเคียงได้ เช่นอาเจียน คลื่นไส้และการต้านทานต่อการติดเชื้ออ่อนแอลง

จากการศึกษาพบว่าการนำยาชีววัตถุมาใช้สามารถช่วยลดโอกาสในการผ่าตัดช่องท้องภายใน 10 ปีไปได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ 

การใช้ยาชีววัตถุสามารถลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมด้วย

ยาจากสารสกัดชีวภาพมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับต้องการผลอย่างไร แพทย์จะแนะนำตัวเลือกที่เหมาะสม และลองหาตัวที่ใช้ได้ผลดีอาจใช้ตัวเดียวหรือร่วมกันกับตัวอื่นๆหากตัวแรกใช้ไม่ได้ผล

การผ่าตัด

ผู้ป่วยโรคโครห์นมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดก็ต่อเมื่อการใช้ยารักษาไม่สามารถควบคุมอาการได้อีกต่อไป จึงเหลือทางเลือกเดียวคือการผ่าตัดเท่านั้น การผ่าตัดสามารถบรรเทาอาการที่ไม่ตอบสนองต่อยารักษาโรคหรือต่อภาวะแทรกซ้อนที่ต้องแก้ไข เช่นฝี, การแตกทะลุ,มีเลือดออก,และการอุดตัน

การตัดเอาลำไส้บางส่วนออกก็สามารถช่วยได้ แต่ไม่ใช่การรักษาโรคโครห์นให้หายขาด เพราะการอักเสบมักจะกลับมาเป็นอีกครั้งในบริเวณติดกับส่วนของลำไส้ที่มีผลกระทบที่โดนเอาออกไป ทำให้ผู้ป่วยโรคโครห์นอาจต้องมีการผ่าตัดมากกว่าหนึ่งครั้ง

ในบางรายอาจต้องมีการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก ซึ่งนั้นหมายความว่าเอาลำไส้ใหญ่ออกทั้งหมด อาจด้วยการผ่าตัดแผลเล็กที่บริเวณหน้าท้องด้านหน้า เป็นการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อเป็นทางออกของอุจาจาระ โดยมีรูเปิดบริเวณหน้าท้องเรียกว่า stoma แพทย์จะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าคนที่มีถุงติดตัวแบบนี้ก็สามารถใช้ชีวิตและทำกิจกรรมได้ตามปกติ

แต่หากการผ่าตัดสามารถนำลำไส้ส่วนที่เป็นโรคออกและจากนั้นนำมาต่อกับลำไส้ส่วนอื่นได้อีกครั้ง การเปิดใส่ถุงหน้าท้องก็ไม่มีความจำเป็น

ผู้ป่วยและแพทย์จะต้องตัดสินใจเรื่องการผ่าตัดนี้ร่วมกันอย่างระมัดระวัง เพราะไม่ได้เหมาะสมสำหรับทุกคน 

การวินิจฉัย

แพทย์จะซักถามอาการผู้ป่วย และตรวจร่างกายเพื่อคลำหาก้อนในช่องท้องที่อาจมีสาเหตุมาจากการอักเสบของลำไส้

การตรวจต่อไปนี้จะสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้:

  • ตรวจเลือดและอุจจาระ
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ด้วยกล้องที่มีลักษณะโค้งงอ สั้นๆเข้าไปทางทวารหนักเพื่อสำรวจบริเวณลำไส้ใหญ่
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ด้วยกล้องที่ติดไปกับท่อขนาดเล็ก ผอม ยาวและยืดหยุ่นได้ เพื่อสำรวจสำไส้ใหญ่
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารหากอาการที่เกิดขึ้นอยู่ในบริเวณลำไส้ส่วนบน โดยการสอดใส่สายยางเล็กที่มีเลนส์และแสงไฟ เข้าทางปากผ่านหลอดอาหารเข้าไปดูในช่องท้อง 
  • การเอกซเรย์ซีทีสแกนหรือการสวนแป้งแบเรียมเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงภายในลำไส้ 

ภาวะแทรกซ้อน

หากมีอาการรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อย โอกาสในการเกิดภาวะแแทรกซ้อนก็มีมากขึ้นไปด้วย ภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด:

  • มีเลือดออกภายใน
  • เกิดการตีบตันทำให้ลำไส้แคบ เป็นสาเหตุให้เกิดแผลเนื้อเยื่อและลำไส้เกิดการอุดตันบางส่วนหรือทั้งหมด
  • การทะลุ เมื่อเกิดรูเล็กๆที่ผนังลำไส้จากผนังลำไส้รั่ว เป็นสาเหตุของการติดเชื้อหรือเกิดฝีหนอง
  • ฝีคัณฑสูตร

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *