โรคหลงผิด (Delusional Disorder) คือ อาการทางจิตที่มีความรุนแรง มักพบได้ในคนวัยกลางคน พบได้น้อยกว่าโรคจิตเภท โรคหลงผิดต่างจากโรคจิตเภทคือมีอาการหลงผิดแต่ไม่มีอาการทางจิตอื่นๆ เช่น ภาพหลอน พูดไม่รู้เรื่อง พฤติกรรมผิดปกติ
อาการหลงผิดอาจเกิดจากสถาณการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจริงในชีวิต เช่น มีความคิดว่ามีคนต้องการทำร้าย ถูกวางยา ติดเชื้อ มีคนรักที่อยู่ห่างไกล หรืออาจเกิดจากสถานการณ์ที่ไม่มีความเป็นไปได้ เช่น การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะภายในโดยไม่ทิ้งรอยแผล อาการหลงผิดแตกต่างกับความเข้าใจผิดตรงที่ผู้ที่มีอาการนี้ยังจะคงเชื่อในสิ่งนั้นแม้ว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าสิ่งที่เชื่อนั้นไม่ใช่ความจริงก็ตาม
ประเภทของอาการหลงผิด
อาการหลงผิดมีหลายประเภทย่อย ดังนี้:
- อีโรโทมานิค (Erotomanic): ผู้ป่วยจะเชื่อว่ามีคนบางคนหลงรักเขาอยู่ ผู้ป่วยจะพยายามติดต่อคนนั้นโดยการโทรศัพท์ไปหา ส่งจดหมาย หรือใช้ช่องทางออนไลน์ บางรายอาจสะกดรอยตาม พฤติกรรมเหล่านี้อาจผิดกฎหมาย
- แกรนดิโอส (Grandiose): ผู้ป่วยเชื่อว่าตัวเองมีความสามารถที่พิเศษมากหรือ คิดว่าตัวเองค้นพบอะไรบางอย่างที่มีความสำคัญ
- อิจฉา (Jealous): ผู้ป่วยเชื่อว่าคนรักไม่ซื่อสัตย์ เกิดจากการอนุมานไปเอง อาจมีอันตรายหากเกิดการทำร้ายร่างกายกัน
- หลงผิดว่าถูกปองร้าย (Persecutory): ผู้ป่วยเชื่อว่ามีคนวางแผนทำร้ายตน แอบติดตาม มีคนปองร้าย จ้องทำร้าย ผู้ป่วยอาจแจ้งความบ่อยๆ แต่ผู้ป่วยจะไม่ทำอะไรถึงขั้นร้ายแรง
- โซมาติก (Somatic): ผู้ป่วยจะคิดว่าร่างกายตนเองไม่ปกติ เป็นโรค เช่น คิดว่ามีปรสิตในร่างกาย หรือได้กลิ่นไปเอง
อาการของโรคหลงผิด
อาการหลงผิดอาจเกิดจากอาการหวาดระแวงที่มีอยู่แล้ว ผู้ที่มีอาการหวาดระแวง เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น จะไม่เชื่อและคอยสงสัยผู้อื่นและจุดประสงค์ของเขาเสมอ
อาการมีดังนี้
- รู้สึกถูกเอาเปรียบ
- หมกมุ่นกับความซื่อสัตย์และความน่าเชื่อถือของเพื่อน
- ประเมินว่าสิ่งที่คุกคามนั้นไม่ร้ายแรง
- คิดโกรธแค้นอยู่เป็นเวลานาน
- มีปฏิกิริยาโต้กลับเร็วกับสิ่งที่รับรู้เพียงเล็กน้อย
พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้แปลกหรือแตกต่างไปจากปกติมาก ผู้ที่มีอาการนี้ใช้ชีวิตค่อนข้างปกติยกเว้นเมื่ออาการหลงผิดทำให้เกิดปัญหา เช่น ชีวิตแต่งงานอาจมีปัญหาเพราะผู้ป่วยคิดว่าคู่รักไม่ซื่อสัตย์
การวินิจฉัย
หลังจากที่ตัดอาการบางอย่างที่จะทำให้เกิดความหลงผิด (เช่น การใช้ยาเสพติด) แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วยและอาการ และต้องประเมินว่าผู้ป่วยจะเป็นอันตรายแค่ไหนหากอาการกำเริบ
การรักษาโรคหลงผิด
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยที่ดี
- อาจต้องใช้ยาสำหรับรักษาโรคจิต
การรักษาอาจลำบากเพราะผู้ป่วยบางคนเชื่อมั่นในอาการหลงผิดและปฏิเสธรับการรักษา หากแพทย์และผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ที่ดีอาจช่วยได้ แพทย์จะสามารถโน้มน้าวให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้
หากแพทย์คิดว่าผู้ป่วยอาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ยาสำหรับรักษาโรคจิตไม่ได้นำมาใช้บ่อย แต่บางครั้งช่วยให้อาการลดลงได้
เป้าหมายของการรักษาระยะยาวคือเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยไม่คิดถึงอาการหลอนและให้สนใจเรื่องอื่นๆที่ดีกว่าแทน ถึงแม้ว่าอาจทำได้ยากก็ตาม
ภาพรวม
อาการหลงผิดไม่ได้ก่อให้เกิดความบกพร่องใดๆ ที่ร้ายแรง แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการแย่ลงและหลงไปในความหลงผิดของตน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังสามารถทำงานได้อยู่ตราบใดที่ในที่ทำงานไม่มีเหตุการณ์หรือคนที่อยู่ในอาการหลงผิดของตนเอง
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9599-delusional-disorder
- https://www.webmd.com/schizophrenia/guide/delusional-disorder
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539855/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก