

การครอบฟัน คือ การครอบแทนลงไปบนฟันที่ได้รับความเสียหาย การครอบฟันใช้เพื่อปกป้องคลุม และซ่อมแซมรูปทรงของฟันเมื่อมีการเติมเต็มปัญหาที่แก้ไม่ได้ การครอบฟันทำมาจากโลหะ เซรามิก เรซิน และพอร์ชเลน ไม่จำเป็นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษเมื่อเวลาผ่านไปมากไปกว่าการดูแลช่องปากที่ดีตามปกติ
ภาพรวม
การครอบฟันคือ อะไร
เมื่อเวลาผ่านไป ฟันของคุณอาจได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายเหตุผล เช่น ฟันผุ การได้รับบาดเจ็บ หรือแค่ใช้เมื่อเวลาผ่านไป ฟันสามารถสูญเสียรูปทรง หรือขนาด การครอบฟันคือ การ “ตัวครอบ” ที่มีรูปทรงฟันนำไปครอบทับฟัน การครอบฟันจะช่วยแก้ไขรูปทรง ขนาด ความแข็งแรง และความสวยงามของฟัน
การครอบฟันคือ การใส่ซีเมนต์ทันตแพทย์ลงไปในฟัน และปิดส่วนที่มองเห็นของตัวฟัน
ทำไมจึงจำเป็นต้องมีการครอบฟัน
อาจมีความจำเป็นในการครอบฟันหลายเหตุผล ซึ่งรวมไปถึง:
- ปกป้องฟันที่อ่อนแอ (บางทีจากฟันผุ) จากการแตกหัก หรือเพื่อรักษาฟันที่อ่อนแอไว้ด้วยกันหากมีส่วนที่แตกหัก
- การแก้ไขซ่อมแซมฟันที่แตกหัก หรือฟันที่สึกหรอ
- ปกปิด และช่วยเสริมฟันด้วยการเติมปกปิดให้กับฟันที่เหลืออยู่ไม่มาก
- เพื่อยึดสะพานฟันไว้ให้อยู่กับที่
- ปกปิดฟันที่ผิดรูป หรือฟันที่มีการเปลี่ยนสีรุนแรง
- ปกปิดรากเทียม
- ปกปิดฟันที่ถูกรักษาด้วยการรักษารากฟัน
การครอบฟันแบบออนเลย์ และแบบ3/4 ส่วนคือ อะไร
มีการครอบฟันหลายชนิดที่นำมาใช้กับฟัน แบบออนเลย์ และแบบ ¾ ส่วนคือชนิดของการครอบฟันที่ไม่ได้ปิดฟันมากเหมือนการครอบฟันแบบดั้งเดิม การครอบฟันแบบดั้งเดิมจะครอบฟันหมดทั้งซี่ การครอบฟันแบบออนเลย์ และแบบ ¾ ส่วนมักถูกนำมาใช้เมื่อฟันยังมีเนื้อฟันอยู่ ในขั้นตอนการทำทันตแพทย์จะนำเอาส่วนที่มีปัญหาออก และปรับเปลี่ยนรูปทรงของฟันให้รับเข้ากับฟันที่จะนำมาครอบ
ครอบฟันทำมาจากอะไร
การครอบฟันถาวรทำมาจากวัสดุแตกต่างกันได้หลายชนิด วัสดุครอบฟันเหล่านี้คือ:
- โลหะ: มีวัสดุที่เป็นโลหะหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ทำการครอบฟัน ซึ่งรวมไปถึงทอง แพลเลเดียม นิเกิล และโครเมี่ยม การครอบฟันด้วยวัสดุโลหะมักไม่ค่อยบิ่น หรือแตกหัก มีอายุการใช้งานนานในการสึกหรอ และเอาตัวฟันออกจำนวนไม่มาก ทีความทนต่อการกัด และแรงบดเคี้ยว สีเมทัลลิคคือ ข้อเสียใหญ่ของการครอบฟันชนิดนี้ การครอบฟันด้วยวัสดุโลหะคือ ทางเลือกที่ดีสำหรับฟันกรามซี่ที่มองไม่เห็น
- โลหะเคลือบเซรามิค : การครอบฟันชนิดนี้สามารถทำให้สีเข้ากันกับสีฟันซี่ที่ใกล้กับซี่ที่จะครอบฟันได้ วัสดุชนิดนี้มีสีฟันเหมือนธรรมชาติมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งวัสดุชนิดนี้บริเวณด้านใต้ของตัวครอบที่เป็นพอร์ชเลนจะเห็นเป็นเส้นสี ข้อเสียอีกอย่างคือ มีโอกาสบิ่น หรือแตกหัก และฟันที่ครอบจะทำให้ฟันฝั่งตรงข้ามกันในช่องปากสึกหรอ การสึกหรอนี้ยังส่งผลต่อฟันซี่อื่นๆซี่ที่อยู่ติดกับฟันซี่ที่ครอบทั้งส่วนบน และส่วนล่างของฟันเมื่อถูกปิด โลหะเคลือบเซรามิคเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับทำฟันหน้า หรือหลัง
- เรซิน: การครอบฟันที่นำมาจากเรซินคือ ราคาถูกกว่าการครอบฟันชนิดอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามวัสดุชนิดนี้อาจสึกหรอเมื่อเวลาผ่านไป และอาจมีการแตกหักได้มากกว่าโลหะเคลือบเซรามิค
- เซรามิคล้วน หรือพอร์ชเลนล้วน วัสดุชนิดนี้มีสีที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดเมื่อเทียบกับการครอบฟันชนิดอื่นๆ เป็นตัวเลือกที่ดีหากมีอาการแพ้โลหะ แต่อย่างไรก็ดีวัสดุชนิดนี้ไม่แข็งแรงเท่าชนิดโลหะเคลือบเซรามิค ส่งผลให้เกิดการสึกหรอกับฟันซราตรงข้ามได้น้อยกว่าโลหะ หรือเรซิน ครอบฟันชนิดเซรามิคล้วนคือ ทางเลือกที่ดีสำหรับฟันหน้า
- ชนิดเซรามิคอัด: การครอบฟันชนิดนี้จะมีแกนในแข็ง เซรามิคอัดนำมาแทนในกระบวนการทำครอบฟันเซรามิคล้วน ชนิดเซรามิคอัดคือ ส่วนครอบเป็นพอร์ชเลน ซึ่งจะให้สีที่เป็นธรรมชาติ และคงทนกว่าชนิดพอร์เลนอย่างเดียว
รายละเอียดขั้นตอนการครอบฟัน
ควรเตรียมฟันสำหรับการทำครอบฟันอย่างไร
จะต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทำครอบฟันสองครั้ง
การไปพบทันตแพทย์ครั้งแรก
ในระหว่างการไปพบครั้งแรก ฟันซี่ที่จะได้รับการทำครอบฟันจะได้รับการตรวจ และเตรียมความพร้อม การเอกซเรย์คือ การถ่ายรูปฟัน และกระดูกรอบๆ ทันตแพทย์อาจจะต้องทำการรักษารากฟันก่อนเริ่มทำการครอบฟันหากพบว่า:
- มีฟันผุ
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- มีการบาดเจ็บที่โพรงรากฟัน
โพรงรากฟันคือ เนื้อเยื่อภายในฟันที่ประกอบไปด้วยหลอดเลือด เส้นประสาท และเนื่อเยื่อเกี่ยวพัน
ฟันที่จะทำหารครอบฟันจะขัดฟันที่ด้านบน และด้านข้าง ทำให้เกิดเนื้อที่สำหรับครอบฟัน จำนวนเนื้อฟันที่ถูกนำออกไปจะขึ้นอยู่กับชนิดของการครอบฟันที่ใช้ ครอบฟันชนิดโลหะจะบางกว่า และไม่จำเป็นต้องนำเนื้อฟันออกมากเท่าชนิดพอร์ชเลน หรือชนิดโลหะเคลือบเซรามิค หากฟันหายไปมากเกินไป เพราะ ความเสียหายหรือฟันผุจำต้องใช้วัสดุมาเติมให้โครงสร้างฟันเพียงพอสำหรับการทำครอบฟัน
หลังจากปรับแต่งฟัน จะมีการพิมพ์ฟันเพื่อนำไปทำต้นแบบที่จะไปทำครอบฟัน ทันตแพทย์จะพิมพ์ฟันทั้งบน และล่างเพื่อทำครอบฟัน เพื่อให้แน่ใจว่าครอบฟันจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคี้ยว
เมื่อพิมพ์ฟันเสร็จจะส่งต่อไปยังห้องแลปเพื่อทำตัวครอบ และปกติมักนำกลับมาให้ทันตแพทย์ภายในสอง หรือสามสัปดาห์ ในระหว่างการพบทันตแพทย์ครั้งแรก ทันตแพทย์จะปิดครอบฟันชั่วคราวไว้ให้เพื่อปกป้องฟันที่เตรียมไว้ในการรอครอบฟันถาวร
การพบทันตแพทย์ครั้งที่สอง
ในการพบทันตแพทย์ครั้งที่สอง จะครอบฟันถาวรลงที่ฟัน ในขั้นแรกครอบฟันชั่วคราวจะถูกเอาออกมา และตรวจดูความแน่น และสีของครอบฟันถาวร หากทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีปัญหา ยาระงับความรู้สึก (ยาชา) จะถูกนำมาใช้เพื่อทำให้ชา และนำเอาครอบฟันอันใหม่คือ อันถาวรมาใส่แทนที่
ความเสี่ยง/ประโยชน์
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการครอบฟันคือ อะไร :
ไม่สบายช่องปาก หรือไวต่อความรู้สึก: เมื่อครอบฟันใหม่ๆอาจรู้สึกได้ทันทีหลังการทำเมื่อยาชาเริ่มหมดฤทธิ์ หากฟันที่ครอบยังคงมีเส้นประสาทอยู่ข้างใน อาจทำให้เกิดอาการไวต่อความร้อน และความเย็น ทันตแพทย์อาจแนะนำให้แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่ออกแบบมาเพื่อฟันที่ไวต่อความรู้สึก อาการปวด หรือไวต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อกัดฟันนั้นอาจแสดงว่าครอบฟันนั้นอาจสูงกว่าฟันมากเกินไป หากในกรณีเช่นนี้ให้โทรปรึกษาทันตแพทย์ซึ่งปัญหานี้แก้ได้ไม่ยากนัก
- ครอบฟันแตกบิ่น: ครอบฟันชนิดที่ทำจากพิร์ชเลนบางครั้งอาจกระเทาะได้ รอยบิ่นเล็กๆสามารถซ่อมแซมได้ และครอบหันสามารถยังคงอยู่ในช่องปากได้ การครอบฟันอาจจำเป็นต้องได้รับการทำใหม่หากรอยบิ่นมีขนาดใหญ่ หรือมีรอยหลายจุด
- ครอบฟันหลวม: บางครั้งซีเมนต์ทันตแพทย์ที่ยึดครอบฟันสามารถหลุดออกมาจากใต้ครอบฟันได้ ไม่เพียงแต่จะทำให้การครอบฟันหลวมเท่านั้น แต่ยังยอมให้เชื้อแบคทีเรียซึมเข้าไปด้านใน และเป็นสาเหตุของฟันผุกับฟันที่ยังคงเหลืออยู่ หากรู้สึกว่าครอบฟันหลวมให้แจ้งทันตแพทย์ของท่าน
- ครอบฟันหลุด: การครอบฟันสามารถหลุดได้ เมื่อเกิดขึ้นอาจเกิดจากการไม่ได้ขนาดที่พอดี หรือซีเมนต์ทันตแพทย์ไม่พอเพียง หากเกิดสิ่งนี้ขึ้นให้ไปหาทันตแพทย์ทันที ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำพิเศษเกี่ยวกับการดูแลฟัน และครอบฟันจนกว่าจะถึงคราวนัดทันตแพทย์ ทันตแพทย์อาจต้องนำกลับมาลงซีเมนต์ใหม่
- เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้: โลหะที่ใช้ในการทำครอบฟันคือ ส่วนผสมของโลหะหลายชนิด อาจทำให้เกิดอาการแพ้โลหะ หรือพอร์ชเลนมี่ใช้ทำครอบฟัน แต่พบได้ไม่บ่อยนัก
การฟื้นตัว และการเฝ้าติดตาม
ครอบฟันอยู่ได้นานแค่ไหน
เฉลี่ยแล้วครอบฟันสามารถอยู่ได้ระหว่าง 5 ถึง 15 ปี ขึ้นอยู่กับการสึกหรอ การติดเชื้อ การดูแลสุขอนามัยในช่องปาก และพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้ปากเช่น :
- บด หรือกัดฟัน
- เคี้ยวน้ำแข็ง
- กัดเล็บ
- ใช้ฟันเปิดซองบรรจุภัณฑ์
การครอบฟันต้องการการดูแลอะไรเป็นพิเศษบ้าง ?
ครอบฟันไม่ต้องการการดูแลพิเศษแต่อย่างใด แต่กระนั้นการครอบฟันก็ยังคงต้องการการปกป้องจากฟันผุ หรือโรคเหงือก เพราะฉะนั้นจึงควรรักษาสุขอนาทัยในช่องปากให้ดี รวมถึงการแปรงฟันวันละสองครั้ง และใช้ไหมขัดฟันวันละครั้งโดยเฉพาะในบริเวณรอบๆโดยเฉพาะรอบๆบริเวณเหงือกที่เจอกับตัวฟัน หลีกเลี่ยงการกัดของแข็งๆหากใช้การครอบฟันแบบพอร์ชเลน (ยกตัวอย่าง การเคี้ยวน้ำแข็ง) เพื่อป้องกันพอร์ชเลนแตก
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก