โรคเหงือก (Gingivitis and Periodontal Disease)

โรคเหงือก (Gingivitis and Periodontal Disease)

12.06
1652
0

โรคเหงือก (Gum disease) หรือโรคปริทันต์ (Periodontal disease) เกิดจากการที่มีแบคทีเรียเจริญเติบโตในช่องปากของคุณและอาจสิ้นสุดลงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่การสูญเสียฟันเนื่องจากเนื้อเยื่อโดยรอบฟันถูกทำลาย

ความแตกต่างระหว่างเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ

เหงือกอักเสบ (Gingivitis/Gum inflammation) มักเกิดก่อนโรคปริทันต์อักเสบ(โรคเหงือก) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าไม่ใช่เหงือกอักเสบทุกชนิดจะนำไปสู่โรคปริทันต์อักเสบ

ในระยะแรกของเหงือกอักเสบ แบคทีเรียจะสร้างคราบจุลินทรีย์ขึ้นมาทำให้เหงือกอักเสบและเลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน แม้ว่าเหงือกจะระคายเคืองอยู่บ้างแต่ฟันยังฝังแน่นอยู่ในเบ้าฟัน ยังไม่เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อและกระดูกในขั้นตอนนี้

เมื่อเหงือกอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษา อาการก็จะรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ในคนที่เป็นโรคปรทันต์อักเสบ เหงือกชั้นในและกระดูกจะแยกออกจากฟันและก่อตัวเป็นถุง ช่องว่างเล็กๆที่เกิดขึ้นระหว่างฟันและเหงือกจะสะสมต่างๆและอาจติดเชื้อได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะต่อสู้กับแบคทีเรียเมื่อคราบจุลินทรีย์แพร่กระจายและเจริญเติบโตอยู่ใต้แนวเหงือก

สารพิษ จะถูกสร้างโดยแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์รวมทั้งเอนไซม์ที่ดีของร่างกายจากกระบวนการต่อต้านการติดเชื้อนำไปสู่การเริ่มสลายกระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันธ์ที่ทำหน้าที่ยึดฟันให้เข้าที่ เมื่อโรคดำเนินไป ถุงที่ถูกสร้างขึ้นก็จะลึกลงไปเรื่อยๆ เนื้อเยื่อของเหงือกและกระดูกจถุกทำลายมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฟันจะโยกและเกิดการสูญเสียฟัน โรคเหงือกจึงเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียฟันในผู้ใหญ่

สาเหตุของโรคเหงือก

คราบจุลินทรีย์เป็นสาเหตุหลักของโรคเหงือก อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆก็สามารถทำให้เกิดโรคปริทันต์ได้ซึ่งรวมถึง:

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ วัยเจริญพันธ์ุ วัยทองและช่วงที่มีประจำเดือน เป็นช่วงที่เหงือกอ่อนแอ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเกิดเหงือกอักเสบ
  • การเจ็บป่วย อาจส่งผลต่อสภาพเหงือก เช่นโรคมะเร็ง หรือการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะไปรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โรคเบาหวานที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้น้ำตาลในเลือดของร่างกายทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ อย่างเช่น โรคปริทันต์ และฟันผุ
  • ยา อาจส่งผลต่อสุขภาพภายในช่องปาก เนื่องจากการลดลงของน้ำลาย ซึ่งมีผลในการปกป้องเหงือกและฟัน ยาบางตัว เช่น ยากันชัก ไดแลนติน (Dilantin) และยากลุ่มที่ขยายหลอดเลือดแดงโคโรนารีของหัวใจ (Anti-angina drug) โปรคาเดีย (Procardia) และ อะดาแลท (Adalat) ทำให้เนื้อเยื่อเหงือกเติบโตผิดปกติ
  • พฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ทำให้เนื้อเยื่อของเหงือกยากต่อการซ่อมแซมตัวเอง
  • สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี เช่น ไม่แปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ ทำให้เกิดเหงือกอักเสบได้ง่าย
  • ประวัติโรคเหงือกในครอบครัว อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ

อาการของโรคเหงือก

โรคเหงือกอาจดำเนินไปอย่างไม่เจ็บปวดทำให้มีสัญญาณที่สังเกตได้ไม่กี่อย่าง แม้จะอยู่ในระยะท้ายๆของโรค อย่างไรก็ดีอาการของโรคปริทันต์มักซับซ้อน แต่ภาวะดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นไปโดยไม่มีสัญญาณเตือน อาการบางอย่างอาจบ่งชี้ถึงรูปแบบของโรคได้ อาการของโรคเหงือกได้แก่:

  • มีเลือดออกที่เหงือกระหว่างและหลังแปรงฟัน
  • เหงือกบวม  แดง หรือปวด มีแผลที่เหงือก
  • มีกลิ่นปาก หรือมีรสชาติไม่มีในปาก
  • เหงือกร่น
  • เกิดการก่อตัวของถุงที่อยู่ลึกลงไประหว่างฟันและเหงือก
  • ฟันโยกหรือหลุด
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะการสบฟันเมื่อกัดลง หรือความพอดีกันกับฟันปลอม

แม้ว่าคุณไม่สังเกตเห็นอาการใดๆ แต่คุณอาจยังมีโรคเหงือกบางระดับอยู่ บางรายโรคเหงือกอาจส่งผลต่อฟันอย่างเดียว เช่น ฟันกราม เพียงทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านปริทันตวิทยาเท่านั้นที่สามารถรับรู้และประเมินการลุกลามของโรคเหงือกได้

Gingivitis and Periodontal Disease

การวินิจฉัยโรคเหงือก

ระหว่างที่ทำการตรวจฟัน ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะตรวจหาสิ่งเหล่านี้ :

  • เหงือกมีเลือดออก, การบวม, ความแน่นของเหงือก และความลึกของถุง(ช่องว่างระหว่างเหงือกและฟัน ซึ่งถุงที่ใหญ่ขึ้นและลึกขึ้นจะเพิ่มความรุนแรงของโรค)
  • การเคลื่อนตัวของฟัน ความอ่อนไหว และการเรียงตัวของฟันที่เหมาะสม
  • กระดูกขากรรไกร เพื่อช่วยระบุว่าเกิดการหักของกระดูกโดยรอบฟันหรือไม่

โรคเหงือกรักษาอย่างไร

เป้าหมายในการรักษาโรคเหงือกคือเพื่อส่งเสริมให้เหงือกกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม, ลดการบวม, ลดความลึกของถุง และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และช่วยหยุดการลุกลามของโรค แนวทางในการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค อย่างไรก็ตามคุณอาจตอบสนองต่อการรักษาก่อนหน้านี้และสุขภาพโดยรวมของคุณ แนวทางในการรักษามีตั้งแต่การรักษาแบบไม่ผ่าตัดซึ่งจะควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียไปจนถึงวิธีรักษาโรคเหงือกโดยการผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูเนื้อเยื่อประสานค้ำจุน คำอธิบายที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับแนวทางในการรักษาต่างๆมีอยู่ในการรักษาโรคเหงือก

การป้องกันการเกิดโรคเหงือก

เหงือกอักเสบสามารถกลับมาเป็นซ้ำและเกิดการลุกลามไปเป็นโรคเหงือกได้ ซึ่งการที่จะหยุดการเกิดโรคได้ในทุกกรณีเมื่อมีการฝึกควบคุมคราบจุลินทรีย์อย่างเหมาะสม การควบคุมคราบจุลินทรีย์ให้เหมาะสมประกอบไปด้วยการทำความสะอาดฟันอย่างมืออาชีพอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง(หมายถึงการไปพบทันตแพทย์ เช่น การขูดหินปูน)และการแปรงฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน การแปรงฟันจะช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์ออกจากพื้นผิวฟันที่สามารถเข้าถึงได้ การใช้ไหมขัดฟันจะช่วยขจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ระหว่างซอกฟันและเหงือกได้ น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมต้านเชื้อแบคทีเรียจะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดคราบจุลินทรีย์และโรคเหงือกได้ ตามข้อมูลจากสมาคมทันตกรรมอเมริกา (the American Dental Association)

สุขภาพอย่างอื่นและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่จะช่วยลดความเสี่ยง, ความไวต่อโรคและความเร็วในการลุกลามของโรคเหงือก ได้แก่:

  • หยุดการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคเหงือกมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 7 เท่า และการสูบบุหรี่ทำให้ลดโอกาสความสำเร็จในการรักษาบางอย่าง
  • การลดความเครียด ความเครียดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยากต่อการต่อต้านการติดเชื้อ
  • การรับประทานอาหารอย่างสมดุล โภชนาการที่เหมาะสมจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อได้ การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ สิ่งที่อุดมไปด้วยวิตามินอี(น้ำมันพืช, ถั่ว, ผักใบเขียว) และวิตามินซี (ผลไม้รสเปรี้ยว, บร๊อคโคลี, มัน) สามารถช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอได้
  • หลีกเลี่ยงการกัดและบดฟัน การกระทำเหล่านี้อาจทำให้เกิดแรงกดไปที่เนื้อเยื่อประสานค้ำจุนของฟันมากเกินไปและอาจเพิ่มอัตราการถูกทำลายของเนื้อเยื่อดังกล่าวได้

แม้จะปฏิบัติตามหลักด้านการดูแลสุขอนามัยในช่องปากที่ดีและเลือกวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพอื่นๆ the American Academy of Periodontology กล่าวว่ามากกว่าร้อยละ 30 ของชาวอเมริกันอาจมีพันธุกรรมของโรคเหงือก และผู้ที่มีความบกพร่องทางพันธุกรรมอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเหงือกบางชนิดสูงถึง 6 เท่า หากมีใครในครอบครัวของคุณเป็นโรคเหงือก อาจหมายถึงคุณมีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือก ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านปริทันต์อาจจะแนะนำให้ตรวจสุขภาพฟัน, ทำความสะอาดและเข้ารับการรักษาบ่อยขึ้น เพื่อที่จะสามารถจัดการกับภาวะโรคเหงือกได้ดีขึ้น

โรคเหงือกเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพอื่นๆหรือไม่

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค นักวิจัยได้ค้นพบความเชื่อมโยงที่อาจเป็นไปได้ระหว่างโรคเหงือกกับภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงอื่นๆ ในผู้ที่มีระบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เชื้อแบคทีเรียภายในช่องปากที่จะเข้าสู่กระแสเลือดจะไม่เป็นอันตราย แต่ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ โรคเบาหวานไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเหงือกเท่านั้น แต่โรคเหงือกอาจทำให้โรคเบาหวานแย่ลง


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *