- แพทย์วินิจฉัยโรคซึมเศร้าอย่างไร
- แพทย์มองหาอะไรในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า
- อาการของโรคซึมเศร้าจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้อย่างไร
- มีสัญญาณของร่างกายที่บ่งบอกถึงภาวะซึมเศร้าหรือไม่?
- มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการตัวใดบ้างที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า?
- เราจะสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างไร?
- จะทราบได้อย่างไรว่าเราควรขอความช่วยเหลือเมื่อไหร่
ในอดีตความผิดปกติทางอารมณ์มักจะถูกวินิจฉัยแบบเหมารวม แต่ปัจจุบันแพทย์ได้มีการจำแนกความแตกต่างของแต่ละความผิดปกติทางอารมณ์ แบ่งย่อยลงไปในรายละเอียดที่แตกต่างของโรคซึมเศร้า ตัวอย่างเช่น แพทย์จะประเมินผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า, โรคซึมเศร้าเรื้อรัง เช่น โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia), โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal affective disorder :SAD), โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) หรือโรคซึมเศร้าแบบอื่นๆทางคลินิก
แพทย์วินิจฉัยโรคซึมเศร้าอย่างไร
แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจ หรือการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการอื่นๆที่ช่วยให้ได้ข้อวินิจฉัย แต่การตรวจทางห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่มักไม่ค่อยช่วยซักเท่าไหร่ การได้พูดคุยกับคนไข้โดยตรงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้แพทย์วินิฉัยโรคซึมเศร้าได้ ฉะนั้นแพทย์จะต้องได้พบปะกับคนไข้ทุกรายในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า การคัดกรองดังกล่าวอาจเกิดขึ้นระหว่างที่เกิดการเจ็บป่วนเรื้อรัง, หรือขณะที่มีสุขภาพดี หรือระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดประสิทธิผลของการวินิจฉัยและการรักษาโรคซึมเศร้าแพทย์จะต้องรับฟังผู้ป่วย และทราบถึงอาการจำเพาะบางอย่างของโรคซึมเศร้า โดยแพทย์อาจใช้ชุดคำถามทั่วไปในการคัดกรองโรคซึมเศร้า ระหว่างนั้นก็มีการตรวจร่างกาย รวมไปถึงพูดคุยกับผู้ป่วยถึงอารมณ์ในแต่ละวัน, พฤติกรรม และวิถีชีวิต
เป็นเรื่องยากในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า เนื่องจากอาการทางคลินิกของโรคซึมเศร้าแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น บางอาการทางคลินิกของโรคซึมเศร้าอาจทำให้ผู้คนกลายเป็นคนที่ไม่เข้าสังคม ปลีกตัวอยู่คนเดียว บ้างก็มีอาการตรงกันข้าม หรือกลายเป็นวิตกกังวล รูปแบบการกินและการนอนหลับเปลี่ยนไปมีทั้งแบบกินหรือนอนมากเกินหรือเป็นเกือบทั้งหมด
พฤติกรรมและการสังเกตอาการทางคลินิกของโรคซึมเศร้า บางครั้งแทบจะไม่พบความผิดปกติใดๆเลย เนื่องจากอาการซึมเศร้าอาจเข้าไปอยู่ในทุกส่วนของคนคนหนึ่งทั้งอารมณ์, ความคิด และพฤติกรรมของบุคคลในรูปแบบต่างๆ
แพทย์มองหาอะไรในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า
แพทย์อาจแยกสภาวะที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าด้วยการตรวจร่างกาย การสัมภาษณ์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะสามารถประเมินและวินิจฉัยโรคออกมาได้อาจต้องอาศัยประวัติครอบครัวหรือประวัติการเจ็บป่วยทางจิตใจของผู้ป่วยด้วย
แพทย์จะประเมินอาการของคุณจากการที่คุณเป็นมานานเท่าไหร่, อาการเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ และเคยเข้ารับการรักษาอย่างไรมาบ้าง แพทย์จะซักถามถึงความรู้สึกของคุณที่เกิดขึ้นเมื่อมีอาการซึมเศร้า เช่น:
- รู้สึกเศร้าหรืออยู่ในอารมณ์ซึมเศร้าทั้งวัน หรือเกือบทุกวัน
- ไร้ซึ่งความสนุกสนานในกิจกรรมที่เคยทำให้สนุก
- น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง (น้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวภายในหนึ่งเดือน) เบื่ออาหาร
- นอนไม่หลับ หรือรู้สึกง่วงนอนตลอดทั้งวัน
- ร่างกายอ่อนเพลีย หรือรทรุดโทรมจนผู้อื่นสังเกตได้
- อ่อนเพลีย หรือหมดแรงเกือบทุกวัน
- รู้สึกสิ้นหวัง หรือรู้สึกผิดมากแทบทุกวัน
- มีปัญหาในการจดจ่อ หรือการตัดสินใจแทบทุกวัน
- มีความคิดฆ่าตัวตายวนอยู่ในหัวตลอด
อาการของโรคซึมเศร้าจะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้อย่างไร
ในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า คุณต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่างที่กล่าวมาข้างต้น โดย 1ใน 2 ของอาการแรกเกิดขึ้นเกือบทุกวันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
อาการของโรคซึมเศร้าอาจเกิดเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือบางครั้งเป็นปี มันจะส่งผลต่อบุคลิกภาพและการแสดงออกทางสังคมและการทำงาน ซึ่งมีผลทำให้คนอื่นยากที่จะเห็นอกเห็นใจคุณ บางอาการอาจไปรบกวนคุณจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ในรายที่มีอาการรุนแรง ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอาจไม่อยากทานอาหาร ไม่ดูแลสุขอนามัยของตัวเอง หรือไม่นอนเลย
โดยเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชีวิตหรืออาจเกิดขึ้นซ้ำๆ, เกิดอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง หรือคงอยู่ตลอดไป ในบางรายก็ดูเหมือนจะคงอยู่ตลอดไป ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าดูเหมือนจะเป็นภาวะวิฤติในชีวิต บางครั้งก็ดูเหมือนจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
อาการทางคลินิกของโรคซึมเศร้าโดยทั่วไปจะมาควบคู่กับการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็งที่มีการพยากรณ์ของโรคที่แย่ลง
มีสัญญาณของร่างกายที่บ่งบอกถึงภาวะซึมเศร้าหรือไม่?
ไม่มีสัญญาณทางร่างกายที่จะบ่งบอกถึงภาวะซึมเศร้าได้ แม้ว่าอาจพบอาการบางอย่างได้ค่อนข้างบ่อย แต่สัญญาณของภาวะซึมเศร้าอาจรวมไปถึง:
- ดูหมกมุ่น
- ไม่สบตา
- สูญเสียความทรงจำ ไม่มีสมาธิ และขาดการใช้เหตุผลเชิงนามธรรม
- มีพฤติกรรมที่บีบมือหรือดึงผมตัวเอง
- มีจังหวะการพูดช้า เว้นช่วงนาน
- มักดูถูกตัวเอง หรือมีการทะเลาะวิวาทและท้าทาย โดยเฉพาะในวัยรุ่น
- เคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้าๆ เพิกเฉยหรือเฉยเมย
- น้ำตาคลอ หรือหน้าตาเศร้าหมอง
มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการตัวใดบ้างที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า?
จากการทบทวนข้อมูลจากการนัดพบคนไข้ เช่น อาการและอาการแสดง, ประวัติผู้ป่วย, ประวัติครอบครัว และการตรวจร่างกาย แพทย์อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุของอาการ เช่น การติดเชื้อไวรัส, การใช้ยา, ฮอร์โมน หรือการขาดวิตามิน รวมไปถึงการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า แพทย์จะขอดูรายการยาที่คุณทานอยู่ทั้งหมด รวมไปถึงประวัติการดื่มแอลกอฮอร์ หรือยาคลายเครียดที่เคยใช้
เราจะสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างไร?
ก่อนที่คุณจะเข้ารับการตรวจตามนัด ควรเตรียมคำถามที่จะถามแพทย์เกี่ยวกับสิ่งที่กังวลหรืออาการเฉพาะที่เกิดขึ้นกับภาวะซึมเศร้าของคุณ เพราะมันจะช่วยให้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อวินิจฉัยได้มากขึ้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำและทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ:
- สุขภาพทางกายและจิตใจที่กังวล
- อาการที่สังเกตได้
- พฤติกรรมที่ผิดปกติ
- การเจ็บป่วยในอดีต
- ประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว
- ยาที่รับประทานอยู่ปัจจุบันและอดีต ทั้งแบบมีใบสั่งแพทย์และหาซื้อทานเอง
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่ผิดปกติ
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามธรรมชาติที่รับประทาน
- วิถีชีวิต (การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยา)
- พฤติกรรมการนอน
- สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียดในชีวิต (การแต่งงาน การทำงาน สังคม)
- คำถามของคุณที่มีต่อโรคซึมเศร้าและยาที่ใช้ในการรักษา
จะทราบได้อย่างไรว่าเราควรขอความช่วยเหลือเมื่อไหร่
อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการวินิจฉัยและการรักษาโรคซึมเศร้าคือการตระหนักว่ามีคนเป็นโรคนี้ น่าเศร้าที่มีผู้คนกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่เคยได้รับการวินิจฉัยหรือการรักษา ซึ่งการไม่ได้รับการรักษาอาจอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะมากกว่าร้อยละ 10 ของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย
- เมื่อภาวะซึมเศร้ากำลังทำร้ายชีวิตคุณ เช่น มีปัญหากับความสัมพันธ์, มีปัญหาในการทำงาน หรือมีปัญหาขัดแย่งในครอบครัว ซึ่งยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนสำหรับปัญหาดังกล่าว คุณควรขอความช่วยเหลือเพื่อไม่ให้อะไรต่อมิอะไรแย่ไปกว่านี้ หากทิ้งไว้นานๆ
- หากคุณหรือบางคนที่คุณรู้จักคิดฆ่าตัวตาย หรือรู้สึกอยากทำเช่นนั้น ให้รีบขอความช่วยเหลือทันที
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก