โรคลมชัก (Epilepsy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคลมชัก (Epilepsy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

27.11
2188
0

โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นกับสมองที่มีสาเหตุเกิดจากภาวะลมชักซ้ำๆ”

โดยปกติผู้ป่วยโรคลมชักเป็นอาการที่เกิดขึ้นซ้ำจากภาวะลมชัก ซึ่งภาวะลมชักเกิดจากการขัดขว้างการทำงานของคลื่นไฟฟ้าในสมอง ส่งผลทำให้ระบบการส่งสารระหว่างเซลล์สมองหยุดชะงักชั่วคราว 

Epliepsy

อาการของโรคลมชัก

ผู้ที่เป็นโรคลมชักอาจมีอาการเป็นลมหรือมีทรงจำที่ผิดปกติ

อาการหลักของโรคลมชักคือภาวะลมชักซ้ำ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมีหลายอาการร่วมกัน ดังนั้นผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องไปพบเเพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งอาการของโรคลมชักมีดังต่อไปนี้

  • เกิดอาการชักกระตุกและไม่มีไข้
  • หน้ามืดเเละมีความสับสน
  • เป็นลมเฉียบพลันและในระหว่างที่เป็นลมผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้ บ่อยครั้งที่ร่างกายมักอ่อนเเรงมาก
  • ไม่สามารถตอบสนองต่อคำถามชั่วคราว 
  • เป็นไข้สูงและมีอาการเหมือนเป็นโรคลมชัก
  • เป็นลม 
  • โรคง่วงนอนหรือมีภาวะง่วงนอนตลอดทั้งวัน
  • เกิดภาวะช็อกกระทันหันหรือมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนเเรงหรือหดเกร็งอย่างรุนเเรง 
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน
  • ฝันร้าย
  • อาการหวาดกลัวอย่างรุนเเรง
  • อาการลืมตัว เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้น้อยมากที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการลืมเกี่ยวกับตัวตนของตัวเอง 
  • าการชักเหตุจิตใจที่ไม่ใช่โรคลมชักหรือภาวะลมชักที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางด้านจิตใจหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะผิดปกติทางจิต

การรักษาโรคลมชัก

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาสำหรับโรคลมชักโดยเฉพาะ 

แพทย์มักให้ยากันชักกลุ่มมาตรฐาน (AEDs) เพื่อป้องกันภาวะลมชัก แต่ถ้าหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดการใช้เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทเวกัสหรือทานอาหารพิเศษ 

โดยส่วนใหญ่แพทย์จะพยายามรักษาเพื่อป้องกันความรุนเเรงของภาวะลมชักในอนาคตและพยายามลดภาวะข้างเคียงที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพการใช้ชีวิตในอนาคต  

ยากันชักกลุ่มมาตรฐาน (AEDs)

โดยปกติยากันชักสามารถควบคุมภาวะลมชักได้ประมาณ 60-70 เปอร์เซนต์ข้อมูลจากสถาบันโรคลมชักสหรัฐอเมริกา สำหรับผู้ที่มีอาการลมชักแพทย์จะใช้จ่ายยารักษาชนิด

โดยส่วนใหญ่ยากันชัก (AEDs) เป็นยาชนิดทาน ซึ่งยาที่มช้รักษาโรคลมชักมีดังต่อไปนี้ 

  • ยาวาลโพรเอท
  • ยาคาร์บามาเซพีน
  • ยาลาโมทรีจีน
  • ยาลีวีไทราซีแทม

สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือยาบางชนิดสามารถใช้ป้องกันอาการลมชักเท่านั้นแต่ไม่สามารถรักษาโรคอื่นๆ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับยาที่เหมาะสมแล้วอาจจำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อหาปริมาณยาที่พอดีกับตนเอง 

การผ่าตัด

ถ้าหากใช้ยารักษาอาการลมชักอย่างน้อย 2 ชนิดเเล้วยังไม่สามารถควบคุมภาวะลมชักได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์จะเเนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในปี ค.ศ.2013 มีงานวิจัยจากประเทศสวีเดนพบว่าในผู้ใหญ่จำนวน 62% และเด็กจำนวน 50% ที่เป็นโรคลมชักไม่มีอาการลมชักเป็นเวลา 7  ปีหลังจากได้รับการผ่าตัดรักษาโรคลมชัก

อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันโรคความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทและเส้นเลือดอุดตันได้ระบุวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดส่วนที่เกิดปัญหาออก : ในระหว่างการรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำส่วนที่ทำให้เกิดภาวะลมชักออก ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีผ่าตัดรักษาโรคลมชักสมัยเก่า 
  • การผ่าตัดแบบ Multiple subpial transection: ในระหว่างการผ่าตัดเเพทย์จะทำการผ่าตัดส่วนที่ทำให้เกิดภาวะลมชักออกหลายที่ภายในสมองส่วนหนึ่ง
  • การผ่าตัดสมองส่วนคอร์ปัส : ศัลยแพทย์จะทำการตัดเส้นประสาทที่เชื่อมต่ออยู่ระหว่างสมองสองซีก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะลมชักแพร่กระจายไปยังสมองอีกซีกหนึ่งหรือส่วนอื่นๆของสมอง
  • การผ่าตัดสมองครึ่งซีกเป็นการผ่าตัดในกรณีที่ป่วยรุนเเรงจึงทำให้ศัลยแพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดสมองออกหนึ่งซีกนั่นคือการผ่าตัดนำเปลือกสมองใหญ่ (cerebral cortex ) ออกครึ่งหนึ่ง

ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดพบว่าความรุนเเรงและความถี่ของการเกิดภาวะลมชักเกร็งได้ลดลง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยยังคงจำเป็นต้องทานยากันชักเป็นต่อไปอีกหลายปีหลังจากผ่าตัด

การผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งคือการผ่าตัดเพื่อใส่อุปกรณ์ที่หน้าอกเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทเวกัสที่บริเวณท้ายทอย โดยอุปกรณ์นี้จะส่งคลื่นสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมองเพื่อลดอาการลมชัก 

สาเหตุของโรคลมชัก

ระบบสัญญาณสมองทำหน้าที่ควบคุมร่างกายมนุษย์หลายอย่าง ดังนั้นโรคลมชักจึงเกิดจากการที่ระบบสัญญาณสมองถูกรบกวนส่งผลทำให้สมองทำงานผิดปกติ

ในผู้ป่วยหลายรายเเพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมชัก เนื่องจากบางรายอาจได้รับโรคนี้จากพันธุกรรมซึ่งทำให้เกิดอาการของโรคลมชักได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้แก่

  • มีอาการปวดหัวอย่างรุนเเรงซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุจากการใช้ยานพาหนะ
  • อาการทางสมองเช่นเส้นเลือดอุดตันและเนื้องอก
  • โรคที่เกิดจากการติดเชื้อเช่นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้สมองอักเสบ
  • โรคพยาธิตืดหมู
  • โรคเอดส์
  • ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมองตั้งแต่ก่อนคลอด
  • อาการของโรคได้แก่โรคออทิสติกและโรคเนื้องอกเส้นประสาททั่วกาย

ข้อมูลจากสถาบันป้องกันเเละควบคุมโรคพบว่าโรคลมชักมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีและผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *