โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) : อาการ สาเหตุ การรักษา

05.02
18338
0

โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) เป็นโรคติดเชื้อผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ อย่างไรก็ตามโรคไฟลามทุ่งนั้นต่างกับภาวะเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ โดยภาวะเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเกิดขึ้นภายในเนื้อเยื่อส่วนลึก แต่ไฟลามทุ่งจะเกิดขึ้นแค่เฉพาะผิวหนังชั้นบนเท่านั้น

อย่างไรก็ตามโรคไฟลุ่มทุ่ง เเละภาวะเนื้อเยื่ออักเสบมีลักษณะอาการที่คล้ายกัน ดังนั้นจึงทำให้แพทย์วินิจฉัยได้ยาก

ในอดีต แพทย์พบว่าโรคไฟลามทุ่งเกิดขึ้นบนใบหน้าเท่านั้น แต่ปัจจุบันองค์กรโรคหายากนานาชาติคาดว่ามีผู้ป่วยราว 80% เป็นโรคไฟลามทุ่งที่ขา นอกจากนี้โรคไฟลามทุ่งยังสามารถเกิดบนแขน และลำตัวได้เช่นกัน

อาการของโรคไฟลามทุ่ง

บ่อยครั้งที่ ผู้ป่วยโรคไฟลามทุ่งอาการที่มีจะรู้สึกไม่สบายก่อนที่จะมีสัญญาณของโรคไฟลามทุ่งปรากฏบนผิวหนัง อาการโรคไฟลามทุ่ง ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ตัวสั่น และบางราย มีอุณหภูมิร่างกายสูง โรคไฟลามทุ่งทำให้ผิวหนังแดง บวมเป่ง

โรคไฟลามทุ่งมักเกิดขึ้นกับผิวหนังในบริเวณใดจุดหนึ่ง และมีลักษณะดังต่อไปนี้:

  • อักเสบบวม และผิวลื่น ๆ

  • บวมแดง

  • แสบร้อนและกดเจ็บ

  • เกิดแผลพุพอง (Impetigo) ในกรณีที่รุนแรง

  • บริเวณรอยต่อระหว่างผิวที่เป็นโรคไฟลามทุ่ง และผิวปกติจะแข็ง

  • เป็นริ้วสีแดงบนบริเวณพื้นผิวที่เป็นโรคไฟลามทุ่ง

  • เปลี่ยนเป็นสีม่วงเขียวหรือดำได้ในกรณีที่รุนแรง

หากมีอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยเกิดขึ้นภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน ควรไปพบแพทย์โดยเร่งด่วน

สาเหตุของโรคไฟลามทุ่ง

โรคไฟลามทุ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ผิวหนังทางบาดแผลหรือแผลตามร่างกาย

การบาดเจ็บที่ผิวหนังเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคไฟลามทุ่ง ได้แก่ :

  • มีบาดแผลที่ผิวหนัง มีแผลอักเสบ หรือแผลกดทับ

  • มีแมลงสัตว์กัดต่อย

  • มีแผลอันเกิดจากการผ่าตัด

มีสภาพผิวแตกที่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคไฟลามทุ่ง

อาการ 3 อย่างที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ :

นอกจากนี้ยังปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไฟลามทุ่ง แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผิวหนังโดยตรงเสมอไป เช่น:

  • หลอดเลือดดำ และท่อน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ

  • โรคอ้วน

  • โรคพิษสุราเรื้อรัง Alcocholism

  • เบาหวานที่ดูแลได้ไม่ดี

  • ปัญหาการไหลเวียนเลือด

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ยาบางชนิดอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่งได้ ซึ่ง ได้แก่ ยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด และยาที่ใช้หลังการปลูกถ่ายอวัยวะ

โรคไฟลามทุ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ส่วนมากมักเกิดกับเด็กทารก และผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป

อย่างไรก็ตามโรคไฟลามทุ่งไม่ใช่โรคทางกรรมพันธุ์หรือโรคติดต่อ

Erysipelas

การวินิจฉัยโรคไฟลามทุ่ง

การตรวจเลือดสามารถเผยให้เห็นระดับเม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความเสียหายที่เกิดจากการติดเชื้อได้

โดยทั่วไป แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคไฟลามทุ่งได้จากลักษณะและอาการของพื้นผิวบริเวณที่เกิดโรค ซึ่งอาการของโรคไฟลามทุ่งมักจะเกิดขึ้นกับสภาพจำเพาะเท่านั้น

สำหรับการสอบถามประวัติการเกิดโรคของผู้ป่วย แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับประวัติการได้รับบาดเจ็บ หรือเคยเข้ารับการผ่าตัดก่อนหน้าหรือไม่ รวบถึงสอบถามเกี่ยวกับสาเหตุที่เป็นไปได้ของเกิดโรคไฟลามทุ่ง โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจร่างกายด้วยวิธีอื่นๆเพิ่มเติม

แพทย์อาจทำการตรวจเลือด หากมีอาการแสดงของการติดเชื้อในระบบร่างกาย เช่น มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด อย่างไรก็ตาม การระบุชนิดของแบคทีเรียไม่สามารถทำได้เสมอไป แม้ในห้องปฏิบัติการก็ตาม

นอกจากนี้ การตรวจต่าง ๆ ยังสามารถบอกถึง:

  • มีจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อและการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • ตรวจพบซี – แอคทีฟโปรตีน หมายถึง การมีแอคทีฟโปรตีนเพิ่มขึ้น โดยโปรตีนชนิดนี้ผลิตโดยตับและมีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดการอักเสบ

  • การเพาะเชื้อจากเลือดหากเป็นผลบวกแสดงว่า มีการติดเชื้อแบคทีเรีย

  • มีการติดเชื้อจำเพาะ โดยเกิดจากสัตว์กัด เป็นต้น

ในบางกรณีที่มีการติดเชื้อในชั้นผิวหนังลึกลงไปจำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)

การรักษาและการฟื้นตัว

โรคไฟลามทุ่งสามารถรักษาให้หายได้ สิ่งสำคัญคือ ต้องเริ่มการรักษาโดยเร็วที่สุด  เพื่อจำกัดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไป

การใช้ยาแก้อักเสบ เพื่อรักษาโรคไฟลามทุ่ง การใช้ยาประเภทไหนนั้นแพทย์จำเป็นต้องตรวจสอบว่าผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะรักษาผู้ป่วยด้วยยาเพนิซิลลิน

ผู้ที่แพ้เพนิซิลลินจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเริ่มการรักษา เพื่อเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นการรักษาแทน เช่น ยาอิริโทรมัยซินหรือยาเซฟาเลกซิน

ผู้ที่เป็นโรคไฟลามทุ่งต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลาระหว่าง 7 – 14 วัน สำหรับกรณีที่ติดเชื้ออย่างรุนแรง แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะทางผิวหนังโดยตรงผ่านทางสายน้ำเกลือ

สำหรับยาต้านการอักเสบชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยได้

นอกจากนี้ ยังมีวิธีอื่น ๆ ในการช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบาย และรักษาอาการผิวหนังอักเสบให้หายเร็วขึ้น เช่น:

  • ยกอวัยวะที่เกิดการติดเชื้ออยู่ในระดับที่สูงขึ้น และพยายามขยับร่างกายตามปกติ เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด

  • ใช้น้ำแข็งวางบนผิวหนังบริเวณที่เกิดการอักเสบ

  • ใช้โลชั่นหยุดผิวแห้งและแตก

  • ใช้ยาแก้ปวด ต้านการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน

  • เมื่อการติดเชื้อลดลง ให้ใช้ถุงน่องที่แพทย์แนะนำไดื

  • การรักษารอยแตกและแยกบนผิวหนัง ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ใช้ครีมยา

การป้องกันและภาพรวม

โรคไฟลามทุ่งสามารถรักษาให้หายได้ อาการแสดงของอาการไข้ และความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับไฟลามทุ่งมักจะหายไปภายในไม่กี่วันหลังจากเริ่มรักษา แม้ว่าการติดเชื้อที่ผิวหนังอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะหายไป หลังจากหายจากโรคไฟลามทุ่งเเล้ว จะไม่มีรอยแผลเป็นเกิดขึ้น

ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่ได้รับการรักษาไฟลามทุ่งจะสามารถกลับมาเป็นได้อีก และเมื่อกลับมาเป็นอีก แพทย์อาจยาที่ใช้รักษาในระยะยาว

สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคไฟลามทุ่งแล้ว หากมีข้อกังวลว่าจะกลับมาเป็นซ้ำ ควรไปแพทย์โดยเร็วที่สุด

หากโรคอื่น ๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่ง เช่น กลาก น้ำกัดเท้า หรือโรคเบาหวาน ควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้โรคไฟลามทุ่งซ้ำอีก นอกจากนี้การรักษาอาการผิวแตกให้หายสามารถช่วยได้เช่นกัน

ในทำนองเดียวกัน หากการมีน้ำหนักเกิน หรือการไหลเวียนเลือดไม่ดีทำให้เกิดการติดเชื้อ การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต และการรับประทานอาหารสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคไฟลามทุ่งซ้ำอีกครั้ง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *