คันตา (Eyes Itch) หรือเรียกว่าอาการคันเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ต้องไปพบจักษุแพทย์เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากภูมแพ้และการติดเชื้อ
ในบทความนี้เราได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันตา นอกจากนี้เรายังได้ให้ข้อมูลว่าควรไปพบเเพทย์เมื่อไหร่และมีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง
สาเหตุอาการคันตา
การใช้ยาบางประเภทสามารถทำให้เกิดอาการคันตาและมีอาการอื่นๆเกิดร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุของอาการคันตาได้แก่
เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้เรื้อรัง
เป็นการติดเชื้อของกระจกตาและเยื่อตาขาว (เนื้อเยื่อที่คลุมอยู่ด้านหน้าดวงตา) โรคนี้เกิดกับผู้ที่มีแนวโน้มทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันร่างกายที่ตอบสนองผิดปกติเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เฉพาะ สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้จะมีระดับแอนตี้บอดี้สูงกว่าปกติและพวกเขาสามารถเป็นภูมิแพ้ได้ตลอดทั้งปี
ถ้าหากไม่สามารถรักษาอาการเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากภูมิแพ้ได้ อาการดังต่อไปนี้สามารถเกิดขึ้นได้
- แผลเปื่อย
- แผลเป็น
- ต้อกระจก
- กระจกตาโป่ง, เป็นบริเวณที่กระจกตาบางและทำให้กระจกตามีรูปร่างโค้งคลายโดม
- เส้นเลือดเกิดขึ้นที่กระจกตา มีหลอดเลือดเกิดขึ้นภายในกระจกตา
โรคเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีผื่นภูมิแพ้และหอบหืด (VKC)
เป็นอาการอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเมื่อเยื่อบุตาเกิดการอักเสบ โดยส่วนใหญ่อาการนี้เกิดขึ้นกับเด็กผู้ชายและโรคเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรังนี้ทำให้มีตุ่มหรือก้อนที่มีลักษณะแข็งเหมือนหินเกิดขึ้นบนเปลือกตา
แม้ว่าโรคเยื่อบุตาอักเสบเกิดขึ้นบางครั้งแต่ผู้คนสามารถเป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรังได้ตลอดทั้งปี ซึ่งบางคนอาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนเเรงที่กลายเป็นแผลเปื่อยหรือแผลเป็นเกิดขึ้นที่กระจกตาได้
โรคภูมิแพ้ขึ้นตา
โรคภูมิแพ้ขึ้นตาเกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุตาเกิดอาการเคืองตาเนื่องจากสารก่อภูมิแพ้ สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้แก่
- เกสรดอกไม้
- เชื้อรา
- หญ้า
- วัชพืช
- ขนสัตว์
- ฝุ่น
- ไรฝุ่น
- สารที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเช่นเครื่องสำอาง โลชั่นหรือคอนเทคเลนส์
โรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ
โรคผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่ทำให้มีสะเก็ดผิวหนังแห้งและผิวหนังลอกเกิดขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองและมีอาการคันรอบดวงตารวมถึงผิวหนังส่วนอื่นๆของร่างกายด้วย
โรคตาแห้ง
เมื่อดวงตาขาดแคลนน้ำหล่อเลี้ยงหรือสารหล่อลื่นดวงตา อาการตาแห้งสามารถเกิดขึ้นได้แน่นอนเนื่องจากดวงตาไม่มีสิ่งป้องกันจึงทำให้ดวงตามีอาการระคายเคืองต่อฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมภายในอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดการติดเชื้อและมีแผลเกิดขึ้น
ต่อมไขมันที่เปลือกตาอุดตัน
ต่อมไขมันที่เปลือกตาอักเสบเกิดขึ้นที่เปลือกตาด้านบนหรือด้านล่างที่ทำหน้าที่ระบายสารคัดหลั่งออกจากดวงตา เมื่อต่อมไขมันเกิดการอุดตันผิดปกติ ดวงตาจะไม่สามารถผลิตน้ำตาได้เนื่องจากขาดแคลนน้ำมันที่จำเป็นที่หล่อเลี้ยงดวงตาให้เกิดความชุ่มชื้น
เปลือกตาอักเสบ
อาการนี้มีสาเหตุเกิดขึ้นจากการติดเชื้อที่เปลือกตาที่ทำให้เปลือกตาแห้งคัน เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้ที่ผลิตแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคและไรขนตา
เยื่อบุตาอักเสบจากการใส่คอนเทคเลนส์
บางครั้งการใส่คอนแทคเลนส์ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ เมื่อกระจกตาถูกทำลายและเกิดแผลขึ้น
อาการเยื่อบุตาอักเสบจากการใส่คอนแทคเลนส์
อาการภูมิแพ้ทางตาชนิดนี้มักเกี่ยวข้องกับสารก่อภูมิแพ้บางชนิดและมีตุ่มขนาดใหญ่เกิดขึ้นใต้เปลือกตา
สาเหตุได้แก่
- โรคเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง
- โรคภูมิแพ้เยื่อบุตาอักเสบ
- การใช้คอนแทคเลนส์
- การใส่ตาปลอม
- แผลเย็บตา
เยื่อบุตาอักเสบและติดเชื้อ
เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการที่ดวงตาที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียทั่วไปที่พบในเยื่อบุตาอักเสบได้แก่
- N. gonorrhoeae
- Neisseria meningitides
- Streptococcus pneumoniae
- Haemophilus influenza
- Staphylococcus aureus
- Chlamydia trachomatis
การติดเชื้อจากไวรัสพบได้ค่อนข้างน้อยซึ่งมีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสอดีโนไวรัส เชื้อเริมงูสวัดหรืออีสุกอีใส
สาเหตุอื่นๆ
ยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดปัญหากับดวงตาได้และมีผลข้างเคียงเช่นตาแห้ง ซึ่งได้แก่ยาดังต่อไปนี้
- ยาคุมกำเนิด
- ยาปฏิชีวนะบางชนิดเช่นยาเพนนิซิลิน
- ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้เองเช่นยาไอบลูโพรเฟนและยาพาราเซลตามอง
- ยาหดหลอดเลือดเช่นยาต้านฮีสทามีน
- ยาเบต้าบล็อกเกอร์
- ยาต้านซึมเศร้า
- น้ำตาเทียม
- ยารักษาสิวบางชนิด
โรคตาแห้งสามารถทำให้เกิดอาการคันตาได้ ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดอาการตาแห้งได้แก่
- การใช้คอมพิวเตอร์
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- ภาวะหมดประจำเดือน
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเช่น ลม อากาศแห้ง เครื่องปรับอากาศเย็น การสูบบุหรี่และแมลง
- โรคต่างๆเช่น โรคเบาหวาน โรคผื่นภูมิแพ้ลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และอาการเปลือกตาปิดอย่างสมบูรณ์
การรักษาอาการคันตา
วิธีรักษาอาการคันตาขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งทางเลือกสำหรับการรักษาอาการคันตาที่แนะนำได้แก่
การใช้เครื่องทำความชื้นในอากาศสามารถช่วยสร้างความชุ่มชื้นในอากาศและป้องกันอาการคันตา
- การระบุสาเหตุและหลีกเลี่ยง
- การประคบเย็นหรือประคบร้อน
- ดูแลรักษาความสะอาดตาเป็นประจำ
- หยุดใช้คอนแทคเลนส์หรือเปลี่ยนไปใช้คอนแทคเลนส์ชนิดอื่น
- ปรับอุณหภูมิเครื่องทำความเย็นภายในห้องให้เป็นปกติ
- ใช้น้ำตาเทียม
- ล้างตาด้วยน้ำเกลือ
- ทานยาปฏิชีวนะหรือยาชนิดอื่น
- ใช้ยาลดอาการบวมที่สามารถซื้อเองได้
- ใช้ยาลดอาการบวมและยาต้านฮีสทานมีนร่วมกัน
- ใช้ยาป้ายตาเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำตา
- ใช้ยาต้านฮีสทามีนชนิดทานหรือแบบพ่นจมูกและยาในกลุ่ม mast-cell stabilizers
- ฉีดยาสเตียรอยด์ที่ด้านบนเปลือกตา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คำแนะนำเเละเลือกวิธีรักษาอาการคันตาที่เหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับโรคที่เกิดขึ้นและประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/eye-health/8-causes-of-itchy-eyes
- https://www.webmd.com/eye-health/itchy-eyes-symptoms-causes-treatment
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/itching-in-corner-of-eye
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/321776
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก