ความอ่อนเพลีย หรือความเหนื่อยล้า (Fatigue) คือ การขาดพลังงาน และแรงจูงใจ (ทั้งทางร่างกายและจิตใจ) ซึ่งแตกต่างจากอาการง่วงนอน ซึ่งเป็นคำที่อธิบายถึงความจำเป็นในการนอนหลับ บ่อยครั้งที่คน ๆ หนึ่งบ่นว่ารู้สึกเหนื่อยและง่วงนอน แม้ว่าทั้งสองอย่างอาจเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน และอาการเหนื่อยล้าสามารถเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น การหายใจถี่ หอบ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือสามารถเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ความเหนื่อยล้าอาจเป็นการตอบสนองตามปกติต่อกิจกรรมทางร่างกายและจิตใจ โดยขึ้นกับความเข้มข้นของกิจกรรมที่ทำ
บ่อยครั้งที่อาการอ่อนเพลียจะค่อยๆ เริ่มมีอาการ และบุคคลนั้นไม่ทราบด้วยซ้ำว่าตัวเองได้สูญเสียพลังงานไปเท่าไรจนกว่าจะมีการเปรียบเทียบการทำงานที่เคยทำ กับในปัจจุบันว่าต่างกันเท่าไร และคนส่วนมากมักจะคิดว่าเป็นเพราะอายุที่เพิ่มมากขึ้น
แม้ว่าโรคซึมเศร้า และปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า แต่ความเจ็บปวดของร่างกายก็เป็นสาเหตุเช่นกัน
บุคคลที่มีอาการอ่อนเพลียจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
- ไม่มีแรงจูงใจ ที่จะริเริ่มทำกิจกรรมได้
- เหนื่อยง่ายเมื่อกิจกรรมเริ่มขึ้น
- เหนื่อยล้าทางจิตใจ หรือมีปัญหาในการใช้สมาธิ และกระบวนการคิดที่จะสามารถทำกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วง
อาการของความอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าเรื้อรังมีดังนี้
- ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังอย่างรุนแรงเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน โดยมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย
- ผู้ป่วยแสดงอาการเหล่านี้พร้อมๆ กัน
- อาการไม่สบายหลังจากมีการออกแรง
- ความจำหรือสมาธิไม่ดี
- การนอนหลับไม่เพียงพอ
- เจ็บกล้ามเนื้อ
- ปวดข้อโดยไม่มีการบวมหรือแดง
- ต่อมน้ำเหลืออักเสบ
- เจ็บคอ
- ปวดศีรษะ
และอาจมีอาการต่อไปนี้
- เซื่องซึม
- กระสับกระส่าย
- ขาดพลังงาน
- เหนื่อย
- ทรุดโทรม
- เบื่อหน่าย
- ไม่สบายตัว
- รู้สึกเพลีย
สาเหตุของอาการอ่อนเพลีย
สาเหตุของอาการอ่อนเพลียมีมากมาย ตั้งแต่กลุ่มอาการอ่อนเพลียจากการที่เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของร่างกายไม่ดี ไปจนถึงความเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อการเผาผลาญอาหาร การติดเชื้อ และผู้ที่นอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลียเป็นผลข้างเคียงของยาหลายชนิด ในขณะที่ผู้ป่วยจำนวนมากมักจะรู้สึกว่าอ่อนเพลีย แต่ก็มีผู้ป่วยบางกลุ่มที่ไม่สามารถวินิจฉัยอาการได้
อาการนั้นขึ้นกับสาเหตุที่แท้จริง เช่น
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอดหรือโรคโลหิตจางนั้นจะหอบ หรือเหนื่อยง่ายโดยทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อย
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการปัสสาวะมากเกินไป หรือมีปัญหาการมองเห็น
- ผู้ป่วยไทรอยด์จะมีอาการผิวแห้ง ผมแตกหัก
สิ่งสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาปัจจัยต่างๆที่ทำให้เหนื่อยล้าอย่างถี่ถ้วน เพื่อวินิจัยหาสาเหตุที่แท้จริง
การรักษาความอ่อนเพลีย
ความเหนื่อยล้าเป็นอาการของภาวะพื้นฐานของร่างกาย ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายจิตใจหรือทั้งสองอย่างร่วมกัน
อาจมีช่วงเวลาที่ล่าช้าระหว่างช่วงที่ความเจ็บป่วยได้รับการรักษาและความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย อาการอ่อนเพลียสามารถหายได้เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยโรคโลหิตจางจะรู้สึกดีขึ้นมากทันทีที่จำนวนเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ที่ฟื้นตัวจาก mononucleosis ที่ติดเชื้อจำเป็นต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ เพื่อให้ระดับพลังงานกลับมาเป็นปกติ
การป้องกันความอ่อนเพลีย
ความเหนื่อยล้าเป็นอาการสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นการป้องกันไม่ใช่ปัญหา ที่สำคัญกว่านั้นการรับรู้ถึงความเหนื่อยล้าในระยะเริ่มต้นจะช่วยให้สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
บางครั้งอาการเหนื่อยล้าจะค่อยๆเกิดขึ้นและเป็นการยากที่บุคคลนั้นจะรู้ตัวว่ากำลังมีปัญหา โดยการป้องกันความอ่อนเพลียทำได้ดังนี้
1. ลดการกินหวาน
น้ำตาลสามารถเร่งให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเครียดได้ แนะนำให้เลี่ยงไปกินน้ำตาลจากธรรมชาติแทน เช่น น้ำผลไม้ 100% หรือกินน้ำผึ้งแท เพื่อร่างกายจะได้ลดความเครียดลงซึ่งเป็นสาเหตุของการอ่อนเพลียเรื้อรัง
2. ลดการกินคาเฟอีน
น้ำชาและกาแฟ คือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่ค่อนข้างมาก หากรู้สึกว่าร่างกายกำลังอ่อนเพลีย ควรหยุดเครื่องดื่มเหล่านี้ก่อน เพราะคาเฟอีนมักทำให้เรานอนไม่หลับ ซึ่งการนอนไม่หลับหรือนอนไม่พอนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้
3. ปิดสิ่งรบกวนก่อนนอน
หยุดเล่นโทรศัพท์มือถือ แทปเล็ต และควรปิดไฟนอน เพราะสิ่งเหล่านี้คือสิ่งรบกวนที่ทำให้เรานอนไม่พอ นอนหลับไม่สนิท
4. ทำสมาธิ
การทำสมาธิคือการทำจิตใจให้สงบ ไม่ฟุ้งซ่านซึ่งการทำสมาธิจะทำให้เราหลับได้ลึกขึ้น เป็นการนอนหลับได้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ร่างกายสามารถพักผ่อนได้ ช่วยลดการอ่อนเพลียเรื้อรังได้
5. กินวิตามินเสริมบ้าง
เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกไม่สบายตัว เราอาจเสริมความแข็งแรงให้ร่างกายด้วยการกินวิตามินซีก็ได้ เพราะวิตามินซีช่วยป้องกันหวัด หรืออาจกินวิตามินบีรวมเพื่อช่วยบำรุงระบบต่างๆ ในร่างกายให้กลับมาดีขึ้นก็ได้ อย่างไรก็ตามการเลือกกินวิตามินเสริมในแต่ละครั้งควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ เพราะการวิตามินมากเกินไปหรือกินไม่ถูก แทนที่จะส่งผลดีกลับส่งผลเสียแทนได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/fatigue
- https://www.webmd.com/balance/how-tired-is-too-tired
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/248002
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก