ปวดเอว (Frank Pain) เป็นอาการเจ็บปวดที่ลำตัวบริเวณกระดูกซี่โครง บางครั้งอาจมีอาการเจ็บปวดร้าวไปถึงแผ่นหลังด้านล่างได้ เนื่องจากบริเวณเอวเป็นตำแหน่งที่มีอวัยวะและกล้ามเนื้ออยู่โดยอยู่ใกล้กับเอวด้านซ้ายเเละขวา ดังนั้นปวดเอวจึงเป็นอาการปกติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเอวเช่นโรคไตอักเสบหรือตับอ่อนอักเสบเป็นอาการปวดเอวที่เป็นอันตราย สำหรับอาการอื่นๆเช่นกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอกหรือกล้ามเนื้อตึงสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้แต่เป็นอาการที่ไม่อันตราย
ในบทความนี้เราได้นำเสนิข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดเอวและทางเลือกสำหรับการรักษา
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเอว 6 ประการได้แก่
ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ
การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปหรือไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเลยสามารถทำให้เกิดอาการปวดเองได้
กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง แผ่นหลังและแม้แต่หน้าอกอาจเป็นสาเหตุทำให้ปวดเอวได้ ซึ่งสาเหตุทั่วไปที่ทำให้ปวดกล้ามเนื้อได้แก่
- กล้ามเนื้อบาดเจ็บเช่นกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอก
- ใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป
- กล้ามเนื้อตึง
- มีวิถีชีวิตที่ชอบนั่งอยู่กับที่หมายถึงผู้ที่ไม่ค่อยขยับร่างกาย
- แรงตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
- การอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติเป็นเวลานาน
โดยปกติอาการปวดเอวเกิดจากอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตแบบที่ต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานอาจรู้สึกปวดเอวทั้งสองข้างเมื่อบิดตัวไปทางซ้ายหรือขวา
การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ปวดเอว สำหรับอาการเจ็บกล้ามเนื้ออาจเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนเเรงได้ แต่ระดับความเจ็บปวดไม่จำเป็นต้องวัดจากความรุนเเรงของอาการบาดเจ็บเสมอไป
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะหรือไต โดยการติดเชื้อมักเกิดขึ้นที่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ซึ่งการติดเชื้อนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ถ้าหากปล่อยให้เกิดการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะอักเสบต่อไปเเละไม่ทำการรักษา เชื้อแบคทีเรียสามารถแพร่เชื้อไปยังไตและก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ไตอย่างรุนเเรงได้
นอกจากปวดเอวแล้ว อาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้แก่
- เจ็บปวดตอนปัสสาวะ
- ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะตลอดเวลา
- มีเลือดปนในปัสสาวะ
อาการเจ็บปวดของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสามารถเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวหรือเกิดร่วมกับอาการปวดเอวได้
ปัญหาเกี่ยวกับตับ
ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกาย ตำแหน่งของไตอยู่ที่บริเวณตรงกลางด้านหลังใต้กระดูกซี่โครง ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตอาจมีอาการปวดเอวที่ด้านหลัง
โรคไตบางประเภทสามารถเกิดขึ้นจากการแพร่กระจายของเชื้อจากกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้โรคไตยังสามารถเกิดจากพันธุกรรมหรือเกิดจากปัญหาที่อวัยวะอื่นๆได้เช่นกัน
ปัญหาเกี่ยวกับไตที่ทำให้เกิดอาการปวดเอวได้แก่
- นิ่วในไต
- โรคไตเช่นโรคถุงน้ำที่ไต
- การติดเชื้อ
- มีลิ่มเลือดหรือเลือดออกในไต
ดังนั้นสำหรับผู้ใดก็ตามที่มีอาการปวดเอวหรือมีอาการของปัญหาที่ไตเช่นเจ็บปวดขณะปัสสาวะ ควรไปพบเเพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที
โดยปกติอาการปวดไตมักเกิดขึ้นกับไตข้างที่มีปัญหา ดังนั้นเมื่อเกิดการติดเชื้อหรือไตทั้งสองข้างเป็นโรค ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บไตทั้งสองข้าง
โรคงูสวัด
โดยปกติโรคงูสวัดมักเกิดขึ้นที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
โรคงูสวัดเป็นอาการติดเชื้อที่ทำให้เกิดผื่นแผลพุพองที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด สำหรับผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสสามารถเป็นโรคงูสวัดได้ เนื่องจากการติดเชื้อนี้เกิดขึ้นในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
โดยปกติอาการแรกเริ่มของงูสวัดมักทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนหรือเจ็บปวดเหมือนโดยเข็มแทงจากระบบประสาท หากมีผื่นงูสวัดเกิดขึ้นหลายวันอาจมีน้ำหนองออกจากแผลพุพอง
ผู้ป่วยบางรายที่เป็นมีอาการงูสวัดอาจมีอาการติดเชื้ออย่างรุนเเรงซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ สำหรับผู้ที่มีเชื้อ HIV ควรใช้ยาที่กดภูมิคุ้มกันและผู้สูงอายุควรไปพบเเพทย์ทันที ถ้าหากพบอาการของโรคงูสวัด
โดยปกติโรคงูสวัดมักเกิดขึ้นบนร่างกายข้างใดข้างหนึ่งเพียงด้านเดียวเท่านั้น โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะสังเกตุพบผื่นงูสวัดเฉพาะด้านซ้ายหรือขวา ซึ่งจะไม่พบที่ทั้งสองข้าง
ปัญหาที่ตับหรือตับอ่อน
ตับและตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกที่สุดภายในช่องท้อง ซึ่งอยู่ถัดกับซี่โครง บางครั้งปัญหาที่ตับสามารถทำให้เกิดอาการปวดเอวได้และอาการเจ็บปวดสามารถย้ายตำแหน่งทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่หลังได้เช่นกัน
ตับและตับอ่อนทำงานร่วมกันในระบบย่อยอาหาร ดังนั้นถ้าหากเกิดปัญหาที่อวัยวะอันใดอันหนึ่งมักส่งผลต่ออวัยวะอีกอันหนึ่งเช่นกัน
ปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่างสามารถทำให้ตับและตับอ่อนเกิดปัญหาได้ เช่นท่อน้ำดีอุดตันเนื่องจากก้อนนิ่ว เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆได้แก่โรคไวรัสตับอักเสบ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง
ปัญหาเกี่ยวกับตับหรือตับอ่อนบางประเภทเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม แต่โดยส่วนใหญ่เเล้วมักมีอาการอื่นๆเกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดเอว
อาการเจ็บปวดตับหรือตับอ่อนที่เกิดขึ้นด้านขวาของลำตัวและอาการอื่นๆได้แก่
- ปัสสาวะเป็นสีมืด
- อุจจาระเป็นสีซีด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีอาการเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน
- ตาและผิวเหลือง
- อ่อนล้า
- เป็นไข้
ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกไขสันหลัง
ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้แก่โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบหรือโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดรอบเอวได้ โดยโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรัง
โรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกทำให้เกิดอาการบวมและเจ็บปวดที่หมอนรองกระดูกสันหลังและอาจมีอาการอื่นเกิดขึ้นได้อย่างเช่นกระดูกสันหลังแตกซึ่งทำให้เกิดอาการปวดเอวได้
โดยปกติอาการเจ็บปวดที่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังมักทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เอวด้านซ้ายหรือด้านขวาและอาจเกิดอาการปวดเอวทั้งสองข้างได้เช่นกัน
นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังยังมีอาการดังต่อไปนี้ได้แก่
- อาการเจ็บปวดแบบแปลบๆที่ปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง
- เกิดอาการชาหรือรู้สึกชาอย่างอธิบายไม่ได้ โดยเฉพาะที่ขาหรือเท้า
- ปวดหลังเรื้อรัง
- เคลื่อนไหวตัวลำบาก
การรักษาอาการปวดเอว
แพทย์สามารถทำการตรวจวินิจฉัยโรคเเละแนะนำทางเลือกในการรักษาได้
อาการปวดเอวขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
- ยาปฏิชีวนะใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อ ซึ่งได้แก่การติดเชื้อที่ไต ระบบทางเดินปัสสาวะหรือตับอ่อนอักเสบ
- การสลายนิ่วในไต
- การตัดถุงน้ำดีหรือการใช้ยาเพื่อสลายนิ่วในถุงน้ำดี
- ยาต้านไวรัสสำหรับรักษางูสวัด
- ยารักษาโรคตับ
- การผ่าตัดปลูกถ่ายตับสำหรับรักษาโรคตับที่รุนเเรง
- การปลูกถ่ายไตสำหรับรักษาโรคไตบางชนิด
- การฟอกไตสำหรับผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
- การยืดกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัด การประคบน้ำแข็งและการพักผ่อนหรือหยุดใช้กล้ามเนื้อสำหรับอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อที่ไม่รุนเเรง
- การรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อตรวจดูอาการและเติมน้ำเกลือ โดยเฉพาะโรคตับอ่อนอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี โรคตับและไต
- ยารักษาโรคข้อต่ออักเสบ
- การผ่าตัดหรือทำกายยภาพบำบัดสำหรับโรคหมอนรองกระดูก
ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เนื่องจากก้อนนิ่วขนาดเล็กสามารถหลุดออกมาได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา รวมถึงอาการปวดเอวที่เกิดจากกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอกเนื่องจากการนั่งเป็นเวลานานสามารถหายเองได้
แพทย์แนะนำให้เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคตับที่เกิดจากการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากมีพฤติกรรมนั่งเป็นเวลานาน
บทสรุป
ปวดเอวเป็นอาการทั่วไป ซึ่งระดับของความรู้สึกเจ็บปวดขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยส่วนใหญ่อาการปวดเอวสามารถรักษาได้ด้วยการรักษาที่ถูกวิธีและการวินิจฉัยอาการโดยแพทย์ที่ถูกต้อง
ผู้ที่มีอาการปวดเอวควรไปพบเเพทย์เมื่อมีอาการปวดเอวที่ด้านซ้ายหรือขวา โดยเฉพาะผู้ที่ปวดเอวเรื้อรังและมีอาการรุนเเรงขึ้นที่ไม่สามารถหายไปเองได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mountsinai.org/health-library/symptoms/flank-pain
- https://www.healthline.com/health/flank-pain
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK292/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก