เชื้อราที่เท้า หรือโรคน้ำกัดเท้า (Foot Fungus) ซึ่งเกิดที่ผิวหนังชั้นบนของเท้า โดยเฉพาะเมื่อมัน ร้อน ชื้น และ ระคายเคือง
โรคเชื้อราที่เท้า (Foot Fungas) ฮ่องกงฟุตและกลากที่เท้าด้วยเช่นกัน เชื้อราที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคน้ำกัดเท้าคือ เดอร์โทมาไฟต์ ซึ่งพบโดยทั่วไปได้ตามพื้นต่างๆ และในเสื้อผ้า
เชื้อราสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ในสภาพแวดล้อมที่พอเหมาะแก่การเกิดเท่านั้น นั่นคือสภาพแวดล้อมที่ร้อนและชื้น ยกตัวอย่างเช่น ภายในของรองเท้าของเรา ด้วยสาเหตุนี้ จึงมีเพียง 0.75 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนที่เดินด้วยเท้าเปล่าเท่านั้นที่ติดเชื้อราที่เท้า
อย่างไรก็ตาม ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของมนุษย์ มีโอกาสที่จะเกิดเชื้อราที่เท้าได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิต
โรคฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า โดยส่วนมากนั้นจะเกิดขึ้นระหว่างนิ้วเท้า ซึ่งสร้างความแสบร้อน แดง และคันนิ้วเท้า อีกทั้งมันยังทำให้เกิดอาการผิวหนังที่ตกสะเก็ด นิ้วเท้าแห้งแตก ได้ในบางรายอีกด้วย
เชื้อรานี้เป็นเชื้อราที่พบได้ตามปกติทั่วไป ถึงแม้จะเป็นโรคที่ติดต่อได้และแพร่กระจายง่ายก็ตาม โรคน้ำกัดเท้านั้นโดยปกติสามารถรักษาได้ด้วยการซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไป อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและผู้ป่วยโรคเบาหวานควรที่จะพบแพทย์ทันที่ที่เริ่มมีอาการน้ำกัดเท้า
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคเชื้อราที่เท้า
-
โรคน้ำกัดเท้าคือการติดเชื้อจากเชื้อราไตรโคไฟตอน
-
ปกติแล้วสามารถรักษษได้ด้วยยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา
-
บางครั้ง โรคน้ำกัดเท้านั้นสามารถแพร่กระจายไปที่มือได้ ซึ่งถูกเรียกว่า โรคกลากที่มือ
สาเหตุของเชื้อราที่เท้า
เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้านั้นคือ ไตรโคไฟตอนซึ่งเป็นเชื้อราในกลุ่มเชื้อรา เดอร์มาโทไฟต์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเหล่าเชื้อราอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ บนผิวหนัง ผม และเล็บของมนุษย์
เชื้อราเหล่านี้มีชีวิตอยู่อย่างไม่เป็นอันตรายบนผิวหนังของเรา ตราบที่ผิวหนังของเรานั้นไม่เปียกชื้นและสะอาด การสืบพันธุ์ของพวกมันนั้นเกิดขึ้นอย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่ร้อนและชื้น พวกมันสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
รองเท้าที่หนา และคับนั้นกระตุ้นให้เกิดโรคน้ำกัดเท้าเพราะร้องเท้าเหล่านั้นบีบเท้าของเราเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดสภาวะที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเหล่าเชื้อรา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า รองเท้าพลาสติกที่ทำให้เท้าร้อนและเปียกชื้นนั้น สามารถก่อให้เกิดเชื้อราที่เท้าได้มากกว่ารองเท้าที่ทำจากวัสดุอื่น เช่น หนังสัตว์ หรือ ผ้าใบ
ถ้าถุงเท้าที่สวมอยู่นั้นทำให้เท้าเปียกชื้นและร้อน นั่นก็เป็นความเสี่ยงมากขึ้นที่จะทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้า
โรคน้ำกัดเท้าสามารถแพร่การจายได้ทั้งโดยการสัมผัสทางตรงและทางอ้อม
-
ทางตรง ผิวสัมผัสกันโดยตรง สามารถเกิดขึ้นได้โดยผู็ที่ไม่ติดเชื้อราไปสัมผัสกับผิวในบริเวณที่ติดเชื้อราของผู้ที่มีเชื้อรา
-
การสัมผัสทางอ้อม เชื้อราสามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้ผ่านผิวที่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา เช่น เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า ผ้าปูที่นอน และ ผ้าเช็ดตัว
โดยปกติแล้วน้ำกัดเท้านั้นแพร่กระจายได้ตามสระน้ำและห้องอาบน้ำรวม เพราะพื้นที่เหล่านี้ชื้นและอุ่น
คนที่มีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อราที่เท้าได้ง่าย
อาการและรูปภาพ
ผิวหนังเท้า โดยเฉพาะส่วนของนิ้วเท้าจะคัน และจะมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย ผิวอาจจะมีอาการเหล่านี้:
-
แห้ง
-
ลอก
-
แดง
-
ตกสะเก็ด
-
แตก
บางครั้ง เมื่อผิวหนังแตก อาจทำให้เกิดอาการคันเท้า แผลและตกสะเก็ด เกิดแผลคันพุพอง และบวมได้ ฝ่าเท้าและด้านข้างของเท้าก็อาจเกิดอาการเช่นเดียวกันได้
บางครั้งการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นสามารถสร้างปัญหาสุขภาพระยะยาวได้ เมื่อโรคน้ำกัดเท้านั้นรุนแรงและเกิดแผลภายในผิวหนัง มันจะทำให้ผิวหนังของเรานั้นอ่อนแอต่อแบคทีเรีย
ถ้าปล่อยไว้โดยไม่รักษา มีความเสี่ยงที่การติดเชื้อจะแพร่กระจายไปยังนิ้วข้างเคียง ผื่นคันอาจเกิดขึ้นตามข้างนิ้วและฝ่าเท้าได้ ในบางเคส โรคน้ำกัดเท้าสามารถแพร่กระจายไปที่มือ ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ กลากมือ อาการนั้นเหมือนกันกับที่พบที่เท้า
ผู้ที่ไม่ล้างมือทันทีหลังสัมผัสบริเวณที่ติดเชื้อที่เท้านั้นมีความเสี่ยงสูง การติดเชื้อที่มือนั้นไม่ค่อยเป็นอาการแทรกซ้อนที่จะพบเห็นเท่าไหร่ของโรคน้ำกัดเท้า
ถ้าผู็ป่วยเกาบริเวณที่ติดเชื้อ แล้วสัมผัสส่วนอื่นของร่างกาย เชื้อนั้นสามารถแพร่กระจายได้ การรักษาโรคน้ำกัดเท้าในทันทีที่มีอาการเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลังจากสัมผัสบริเวณที่ติดเชื้อแล้ว การล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
การรักษาเชื้อราที่เท้า
ในกรณีส่วนใหญ่นั้น โรคน้ำกัดเท้านั้นไม่รุนแรง และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่สามารถหายาทารักษาฮ่องกงฟุตได้
ยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปมีประสิทธิภาพที่จะทำให้อาการติดเชื้อหายไปได้
ในกรณีที่รุนแรง แพทย์จะสั่งยาต้านเชื้อราที่มีฤทธิ์แรงซึ่งเป็นยาแบบรับประทาน
ยาต้านเชื้อราเหล่านั้นคือ:
-
ยาเม็ด
-
ยาแบบผง
-
ยาน้ำ
-
สเปรย์
-
ครีม
ยาใช้เฉพาะที่เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยาใช้เฉพาะที่คือยาที่ใช้ลงบนผิวโดยตรง เภสัชกรอาจแนะนำยาเหล่านี้:
-
โคลไตรมาโซล
-
อีโคนาโซล
-
คีโตนาโซล
-
ไมโคนาโซล
-
เทอร์บินาฟิน
-
ซัลโคนาโซล
ยาทานเหล่านี้อาจถูกสั่งจ่ายโดยแพทย์ ด้วยเหตุผลที่ว่าอาการนั้นรุนแรง หรือใช้ยาทาเฉพาะที่แล้วรักษาไม่หาย
-
กริซีโอฟูลวิน
-
ไอทราโคนาโซล
-
เทอร์บินาฟีน
ไฮโดรคอร์ติโซน
ถ้าผิวหนังนั้นเจ็บปวดและบวมมาก แพทย์จะแนะนำให้ใช้ไฮโดรคอร์ติโซน ไฮโดรคอร์ติโซนปริมาณเล็กน้อยสามารถซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป แต่ถ้าต้องการในปริมาณมากต้องมีใบสั่งจากแพทย์
การรักษาโรคน้ำกัดเท้าเองที่บ้าน
ขั้นตอนที่รักษาได้ที่บ้าน
-
ล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำ
-
แช่น้ำด้วยน้ำเกลือ หรือ น้ำส้มสายชูเจือจางเพื่อให้แผลพุพองหายไป
-
มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การแช่เท้าในน้ำละลายทีทรีออยก็สามารถช่วยได้
-
เช็ดเท้าให้แห้งหลังล้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างนิ้วเท้า
-
ใส่ถุงเท้าผ้าฝ้ายที่สะอาด
-
ดูแลเท้าให้แห้งอยู่ เปลี่ยนรองเท้าและถุงเท้าอยู่เสมอ
-
ซักผ้าเช็ดตัวเป็นประจำ และไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.healthline.com/nutrition/is-moldy-food-dangerous
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/athletes-foot/symptoms-causes/syc-20353841
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก