ปวดศีรษะ (Headaches) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ปวดศีรษะ (Headaches) : อาการ สาเหตุ การรักษา

25.08
1671
0

อาการปวดหัวเกิดจากอะไร

อาการปวดหัวหรือปวดศีรษะ (Headaches) คืออาการที่เกิดขึ้นบนศีรษะหรือคอส่วนบน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปที่สามารถเกิดได้กับทุกคน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปวดหัวมีดังนี้:

  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ เช่น เครียด ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
  • ปัจจัยที่เกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไมเกรน หรือ โรคความดันโลหิตสูง
  • อาการทางกายภาพ เช่น อาการเจ็บปวด
  • สภาพแวดล้อม เช่น อากาศที่เปลี่ยนแปลง

อาการปวดหัวที่รุนแรงนั้นสามารถส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของคุณได้ การเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการปวดหัวนั้น สามารถช่วยให้คุณรักษาอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

สาเหตุของการปวดหัว

สาเหตุของการปวดหัวสามารถเกิดขึ้นกับส่วนใดของศีรษะก็ได้ การแยกแยะอาการปวดสามารถทำให้แพทย์วินิจฉัยเพื่อช่วยรักษาอาการปวดหัวได้ถูกต้อง

นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถแบ่งอาการปวดหัว โดยดูจากสาเหตุ อาการบาดเจ็บที่มีอยู่ร่วมกันได้อีกด้วย 

ปวดศีรษะ (Headaches)

ประเภทของอาการปวดหัว

อาการปวดหัวนั้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งได้แก่:

อาการปวดหัวจากความเครียด

อาการปวดหัวประเภทนี้ มักพบได้บ่อยที่สุดในประเภทของอาการปวดหัวทั้งหมด ซึ่งอาการปวดหัวนี้มักจะเกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อยในแต่ละวันได้

อาการปวดหัวจากความเครียดอาจมีอาการต่อไปนี้:

  • มีความรู้สึกเหมือนมียางมารัดศีรษะ
  • มีอาการปวดหัวทั้ง 2 ข้าง
  • มีอาการปวดลามไปยังต้นคอ

อาการปวดหัวจากความเครียดนั้นมีได้ 2 รูปแบบคือ:

อาการปวดหัวแบบครั้งคราว: อาการนี้เกิดขึ้นได้เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง แต่จะมีอาการปวดหัวได้หลายวัน

อาการปวดหัวแบบเรื้องรัง: อาการปวดหัวเกิดจากความเครียดนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ใน 15 วันหรือมากกว่านั้น หรืออาจเป็นเดือน ซึ่งมีอาการได้นานถึง 3 เดือน

อาการปวดหัวโรคไมเกรน

อาการปวดหัวแบบไมเกรนอาจเกี่ยวข้องกับการเต้นของหัวใจที่เต้นผิดจังหวะและมีอาการปวดสั่น ซึ่งเกิดขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะแต่สามารถมีอาการปวดหัวได้ทั้ง 2 ข้าง

ในระหว่างที่มีอาการปวดหัวอยู่ อาจพบว่ามีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย:

  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ
  • เส้นประสาทถูกรบกวน เช่น การมองเห็นที่เปลี่ยนไปซึ่งอยู่ในระยะอาการออร่า
  • ตาไม่สามารถสู้แสงได้
  • เกิดอาการปวดหัวเมื่ออยู่ในที่ที่มีเสียงดัง
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

อาการปวดหัวแบบไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่มักพบได้เป็นอันดับที่ 2 ของการปวดหัวแบบปฐมภูมิ   ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยได้

อาการปวดหัวแบบไมเกรนอาจมีอาการอยู่ได้ชั่วโมงหนึ่งหรืออาจมีอาการอยู่ได้ถึง 2-3 วัน ซึ่งอาการปวดหัวแบบไมเกรนนั้นมีความถี่ที่แตกต่างกัน ซึ่งหมายความว่า อาการไมเกรนนี้สามารถเกิดขึ้นได้เป็นเวลา 1 สัปดาห์หรืออาจมีอาการเป็นปีได้

อาการปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดหัวมากเกินไป

อาการปวดหัวเหล่านี้เรียกว่าอาการปวดหัวแบบรีบราวนด์ ซึ่งมีอาการปวดหัวเนื่องจากการใช้ยาแก้ปวดหัวมากเกินไป

อาการปวดหัวที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดหัวมากเกินไป เกิดจากการที่รับประทานยาแก้ปวดหัวจนเสพติดการรับประทานยาแก้ปวดหัว เช่น ยาแก้ปวดอย่างยาโคเดอีน หรือยามอร์ฟีน

นอกจากจะมีอาการปวดหัวแล้ว อาจพบอาการอื่นได้ต่อไปนี้:

  • อาการปวดคอ
  • มีอาการกระสับกระส่ายจนไม่ได้พักผ่อน
  • มีอาการคัดจมูก
  • มีอาการนอนไม่หลับ

อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นมีความแตกต่างกันไป และอาการนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนไปต่อวันอีกด้วย

อาการปวดหัวแบบข้างเดียว

อาการปวดหัวประเภทนี้ มักเกิดขึ้นเป็นเวลาตั้งแต่ 15 นาทีหรืออาจเกิดอาการปวดหัวนี้เป็นเวลา 3 ชั่วโมง และอาจเกิดขึ้นได้ 1 หรือ 8 ครั้งต่อวันก็ได้

อาการปวดหัวข้างเดียวกันอาจมีอาการเกิดขึ้นบ่อยครั้งเป็นเวลา 4-12 สัปดาห์และอาการก็จะหายไป ซึ่งอาจมีอาการปวดหัวกลับมาอีกในเวลาเดียวกันของแต่ละวันได้

อาการปวดหัวข้างเดียวมักมีอาการต่อไปนี้:

  • มีอาการปวดที่รุนแรงอย่างเฉียบพลัน
  • มีอาการปวดรอบดวงตา
  • มีน้ำตาไหลหรืออาการตาแดง
  • มีภาวะหนังตาตก
  • มีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล
  • ม่านตาแคบลง
  • มีเหงื่อไหลที่หน้า

อาการปวดหัวแบบฟ้าผ่า

อาการปวดหัวนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและร้ายแรงมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะบอกว่า “เป็นอาการปวดหัวที่แย่ที่สุดที่เคยเป็นมา” ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ภายใน 1 นาทีและยาวนานถึงมากกว่า 5 นาที

อาการปวดหัวแบบฟ้าผ่าเป็นอาการปวดหัวที่พบได้รองลงมาเป็นอันดับ 2 ที่สามารถส่งผลกระทบที่อันตรายถึงชีวิตได้ เช่นอาการต่อไปนี้:

  • โรคผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง
  • ภาวะเส้นเลือดหดตัวที่ผิดปกติ
  • โรคไขสันหลังอักเสบ
  • โรคต่อมใต้สมองตกเลือด
  • มีเลือดออกในสมอง
  • มีลิ่มเลือดในสมอง

ซึ่งคนที่มีอาการปวดหัวนี้มักเกิดอาการได้อย่างรวดเร็ว และมีอาการที่รุนแรง หากคุณอาการปวดหัวแบบนี้ ควรพบแพทย์เพื่อรักษาอาการโดยด่วนทันที

การรักษาอาการปวดหัว

การพักผ่อนและการบรรเทาด้วยยาอาการปวดหัวนั้น เป็นวิธีการรักษาอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นได้

ซึ่งรวมถึงการรักษาโดยวิธีต่อไปนี้:

  • ยาบรรเทาอาการปวดหัวที่ไม่ใช่ยาประเภทสเตียรอยด์ที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น ยาต้านอาการอักเสบ
  • ยาบรรเทาอาการปวดหัวที่ได้รับการแนะนำจากแพทย์
  • ยาที่รักษาอาการของโรคบางชนิด เช่นยารักษาโรคไมเกรน
  • การรักษาอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นตามอาการ

การใช้ยาแก้ปวดหัวนั้น จำเป็นต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันการปวดหัวที่เกิดจากการใช่ยาแก้ปวดมากจนเกินไป

การรักษาอาการปวดหัวจากการใช้ยาแก้ปวดหัวมากเกินไปนั้น อาจต้องลดปริมาณยาหรือหยุดใช้ยาแก้ปวดหัว ซึ่งแพทย์สามารถจัดแผนการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงในการใช้ยาอย่างปลอดภัย ในกรณีที่มีอาการปวดหัวขั้นรุนแรง อาจต้องได้รับการรักษาอาการปวดหัวที่โรงพยาบาลในระยะเวลาสั้น ซึ่งสามารถจัดการอาการปวดหัวอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

สถิติอาการปวดหัวในประเทศไทย

สถิตินี้มาจาก งานวิจัยจากกรมสุขภาพจิต ที่มีชื่อว่า ปวดหัวไมเกรนแบบไหนเสี่ยงเส้นโลหิตสมองตีบมากที่สุด ซึ่งพบว่า ในวันที่ 6 มีนาคม 2560 นั้น ชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะรายงานผลมาว่า จากการสำรวจที่ชุมชนแห่งหนึ่งในภาคกลางเป็นเวลา 1 ปี พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคไมเกรนสูงถึง 17% ในกลุ่มผู้ป่วยไมเกรนนี้มีถึง 30% มีความรุนแรงจนถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย และพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *