ลิ้นหัวใจทั้ง 4 ชนิดทำหน้าที่ในการยอมให้เลือดไหลผ่านไปยังหัวใจและป้องกันไม่ให้เลือดไหลผิดเส้นทาง ซึ่งลิ้นหัวใจนี้จะเปิดและปิดตามจังหวะการเต้นของหัวใจเพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายมีเลือดมาเลี้ยงอย่างเพียงพอรวมไปถึงเกิดการไหลเวียนของระบบโลหิต
ลิ้นหัวใจมี 4 ชนิดดังนี้ :
- ลิ้นหัวใจไมตรัล
- ลิ้นหัวใจเอออร์ติก
- ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด
- ลิ้นหัวใจพัลโมนารี
แพทย์มักจะเรียกลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นไตรคัสปิดว่า ลิ้นเอตริโอเวนตริคลูลา (Atrioventricular Valves) นอกจากนี้ยังเรียกลิ้นหัวใจเอออร์ติกและลิ้นพัลโมนารีว่า ลิ้นเซมิลูนาร์ (semilunar valves)
อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลิ้นหัวใจทั้ง 4 ชนิด
ลิ้นหัวใจคืออะไร ?
สำหรับหัวใจที่สุขภาพดีเลือดจะไหลไปในทิศทางเดียวเท่านั้น โดยจะมีลิ้นกั้นบริเวณส่วนต่างๆของหัวใจเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
- กระบวนการจะเริ่มขึ้นเมื่อเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ(จากแขน ขา ส่วนของร่างกาย และศีรษะ) เข้าสู่หัวใจห้องบนขวาโดยหัวใจในห้องนี้จะเป็นส่วนที่กักเก็บเลือดมาพักไว้
- จากนั้นเลือดจะไหลผ่านลิ้นไตรคัสปิดเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวาซึ่งหัวใจห้องล่างขวานี้จะทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือด
- หัวใจห้องล่างจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารีเข้าสู่หลอดเลือดแดงพัลโมนารีซึ่งเป็นหลอดเลือดที่เข้าสู่ปอดเพื่อนำเลือดไปเติมออกซิเจน
- เลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนจะกลับเข้าสู่หัวใจผ่านหัวใจห้องบนซ้าย
- จากนั้นเลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวใจไมตรัลไปยังหัวใจห้องล่างซ้ายเพื่อทำการสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
- ในที่สุดเลือดจะผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติกและเข้าสู่เส้นเลือดเอออร์ติกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป
ลิ้นหัวใจ 4 ชนิด
ลิ้นหัวใจทั้ง 4 ชนิดนี้ล้วนมีบทบาทในการควบคุมให้เลือดไหลในทิศทางเดียวเท่านั้น ดังนี้ :
ลิ้นไตรคัสปิด
ลิ้นนี้ถูกตั้งชื่อว่าไตรคัสปิดเนื่องจากเป็นลิ้นที่มี 3 แฉกจึงเรียกว่า cusps หรือแผ่นลิ้นหัวใจ (leaflets) โดยเลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวใจนี้หลังจากที่ไหลออกจากหัวใจห้องบนขวามาแล้ว จากนั้นเลือดจะไหลผ่านไปยังลิ้นไตรคัสปิดและเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวา
ความผิดปกติที่พบได้ค่อนข้างยากคือภาวะลิ้นหัวใจไตรคัสปิดตีบหรือภาวะที่ไม่มีลิ้นหัวใจไตรคัสปิดตั้งแต่กำเนิด ซึ่งลิ้นหัวใจไตรคัสปิดตีบหมายถึงการที่เลือดไม่สามารถไหลจากหัวใจห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องล่างขวาได้
ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่วหมายถึงการที่ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ในขณะที่ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดตีบอาจเป็นสาเหตุทำให้ลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นจนในที่สุดช่องเปิดมีขนาดแคบลง
ลิ้นหัวใจพัลโมนารี
ลิ้นหัวใจพัลโมนิกหรือลิ้นหัวใจพัลโมนารีนั้นเป็นลิ้นที่อยู่ถัดมาซึ่งมีเลือดที่ออกซิเจนต่ำไหลผ่าน โดยลิ้นหัวใจชนิดนี้จะอยู่ติดกับหัวใจห้องล่างขวาและจะเปิดเพื่อให้เลือดไหลผ่านไปยังปอด
ภาวะลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบเป็นสาเหตุทำให้ลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปช่องเปิดจะค่อยๆมีขนาดแคบลงจึงเป็นผลทำให้เลือดไหลผ่านได้ช้าลง
การมีลิ้นหัวใจรั่วเกิดขึ้นจะทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิทจนเป็นผลทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังหัวใจห้องบนขวา
ความผิดปกติที่พบได้ยากเกี่ยวกับลิ้นหัวใจพัลโมนิก คือภาวะลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบซึ่งหมายถึงผู้ที่ไม่มีลิ้นหัวใจชนิดนี้ตั้งแต่กำเนิด
ลิ้นหัวใจไมตรัล
ลิ้นหัวใจไมตรัลจะกั้นบริเวณหัวใจห้องบนซ้ายซึ่งจะยอมให้เลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนที่มาจากปอดไหลผ่านไปยังหัวใจห้องล่างซ้าย
หนึ่งในความผิดปกติที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับลิ้นหัวใจไมตรัลคือภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลโป่งพองหรือแล่บ (Mitral valve prolapse) ซึ่งสาเหตุเกิดมาจากการที่แผ่นลิ้นหัวใจไมตรัลยื่นออกมาทำให้ปิดไม่สนิทหรืออาจจะโก่งนูนเข้าไปเป็นผลทำให้เลือดไหลย้อนกลับในหัวใจห้องบนซ้าย
โรคที่เกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลิ้นหัวใจไมตรัลถูกทำลายจนเป็นสาเหตุของภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลโป่งพองหรือแล่บ (MVP) ตามมาได้
ภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลโป่งพองหรือแล่บสามารถทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วตามมาได้เช่นกันเนื่องจากการที่เลือดไหลย้อนกลับ นอกจากนี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือการที่หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจเป็นผลมาจากการที่แผ่นของลิ้นหัวใจขยายขนาดตามไปด้วยจึงทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วได้
ภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลตีบเกิดจากการที่ผนังของลิ้นหัวใจแข็งและหนาตัวขึ้นทำให้ช่องเปิดมีขนาดแคบลงจนเป็นสาเหตุทำให้เลือดไหลได้ช้าลง
ลิ้นหัวใจเอออร์ติก
ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเป็นลิ้นที่อยู่ในลำดับท้ายๆซึ่งจะมีเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนไหลผ่านก่อนออกจากหัวใจเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยลิ้นหัวใจนี้จะป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้ามายังหัวใจห้องล่างซ้าย
ภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่วหมายถึงการที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติกปิดไม่สนิทเป็นสาเหตุทำให้เลือดไหลย้อนกลับ
ภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบหมายถึงการที่ลิ้นหัวใจเอออร์ติกแข็งและหนาตัวขึ้นทำให้ช่องเปิดที่เลือดสามารถไหลผ่านได้มีแคบลงเป็นผลทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ช้ากว่าปกติหรืออาจมีเลือดไปเลี้ยงได้ไม่เพียงพอ
การรักษาลิ้นหัวใจรั่ว
ในกรณีที่ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมแผ่นลิ้นหัวใจ ซึ่งแพทย์มักจะทำการผ่าตัดเพื่อรักษาในกรณีของภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลหรือลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว
หลังจากที่ทำการผ่าตัดแล้วแต่ไม่สามารถรักษาความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจดังกล่าวได้ ศัลยแพทย์อาจจะทำการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแทนซึ่งลิ้นหัวใจเทียมที่ใส่เข้าไปจะสามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกับลิ้นหัวใจปกติที่อยู่ในร่างกายของคนเรา
การผ่าตัดอาจจะมีความยุ่งยากได้ซึ่งในบางครั้งศัลยแพทย์มักจะทำการผ่าตัดโดยทำหัตถการที่มีการรุกรานร่างกายน้อยที่สุด
ในบางรายอาจจำเป็นต้องรักษาโรคประจำตัวร่วมด้วย รวมไปถึงการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานหรือการปรับเปลี่ยนยาที่ใช้ในการรักษาโรคบางโรคเช่น โรคลูปัส (lupus)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะสามารถลดความเสี่ยงของการที่ลิ้นหัวใจถูกทำลายรวมไปถึงปัญหาต่างๆเกี่ยวกับหัวใจลงได้ โดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์มักแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายให้มากขึ้น รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.heart.org/en/health-topics/heart-valve-problems-and-disease/heart-valve-problems-and-causes/problem-heart-valve-regurgitation
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mitral-valve-regurgitation/symptoms-causes/syc-20350178
- https://www.nhs.uk/conditions/mitral-valve-problems/
- https://www.webmd.com/heart/leaky-heart-valve-symptoms-causes-treatments
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก