โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ (Henoch Schonlein Purpura)

โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ (Henoch Schonlein Purpura)

18.05
5707
0

โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ (Henoch Schonlein Purpura) คือการอักเสบของหลอดเลือดขนาดเล็กที่ทำให้เกิดเลือดไหลออกมาปรากฎเป็นผื่นสีแดง

โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ (HSP) สามารถส่งผลกระทบได้มากในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 6 ปีที่ร่างกายกำลังมีพัฒนาการและเจริญเติบโต

ลักษณะผื่นของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ สีแดงบนผิวหนัง โดยปกติจะเกิดบริเวณขา และก้น ซึ่งสีจะเปลี่ยนจากสีแดง เป็นสีม่วงและสีน้ำตาลก่อนจะจางหายไปภายใน 10 วัน ผื่นคืออาการที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

อาการอื่น ๆ ของโรคนี้คือ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โรคข้ออักเสบ และมีเลือดปนในปัสสาวะ ความเสียหายของไตเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรังที่สุด และพบได้บ่อย แม้ว่าการเสียชีวิตของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบจะพบได้ยาก แต่โรคไตก็นับว่าเป็นอาการที่ต้องให้ความสำคัญ

การศึกษาบางงานยังแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาวที่อากาศเย็นลง

สาเหตุของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

สาเหตุที่แท้จริงของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อาจเป็นผลจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติเนื่องจากการติดเชื้อ หรืออาการแพ้ที่รุนแรง และแนวโน้มว่าโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบจะเกิดจากพันธุกรรม

สาเหตุที่อาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ ได้แก่ :

ระบบภูมิคุ้มกัน: ระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อสู้กับแบคทีเรียและไวรัส ในกรณีที่เกิดโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ แอนติบอดีจะเข้าโจมตีหลอดเลือดแทน ทำให้เกิดการอักเสบ การรั่วไหลของเลือด และผื่นตามมา

อาการแพ้: อาการแพ้อาหารบางชนิดอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

พันธุกรรม: แม้ว่าโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบจะพบได้ยาก แต่ก็มีโอกาสที่ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นโรคก็มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบได้ด้วย แม้ว่าไม่ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ก็ตาม

ความเกี่ยวข้องอื่น ๆ : ยาบางชนิด เชื้อแบคทีเรีย แมลงสัตว์กัดต่อย เชื้อไวรัส อาหาร อากาศที่หนาวเย็น และการบาดเจ็บอาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบได้

อาการของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

อาการอาจเกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ แต่ไตมักได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบภายหลังจากที่อาการของโรคเริ่มลุกลาม อาการของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยบางรายต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

อาการของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ ได้แก่ :

  • ผื่น : การรั่วของเส้นเลือดที่ผิวหนังจะทำให้เกิดผื่นขึ้น ซึ่งผื่นจะปรากฏเป็นจุดสีแดง หรือม่วงขนาดเล็ก ๆ คล้ายรอยฟกช้ำเมื่อเกิดอาการมาสักระยะ ผื่นมักเกิดอาการที่ขา แขน หรือก้น ต่อมาอาจลุกลามไปที่หน้าอก หลัง และใบหน้า ลักษณะของผื่นจะไม่เปลี่ยน ไม่จางลง หรือหายไปเมื่อออกแรงกดบริเวณผื่น ผื่นเป็นลักษณะอาการของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยทุกราย
  • ปัญหาระบบทางเดินอาหาร : โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบอาจทำให้อาเจียน ปวดท้อง และอาจมีเลือดปะปนในอุจจาระ อาการผิดปกติที่ท้อง และอาการปวดต่าง ๆ มักแย่ลงในตอนกลางคืน
  • โรคข้ออักเสบ : อาการปวดและบวมอาจเกิดขึ้นที่ข้อเข่า และข้อเท้า แต่ก็บางครั้งอาจพบที่บริเวณข้อศอก และข้อมือ
  • ปัญหาเกี่ยวกับไต : เลือดในปัสสาวะเป็นตัวบ่งชี้ว่าโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบมีผลต่อไต โปรตีนในปัสสาวะหรือความดันโลหิตสูงอาจบอกถึงปัญหาในไตที่รุนแรงมากขึ้น
  • ปวดศรีษะ : โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบอาจส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งจะทำให้ผู้คนเกิดอาการปวดศีรษะ ชักเกร็ง และลมชัก และยังส่งผลต่อความสามารถของสมองในการรวบรวมและตีความข้อมูล
  • อาการอื่น ๆ : เด็กผู้ชาย และผู้ชายบางคนที่เป็นโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบอาจมีอาการอัณฑะบวม

Henoch Schonlein Purpura

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

หากไม่วินิจฉัยอย่างละเอียดอาจไม่สามารถระบุอาการของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบได้ เนื่องจากมีอาการใกล้เคียงกับการอักเสบของหลอดเลือดได้ แพทย์มักมองหาอาการที่บ่งชี้ไปยังโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบโดยเฉพาะ

ตัวอย่างเช่น อาการร่วมต่าง ๆ อย่างผื่น ปวดท้อง และโรคข้ออักเสบจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบจึงรวมถึงการวิเคราะห์หาแอนติบอดีบนผิวหนัง

หากพบเลือดหรือโปรตีนในปัสสาวะมักเป็นเครื่องชี้ถึงปัญหาเกี่ยวกับไต และกรณีที่เกิดผื่นขึ้นด้วย แสดงว่าเป็นอาการของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

ขั้นตอนและวิธีการทดสอบเพื่อช่วยยืนยันอาการของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบนั้น ได้แก่:

  • การตรวจชิ้นเนื้อที่ผิวหนัง: เนื้อเยื่อผิวหนังจะถูกเก็บรวบรวมโดยทายาชา หรือดมยาสลบก่อน เพื่อตรวจหารายละเอียดของแอนติบอดี
  • การตรวจชิ้นเนื้อของไต: เทคนิคการถ่ายภาพใช้เพื่อช่วยห้แพทย์สามารถใช้เข็มเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากไตไปตรวจสอบ
  • การตรวจปัสสาวะ : แพทย์จะตรวจว่าปัสสาวะมีเลือด (ปัสสาวะเป็นเลือด) หรือโปรตีน (ภาวะมีโปรตีนในปัสสาวะ)

การรักษาโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบโดยเฉพาะ แต่ส่วนมากอาการจะหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา

แพทย์อาจทำการรักษาเพื่อบรรเทา และแก้ไขอาการปวดข้อ ปวดท้อง หรืออาการบวมได้

ความเจ็บปวดเบื้องต้นจะรักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่บางกรณีแพทย์อาจใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวมของเนื้อเยื่ออ่อนได้

กรณีไตได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอาจต้องใช้ยาควบคุมภูมิคุ้มกัน หากเกิดอาการปวดท้อง เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับไตควรรีบไปพยแพทย์

หากอาการภูมิแพ้คือสาเหตุของโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหาร หรือยาที่กระตุ้น กรณีมีการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสด้วย แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการ

ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบที่เป็นโรคไตขั้นรุนแรง และมีอาการไตวายอาจต้องทำการฟอกไตเพื่อทำความสะอาดเลือดด้วย

การปลูกถ่ายไตคือแนวทางการรักษาที่จำเป็นในกรณีที่อาการไตรุนแรง แต่อาการก่อนหน้านี้ HSP โรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบสามารถกลับมาเป็นซ้ำในกรณีไตได้รับการปลูกถ่ายแล้วได้

สรุปภาพรวมโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

คนส่วนมากสามารถหายขาดจากโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบได้ แต่ก็พบโอกาสการเป็นซ้ำในผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 ได้

ความเสียหายที่เกิดกับไตมีผลต่อเด็กประมาณ 1% ของผู้ป่วยทั้งหมด และประมาณ 40 %ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่จะมีโอกาสเป็นไตวายภายใน 15 ปีหลังจากพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ

หญิงตั้งครรภ์ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ มีแนวโน้มที่จะมีอาการความดันโลหิตสูง และภาวะมีโปรตีนในปัสสาวะได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *