โรคเริม (Herpes) : อาการ สาเหตุ การักษา

โรคเริม (Herpes) : อาการ สาเหตุ การักษา

24.08
35798
0

เริม (Herpes) คือ การติดเชื้อที่เกิดจาก HSV (ไวรัสเริม) ไวรัสนี้มีผลต่ออวัยวะเพศภายนอก และบริเวณทวารหนัก รวมถึงผิวหนังในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

เริมเป็นโรคเรื้อรัง อย่างไรก็ตามหลายคนไม่เคยมีอาการแม้ว่าพวกเขาจะมีเชื้อไวรัสเริมอยู่ก็ตาม 

อาการของเริมได้แก่ แผลพุพอง ความเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ ไข้ และตกขาว แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาโรคเริมให้หายขาด แต่ก็มีวิธีการบรรเทาด้วยตนเอง

ในบทความนี้จะกล่าวถึงอาการของโรคเริม วิธีการรักษา และวิธีการหลีกเลี่ยง

ข้อมูลทั่วไปที่ควรรู้เกี่ยวกับเริม

  • ไวรัสเริมมีสองประเภทคือ HSV-1 (เริมที่ปาก) และ HSV-2 (เริมที่อวัยวะเพศ)
  • การได้รับออรัลเซ็กซ์จากผู้ที่มีแผลเริมที่ปาก จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเริม
  • เริมไม่สามารถติดต่อผ่านการนั่งชักโครกได้

อาการโรคเริม

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะไม่ปรากฏอาการนานหลายเดือนหรือหลายปีหลังจากติดเชื้อ แต่ในบางกรณีผู้ที่มีอาการในช่วงเริ่มต้นมักจะสังเกตแผลเริม 4 วันหลังจากได้รับเชื้อเริม (เฉลี่ย 2-12 วัน)

อาการติดเชื้อเริมในระยะแรก

การติดเชื้อเริมในระยะแรกคือ ผู้ป่วยติดเชื้อเป็นครั้งแรก อาการอาจค่อนข้างรุนแรงโดยมีอาการดังนี้:

  • แผลที่อวัยวะเพศภายนอก ในช่องคลอด หรือบนปากมดลูก
  • ตกขาว
  • เจ็บปวดและคัน
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ปวดแผลเมื่อปัสสาวะ
  • มีไข้
  • วิงเวียน 
  • แผลรอบปาก
  • แผลสีแดงบนผิว

ในกรณีส่วนใหญ่แผลจะหายโดยไม่ทิ้งร่องรอยใดๆ

อาการติดเชื้อเริมซ้ำ

อาการเริมที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อซ้ำมีมักจะรุนแรงน้อยกว่าการติดเชื้อครั้งแรก โดยทั่วไปอาการจะไม่เกิน 10 วัน โดยมีอาการดังนี้:

  • ปวดแสบร้อนรอบอวัยวะเพศ ก่อนที่แผลจะปรากฏขึ้น
  • ผู้หญิงอาจมีแผลที่ปากมดลูก
  • แผลรอบปาก
  • แผลสีแดงที่ผิว

จำนวนการเกิดขึ้นซ้ำนั้นจะลดความถี่ลงเรื่อยๆ รวมถึงความรุนแรงของอาการจะลดลงด้วย

โรคเริมเกิดจากอะไร

เมื่อเกิดการติดเชื้อ HSV ที่ผิวหนัง เชื้อนี้สามารถส่งผ่านไปยังคนอื่นได้อย่างง่ายดายผ่านผิวหนังที่มีความชุ่มชื้น ได้แก่บริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนัก ไวรัสเริมอาจแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นผ่านทางผิวหนังและดวงตาได้เช่นกัน

เราไม่สามารถติดเชื้อ HSV ได้โดยการสัมผัสวัตถุ พื้นผิว อ่างล้างหน้าหรือผ้าขนหนูที่ผู้ติดเชื้อสัมผัส การติดเชื้อนั้นสามารถเกิดได้ดังนี้:

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนักที่ไม่มีการป้องกัน
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางปากกับบุคคลที่ปากเป็นเริม
  • การแบ่งปันของเล่นทางเพศ
  • การสัมผัสอวัยวะเพศกับผู้ติดเชื้อเริม

แผลพุพองจะปรากฏขึ้นภายหลังการติดเชื้อเริมและแผลจะเริ่มหายในภายหลัง ซึ่งเริมนั้นสามารถส่งต่อไปยังคนอื่นได้ แม้ว่าแผลจะหายสนิทแล้วก็ตาม

หากมารดาป่วยเป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศเป็นไปได้ว่าจะส่งต่อเชื้อเริมไปยังทารกที่คลอดออกมา

โรคเริม (Herpes)

การรักษาโรคเริม

การรักษาเริมนั้นสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้:

การรักษาด้วยตนเอง

พฤติกรรมบางอย่างสามารถช่วยบรรเทาอาการเริมได้ :

  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น Acetaminophen หรือ Ibuprofen
  • อาบน้ำที่ผสมเกลือเล็กน้อยสามารถช่วยบรรเทาอาการ
  • แช่น้ำอุ่น
  • ใช้ปิโตรเลียมเจลลี่กับบริเวณที่เป็นเริม
  • หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่คับรัดบริเวณที่เป็นเริม
  • ล้างมือให้สะอาดหลังจากสัมผัสบริเวณที่เป็นเริม
  • หลีกเลี่ยงจากกิจกรรมทางเพศจนกว่าแผลจะหาย
  • หากปัสสาวะและมีอาการเจ็บปวด ให้ใช้ครีมหรือโลชั่นทาบริเวณท่อปัสสาวะ เช่น Lidocaine

การรักษาด้วยยา

ไม่มียาใดที่สามารถกำจัดไวรัสเริมได้ แพทย์อาจสั่งยาต้านไวรัส เช่น Acyclovir ที่จะช่วยยับยั้งการเจริญของไวรัสเริม และยังช่วยลดความรุนแรงของเริม

แพทย์จะสั่งยาต้านไวรัสในผู้ป่วยติดเชื้อเริมครั้งแรก เนื่องจากอาการที่ปรากฏซ้ำในครั้งถัดไปนั้นไม่มีอาการรุนแรง

การรักษาแบบยับยั้ง Episodic

การรักษาแบบับยั้ง Episodic นั้น เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเกิดซ้ำน้อยกว่า 6 ครั้ง ใน 1 ปี แพทย์จะสั่งยาต้านไวรัสให้ใช้ติดต่อกัน 5 วันทุกครั้งที่มีอาการปรากฏ

ในบางกรณีแพทย์แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัสทุกวันอย่างไม่มีกำหนด เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำอีก แม้ว่าการรักษาแบบยับยั้งจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจาย HSV ไปยังคู่นอนได้ แต่ก็ยังมีโอกาสที่คู่นอนจะติดเริมจากผู้ป่วยได้

เคล็ดลับการป้องกันเริม

เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเริม สามารถทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ได้:

  • ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีอาการเริม
  • อย่าจูบเมื่อมีอาการเริมที่ปาก
  • มีคู่นอนเดียว

ในผู้ป่วยบางรายพบว่า ความเครียด ความเหนื่อย ความเจ็บป่วย แรงเสียดทานที่มีต่อผิวหนัง หรือการอาบแดด อาจทำให้เกิดอาการเริมซ้ำ การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นต่างๆ จะทำให้ลดโอกาสที่เริมเกิดซ้ำได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *