โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของเชื้อไวรัส คนที่มีเพศสัมพันธ์ส่วนมากจะมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อไวรัส
HPV มีหลายประเภทและบางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้
สาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
HPV เป็นไวรัสที่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสทางผิวหนังซึ่งมักติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเกิดได้กับทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
เมื่อติดเชื้อแล้วอาจไม่พบอาการใด ๆ เลย หรืออาจเกิดอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ได้ HPV สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม
สายพันธุ์ของ HPV ที่ทำให้เกิดหูดนั้นแตกต่างจากสายพันธ์ที่เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง
สาเหตุในวัยเด็ก
HPV สามารถแพร่กระจายไปยังทารกระหว่างคลอดได้ แต่จากงานวิจัยพบความความเสี่ยงในการติดเชื้อลักษณะนี้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กจะสามารถดูแลการติดเชื้อได้
สัญญาณของการติดเชื้อ HPV ในทารก ได้แก่ หูดที่อวัยวะเพศ หรือรอยโรคที่ปาก
กรณีเด็กเล็กมีอาการ HPV อาจบ่งบอกถึงการล่วงละเมิดทางเพศของเด็กได้
ปัจจัยที่ส่งผลโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ HPV ได้แก่ :
- เปลี่ยนคู่นอนหลายคน
- มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่นไม่สวมถุงยางอนามัย หรือแผ่นยางอนามัย
- มีบริเวณที่ผิวหนังเป็นรอยแผล หรือเสียหาย
- มีการสัมผัสกับหูด หรือสัมผัสกับ HPV ที่ตกค้างบนพื้นผิวต่าง ๆ
- ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน HPV
ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจะสูงขึ้น หากผู้ป่วยติดเชื้อ HPV และ:
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่นหนองในเทียม
- คลอดลูกคนแรกตั้งแต่อายุยังน้อย
- ให้กำเนิดลูกหลายคน
- สูบบุหรี่ หรือยาสูบชนิดต่าง ๆ
- มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
อาการของโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
อาการของ HPV อาจปรากฏขึ้นหลายปีหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก ไวรัสบางชนิดอาจทำให้เกิดหูด ในขณะที่บางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ HPV อาจทำให้เกิด:
หูดที่อวัยวะเพศ
ลักษณะคือการเกิดตุ่มเล็ก ๆ กระจุกหนึ่งบนผิวหนัง อาจมีลักษณะเป็นก้อนหรือเนื้อยื่นออกมาคล้ายลำต้น หูดเหล่านี้จะมีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกัน โดยอาจมีลักษณะ ดังนี้:
- ใหญ่หรือเล็ก
- แบน ๆ หรือฟูเหมือนดอกกะหล่ำ
- สีขาว, ชมพู, แดง, น้ำตาลอมม่วง หรือสีเหมือนผิวหนังปกติ
ตำแหน่งของหูด อาจเป็น:
- ช่องคลอด
- ปากมดลูก
- อวัยวะเพศชายหรือถุงอัณฑะ
- ทวารหนัก
- บริเวณขาหนีบ
หูดเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการแสบคัน ปวดแสบปวดร้อน และรู้สึกไม่สบายตัวต่าง ๆ ได้
หูดประเภทอื่น ๆ
HPV สามารถทำให้เกิดหูดทั่วไป หูดที่ฝ่าเท้า และหูดแบบแบน ๆ ได้
หูดทั่วไปมักมีลักษณะหยาบ และนูนขึ้น มักเกิดบริเวณมือ นิ้ว และข้อศอก
หูดที่ฝ่าเท้าเป็นหูดที่แข็ง และมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ มักเกิดที่เท้า โดยปกติจะขึ้นที่ส้นเท้า หรือเนินปลายเท้า
ในขณะเดียวกันหูดแบบแบนจะมีลักษณะเป็นแผลนูนขึ้นมาเล็กน้อย ซึ่งมักมีสีเข้มกว่าผิวหนังโดยรอบ มักเกิดบนใบหน้า หรือลำคอ
HPV เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้อย่างไร
คนส่วนมากที่ติดเชื้อ HPV อาจไม่เป็นมะเร็ง แต่การติดเชื้อบางประการก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแออยู่ก่อนแล้ว
HPV เป็นสายพันธุ์ของไวรัสที่มีความเสี่ยงสูงสามารถเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารระหว่างเซลล์ และทำให้เซลล์เหล่านั้นเติบโตผิดปกติ โดยไม่สามารถควบคุมได้
ผู้คนจำนวนมากจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถเอาชนะเซลล์ที่ไม่ต้องการได้ แต่หากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำงานเช่นนั้นได้ เซลล์ที่ไม่ต้องการก็จะสามารถอยู่ในร่างกายและเติบโตต่อไปได้ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้
โดยพบว่าเซลล์มะเร็งอาจใช้เวลาประมาณ 10-20 ปีในการพัฒนาจนเกิดโรค
การติดเชื้อสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่บริเวณต่อไปนี้:
- ปากมดลูก
- ปากช่องคลอด
- ช่องคลอด
- อวัยวะเพศชาย
- ทวารหนัก
- คอหอยหลังช่องปาก รวมถึงฐานของลิ้น และต่อมทอนซิล
การตรวจร่างกายเป็นประจำสามารถนำไปสู่การวินิจฉัยได้เร็ว และสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที สามารถป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็งได้
แนวทางการรักษาขึ้นกับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง อายุและสุขภาพของผู้ป่วย
การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
ไม่มีวิธีจัดการให้เชื้อ HPV ออกไปจากร่างกายได้ แต่หากทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องก็จะสามารถรักษาต่างๆเพื่อกำจัดหูดที่เกิดจากเชื้อ HPV ได้ แต่บางครั้งหูดเหล่านั้นก็สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา
หูดทั่วไป
ผลิตภัณฑ์ที่มีกรดซาลิไซลิกเป็นส่วนประกอบที่แพทย์ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์สามารถรักษาอาการของหูดทั่วไปได้ แต่ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้กับหูดที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ
ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจสั่งยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้:
- imiquimod (อัลดารา, ไซคลารา)
- podofilox (Condylox)
- trichloroacetic acid
- podophyllin
บางรายอาจต้องผ่าจัดเพื่อรักษาด้วย
หูดที่อวัยวะเพศ
ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ รักษาเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ โดยแพทย์อาจแนะนำยาต่อไปนี้:
- การบำบัดด้วยความเย็น: เป็นการใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลวมาตรึงหูดเอาไว้
- กระแสไฟฟ้า: เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าเผาหูด
- การใช้เลเซอร์หรือแสงบำบัด: เป็นการใช้ลำแสงที่มีกำลังสูงเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการออกไป
- การผ่าตัดเอาออก: ศัลยแพทย์สามารถตัดหูดออกได้ โดยผู้ป่วยนอกต้องได้รับยาชาเฉพาะที่ก่อน
ตัวเลือกในการรักษาจะพิจารณาจากชนิดและตำแหน่งของหูด การรักษาสามารถจัดการกับหูดได้ แต่จะไม่สามารถกำจัดไวรัสออกจากร่างกายและยังคงแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้
การวินิจฉัยโรคติดเชื้อเอชพีวี
หากเกิดหูดหรือรอยโรค แพทย์มักวินิจฉัย HPV ด้วย โดยตรวจด้วยสายตา หรือทำการทดสอบเพื่อยืนยันการติดเชื้อ
แพทย์จะทำการทดสอบ HPV เมื่อพบรอยโรค หรือการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูก ด้วยวิธีต่อไปนี้ :
- การทำ Pap smear
- การตรวจดีเอ็นเอ
- การตรวจชิ้นเนื้อ
Pap smear หรือการสเมียร์ปากมดลูก เป็นการเก็บตัวอย่างและทดสอบเซลล์จากปากมดลูก หรือช่องคลอด มาตรวจสอบความผิดปกติของเซลล์ที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็ง
การตรวจดีเอ็นเอสามารถประเมิน HPV ประเภทที่มีความเสี่ยงสูง และแพทย์อาจตรวจสอบร่วมกับการตรวจ Pap smear
การตรวจชิ้นเนื้อ คือการเก็บตัวอย่างผิวหนังที่ได้รับผลกระทบ เพื่อทดสอบหาเซลล์ที่ผิดปกติ
หากบุคคลมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก แพทย์อาจพิจารณาตรวจ Pap smear ทางทวารหนัก
การป้องกันโรคติดเชื้อเอชพีวี
เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV บุคคลสามารถ:
- รับวัคซีน HPV
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- จำกัดจำนวนคู่นอน
- อย่ามีเพศสัมพันธ์ในขณะที่มีหูดที่อวัยวะเพศ
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค :
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดโดยไม่จำเป็น
- ล้างมือให้สะอาดหลังจากสัมผัสหูด
- หลีกเลี่ยงการโกนขนบริเวณหูด
- ใช้รองเท้าเมื่อเดินในที่สาธารณะ เช่น สระว่ายน้ำ และห้องล็อกเกอร์ หากมีหูดขึ้นที่เท้า
- รักษาและปกปิดหูดเอาไว้จนกว่าจะหายไป
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนู และของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ร่วมกัน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/human-papillomavirus-infection#:~:text=Human%20papillomavirus%20(HPV)%20is%20a,genitals%2C%20mouth%2C%20or%20throat.
- https://www.cdc.gov/std/hpv/stdfact-hpv.htm
- https://www.nhs.uk/conditions/human-papilloma-virus-hpv/
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hpv-infection/symptoms-causes/syc-20351596
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก