ไฮเปอร์ (Hyperactivity) เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่มีสมาธิจดจ่อหรือไม่สามารถควบคุมการใช้พลังหรือการเคลื่อนไหวของร่างกายได้
ไฮเปอร์คืออะไร
หลายคนพยายามใช้สมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ก็อาจเสียสมาธิได้บางครั้ง สำหรับผู้ที่เป็นไฮเปอร์อาจเผชิญกับความท้าทายในการพยายามใช้สมาธิจดจ่อและมีอาการหุนหันพลันเเล่นหรือเป็นคนที่เสียสมาธิง่าย
สำหรับผู้ที่มีอาการของไฮเปอร์ที่เคยมีอาการหุนหันพันแล่นและสมาธิไม่จดจ่อ ซึ่งอาการเหล่านี้มีความรุนเเรงแตกต่างกันหลายระดับขึ้นอยู่กับช่วงวัยหรืออายุของผู้ป่วยแต่ละคน
การรักษาและวิธีบำบัด
แพทย์แนะนำวิธีรักษาผู้ที่เป็นไฮเปอร์ด้วยวิธีการบำบัดสองประเภทร่วมกัน โดยส่วนใหญ่การเลือกใช้วิธีรักษามักขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคลและระดับความรุนเเรงของโรคสมธิสั้นที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : เป็นการทำงานร่วมกับนักบำบัด ซึ่งผู้ที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเข้าสังคมให้กับเด็กและวางเเผนการเรียนรู้รวมถึงใช้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยรักษาเด็กที่เป็นไฮเปอร์
แพทย์จะสั่งยาให้ผู้ป่วยเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีสมาธิจดจ่อมากขึ้น โดยยาส่วนใหญ่ที่แพทย์มักใช้กระตุ้นผู้ที่มีอาการสมาธิสั้นมีดังต่อไปนี้
ยาที่ใช้รักษาผู้ที่มีสมาธิสั้นได้แก่
- ยา Adderall
- ยา Focalin
- ยา Vyvanse
- ยา Concerta
- ยา Ritalin
นอกจากนี้ยังมียาที่ไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นสำหรับรักษาไฮเปอร์ได้แก่ยาStrattera และยา clonidine (Catapres) โดยปกติแพทย์จะให้ยาเหล่านี้ในปริมาณที่น้อยมากและอาจเพิ่มขนาดยาขึ้น ถ้าหากจำเป็น
การอบรมจากผู้ปกครอง : นักบำบัดพฤติกรรมสามารถทำงานร่วมกับพ่อเเม่เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมของลูก เมื่อพวกเขามีพฤติกรรมด้านลบที่อาจเกิดร่วมกับไฮเปอร์ นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถสอนวิธีจัดยาเพื่อเป็นความรู้ให้กับผู้ปกครองได้เช่นกัน
ความช่วยเหลือที่โรงเรียน : ครูผู้สอนและครูที่ปรึกษามีบทบาทหลักในการวางแผนการสอนและปรับเปลี่ยนวิธีการสอนต่างๆและเน้นไปที่การทำกิจกรรมร่วมกันกับเด็กที่เป็นไฮเปอร์
ไฮเปอร์ไปสามารถหายไปเมื่อเวลาผ่านไปนานหรืออายุเพิ่มมากขึ้นและเด็กจะไม่ “เติบโต” ขึ้นพร้อมกับพฤติกรรมเหล่านี้ บางคนอาจสังเกตุพบว่าพฤติกรรมของพวกเขาดีขึ้นเมื่อพวกเขาเริ่มมีอายุมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของอายุได้ได้หมายความว่าผู้ป่วยได้รับการ “รักษา” แล้ว
สำหรับผู้ที่เป็นไฮเปอร์จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยโรคเพื่อช่วยในการจัดการเเละปรับพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
ข้อมูลจากสถาบัน Nemours ระบุว่าเด็กที่ป่วยด้วยไฮเปอร์มีความสามารถในการควบคุมตัวเองได้ดีขึ้นและมีสมาธิจดจ่อที่ดีขึ้นเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากคนรอบข้างในตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
ถ้าผู้ที่ป่วยด้วยไฮเปอร์ยังไม่ได้รับการรักษา พวกเขาจะมีพฤติกรรมและการแสดงออกรวมถึงอารมณ์เชิงลบในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้แก่มีความมั่นใจในตนเองต่ำ ภาวะซึมเศร้า มีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียและมีปัญหากับคนในครอบครัว
สาเหตุและความเสี่ยง
แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของไฮเปอร์
อย่างไรก็ตามพวกเขาระบุว่าแนวโน้มการเกิดไฮเปอร์มีสาเหตุมาจากครอบครัว ถ้าหากมีพ่อเเม่หรือพี่น้องที่เป็นไฮเปอร์ เด็กที่เป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกันสามารถเป็นไฮเปอร์ได้เช่นกัน
นักวิจัยยังคงศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและปัจจัยต่างๆที่สามารถก่อให้เกิดไฮเปอร์ได้ เช่น
- ความเครียดและการดื่มแอลกอฮอลหรือสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์
- การอาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีสารพิษในระหว่างการตั้งครรภ์หรือตั้งแต่เด็ก
- เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์บางราย ซึ่งพบได้น้อยมากและยังคงมีการศึกษาวิจัยต่อไป
- เด็กที่เกิดก่อนกำหนด
- อาการบาดเจ็บในสมองระดับปานกลาง
ความเข้าใจผิดทั่วไปที่บิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไฮเปอร์ รวมถึงทำให้คนทั่วไปมองว่าผู้ที่เป็นไฮเปอร์เป็นผู้ที่มีความผิดปกติ และยังมีความเชื่อทั่วไปบางอย่างที่เป็นความเข้าใจผิดว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฮเปอร์ได้แก่
- ทานอาหารมากเกินไปหรือมีการแต่สีสังเคราะห์
- ใช้เวลาอยู่กับ “หน้าจอ”คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ หรือโทรศัพท์มือถือ มากเกินไป
- อาศัยอยู่กับพ่อเเม่ที่มีพฤติกรรมไม่ดีหรือสภาพแวดล้อมของบ้านที่แย่
อย่างไรก็ตามนักวิจัยยังไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อมโยงของการเกิดไฮเปอร์ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยได้
บทสรุป
ไฮเปอร์เป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสังคม การเรียนและการทำงาน ซึ่งโรคดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเรียนเเละการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นๆ
อย่างไรก็ตามไฮเปอร์มีวิธีรักษาที่หลากหลายเพื่อบรรเทาอาการของโรคดังกล่าวนี้
ถ้าหากคุณคิดว่ามีสมาชิกในครอบครัวของคุณคนใดคนหนึ่งเป็นไฮเปอร์ ควรพาพวกเขาไปพบเเพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเเละประเมินอาการ
ไฮเปอร์มีความเกี่ยวข้องกับอาการต่างๆ ได้แก่การขาดสมาธิจดจ่อในการทำงานหรือการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานหรือบางคนจำเป็นต้อง “ออกเดินทาง” ไปข้างนอกหรือไปท่องเที่ยวเป็นประจำ
ไฮเปอร์มีลักษณะเฉพาะ 9 อย่างและลักษณะหรืออาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นปกติในเด็กที่มีอายุน้อย โดยพวกเขาจะมีการแสดงออกทางพฤติกรรมที่แตกต่างจากเด็กในกลุ่มเดียวกัน
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.healthline.com/health/hyperactivity
- https://www.nimh.nih.gov/health/topics/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd/index.shtml
- https://medlineplus.gov/ency/article/003256.htm
- https://www.nhs.uk/conditions/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd/symptoms/
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก