หลัก / บทความ / ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) : วิธีใช้ และควรระวัง
ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) : วิธีใช้ และควรระวัง
Ibuprofen คืออะไร
Ibuprofen (ไอบูโปรเฟน) เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ ใช้ในการบำบัดอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือลดอาการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อ และโครงกระดูก ลดการปวดศีรษะ ไมเกรน ใช้เพื่อลดไข้ในเด็ก และใช้บำบัดอาการปวดประจำเดือนในสตรี
สรรพคุณของยา Ibuprofen
- ใช้เป็นยาลดไข้
- ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
- ใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน
- ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดฟัน ปวดข้อ ที่มีอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง
- ใช้เป็นยาแก้อาการข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อเสื่อมชนิดรุนแรง โรคข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง
- ใช้เป็นยาแก้อาการการอักเสบของถุงเล็ก ๆ ที่บรรจุน้ำไขข้อ โรคเกาต์ระยะเฉียบพลัน
- ใช้เป็นยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เช่น เส้นเอ็นอักเสบ ข้อเคล็ดข้อแพลง เป็นต้น
ปริมาณการใช้ยา Ibuprofen
- สำหรับผู้ใหญ่ ใช้วันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 400 mg.
- สำหรับเด็กควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เนื่องจากการใช้ยาจะใช้ปริมาณตามน้ำหนักตัวของเด็ก
รูปแบบยา Ibuprofen
- ยาเม็ดหรือยาแคปซูล ขนาด 200 mg.
- ยาเม็ดหรือยาแคปซูล ขนาด 300 mg.
- ยาเม็ดหรือยาแคปซูล ขนาด 400 mg.
- ยาเม็ดหรือยาแคปซูล ขนาด 600 mg.
- ยาเม็ดหรือยาแคปซูล ขนาด 800 mg.
- ยาเม็ดชนิดเคี้ยว ขนาด 100 mg.
- ยาเจล (สำหรับทา) 5% ขนาด 100 g/5 g
- ยาฉีด (Caldolor®) ขนาด 100 mg./1 ml. (ในขวดยา 4 และ 8 ml.)
- ยาฉีด Ibuprofen Lysine Injection (NeoProfen®) ขนาด 10 mg./1 ml. (ในขวดยา 2 ml.)
- ยาน้ำเชื่อม ขนาด 100 mg./5 ml. (1 ช้อนชา)
- ยาน้ำแขวนตะกอน ขนาด 50 mg./1.25 ml.
- ยาน้ำแขวนตะกอน ขนาด 100 mg./5 ml. (1 ช้อนชา)
ผลข้างเคียงของยา Ibuprofen
- ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้
- อาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ
- อาจทำให้มีเลือดออก อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระมีสีดำหรือกระเพาะอาหารทะลุในผู้สูงอายุได้
- อาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน มึนงง
- ได้ยินเสียงดังในหู
- ตามัว การมองเห็นผิดปกติ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ง่วง ซึม
- อ่อนเพลีย เฉื่อยชา
- หน้ามืด เป็นลม
- แสบร้อนกลางอก
- ไม่สบายท้อง ปวดท้อง ท้องผูกหรือท้องเดิน
- เกิดลมพิษ ผื่นคัน หอบหืด กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน ภาวะช็อกจากการแพ้ ซึ่งเป็นอาการจากการแพ้ยา
- อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจผิดปกติและหายใจเร็วมาก อ้าปากหายใจ หายใจเข้ามีเสียงหวีด หายใจหอบ หรือเป็นลม อาจมีสีผิวของใบหน้าเปลี่ยนแปลง ชีพจรเต้นเร็วและผิดปกติ ผิวหนังบวมมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง และหนังตาหรือรอบ ๆ ตาบวมหรือพอง ต้องรีบได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
- ความดันโลหิตสูง
- อาจทำให้ผู้ที่มีภาวะหัวใจวายเกิดอาการกำเริบ
- อาจทำให้โรคภูมิแพ้กำเริบหรือมีอาการแย่ลง เช่น หวัดภูมิแพ้ หืด
- อาจทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
- อาจทำให้ตับอักเสบหรือเอนไซม์ตับ (AST, ALT) สูง
- ทำให้มือเท้าบวม ซึ่งเป็นผลจากร่างกายคั่งน้ำ (Fluid retention)
- ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีโรคระบบหัวใจ โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะอาจทำให้ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
- ผู้ที่ใช้ยานี้เป็นครั้งแรกอาจเกิดภาวะช็อกจากปฏิกิริยาอะนาไฟแล็กทอยด์ (Anaphylactoid)
- เกิดผิวหนังไหม้เกรียมผิดปกติ ปวดแสบปวดร้อน เกิดถุงน้ำใต้ผิวหนัง เกิดผื่น แดง คัน หรือสีซีดจางลง เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้ยานี้อาจไวต่อแสงมากกว่าปกติ
- หากใช้ยาไอบูโพรเฟนในปริมาณมาก อาจมีการยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือดและทำให้เลือดออกได้
- หากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
- อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวาย ไตวาย และตับวาย หากใช้ยานี้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่มีประวัติโรคกระเพาะอาหาร
- ไม่ควรใช้ยาในผู้ป่วยที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวร่วมกับยาแก้ปวด หรือลดอาการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อชนิดอื่นๆ
อาการข้างเคียงจากการใช้ยา Ibuprofen
อาการข้างเคียงที่ได้พบบ่อย
- วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะเล็กน้อยถึงปานกลาง
- ง่วงนอน ซึม
- รู้สึกใจหวิว ๆ
- คลื่นไส้อาเจียน
- แสบยอดอก
- จุกเสียด อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายในท้องหรือกระเพาะอาหารในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
อาการข้างเคียงที่พบได้น้อย
- มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
- หัวใจเต้นเร็วหรือแรง หน้าแดง รู้สึกเหมือนไม่สบาย
- ตาทนแสงไม่ได้ ผิวหนังไวต่อแสง ปากแห้ง ระคายเคืองหรือเจ็บ
- เหงื่อออกมากขึ้น กระวนกระวาย ควบคุมตัวเองไม่ได้ มีอาการสั่น กระตุก
- การรับรสเปลี่ยนไปหรือรู้สึกขมปาก ไม่อยากอาหาร
- มีลมหรือแก๊สในกระเพาะอาหาร
- ท้องผูกหรือท้องร่วง ระคายเคืองทวารหนัก
อาการข้างเคียงที่ควรไปพบแพทย์ทันที
- สับสน หลงลืม
- ซึมเศร้าหรืออารมณ์เปลี่ยนไป
- ประสาทหลอน
- ปวดศีรษะรุนแรง
- กลืนลำบาก
- มีอาการไอ
- ตาพร่ามัวหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ปวดตา ตาระคายเคือง แห้ง แดงและบวม
- การได้ยินลดลง ได้ยินเสียงกริ่งหรือเสียงหึ่ง ๆ ในหู
- รู้สึกเหมือนร้อนไหม้ภายในลำคอ หน้าอก และกระเพาะอาหาร
- ความดันโลหิตสูง
- ระคายเคืองลิ้น
- อุจจาระมีสีซีดลง
- ปวดกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือดปนหรือขุ่น ปวดแสบเวลาปัสสาวะ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- เลือดไหลจากการถูกมีดบาดหรือจากรอยถลอกที่นานเกินผิดปกติ มีเลือดไหลหรือเจ็บฝีปาก
- มีเลือดไหลจากช่องคลอดมากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ผิวหนังมีอาการคันหรือบวมคล้ายรังผึ้ง
- ปวดแสบปวดร้อน มีถุงน้ำ แดง สีเปลี่ยนแปลงไป ตึง ซีด หนาตัวหรือมีรอยแผลเป็นที่ผิวหนัง
- มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้ามากผิดปกติ
- ตัวเหลืองตาเหลือง
- สีเล็บซีดลงหรือเล็บแยก
- ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดหลังด้านล่างหรือด้านข้างรุนแรง
- มือและเท้าไม่มีความรู้สึก รู้สึกเหมือนเข็มจิ้ม
- ลิ้นและปากบวม ต่อมที่คอบวมหรือเจ็บ
- กระหายน้ำอย่างต่อเนื่อง พูดลำบาก
- น้ำมูกไหลหรือจามโดยไม่มีสาเหตุ
- มีไข้ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ร่วมกับการเกิดผื่น
- มีเลือดไหลออกจากจมูกโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีเลือดออกหรือเกิดจ้ำเลือดที่ผิดปกติ
- อาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีคล้ายกาแฟ
- มีแผลเปื่อย แสบ หรือจุดขาวบนริมฝีปากหรือในปาก
- มีจุดสีแดงคล้ายหัวเข็มหมุดตามผิวหนัง
อาการข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก
- เป็นลม หน้ามืด
- มีอาการชัก
- หายใจเร็วหรือผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หายใจสั้น หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียงหวีด
- แน่นหน้าอก
- มีอาการบวมคล้ายเป็นลมพิษที่บริเวณหน้า เปลือกตา ปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น
ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญในด้านสมุนไพรไทยเป็นพิเศษ โดยปัจจุบันเป็นผู้เขียนหลักของ Club of Thai Health มีงานอดิเรก คือการปลูกสมุนไพรไทย และเพาะพันธุ์พืชหายาก
Комментарии (0)